วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อัคคัปปสาทสูตร

อ ัคคัปสาทสูตร แปลว่า พระสูตรที่แสดงถึงความเลื่อมใสในคุณธรรมที่สูง หรือ คุณธรรมที่จัดว่าเป็นยอด อันควรจะเลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสูตรนี้ มาในพระสุตตันตปิฎก อัคคุตตรนิกาย ได้พบที่มาถึง ๓ แห่ง คือ ในติกนิบาต และในจตุกกนิบาต ทรงแสดงแก่พระสงฆ์ ในปัญจกนิบาต ทรงแสดงแก่พระนางจุนที พระราชธิดาของพระเจ้าพิมพิสาร พระนครราชคฤห์ เชื่อว่าในที่อื่นก็คงจะมีอีก พระสูตรนี้แม้จะทรงแสดงในที่ต่างๆ อย่างไรดี แต่ก็มีอรรถสงเป็นอันเดียวกัน

พ ระสูตรนี้มีนิยมใช้สวดมากอย่าง สวดโดยเฉพาะสูตรก็มี ที่ยกเอาไปผสมกับรัตนสูตร สวดทำน้ำมนต์ เพื่อคุณวิเศษให้สูงขึ้นก็มี เรียกว่า ปริตตกรณปาฐะ ส่วนมากพระสงฆ์นิยมสวดอนุโมทนาในงานฉลองสิ่งที่นิยมว่าสูง หรือเป็นยอดที่สร้างขึ้น เช่น ฉลองพระพุทธ ฉลองพระธรรม ฉลองพระสงฆ์ ฉลองช่อฟ้า ในงานยกช่อฟ้า ยกยอดเจดีย์ ยกยอดพระปรางค์ หรือ ยกฉัตร เป็นต้น เพราะนับถือว่าเป็นพระพุทธโอวาทที่ทรงแสดงธรรม ที่นับถือว่าเป็นคุณสูง หรือจัดเป็นยอดได้

ไ ด้กล่าวแล้วแต่ข้างต้นว่า อัคคัปสาทสูตรนี้ พระสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงหลายครั้ง สำหรับโอกาสนี้จะบรรยายในครั้งที่ทรงแสดงแก่พระนางจุนที พร้อมด้วยบริษัทบริวาร ด้วยเห็นว่า พุทธบริษัทที่สดับตรับฟังสวดมนต์เป็นคฤหัสถ์มาก ควรอนุวัตรตามส่วนมาก เพื่อประโยชน์แก่สุปฏิบัติสืบไป เรื่องมีว่า

ส มัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยังพระเวฬุวันมหาวิหาร เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธรัฐ วันหนึ่งพระนางจุนที พระราชธิดาของพระเจ้าพิมพิสารมหาราช พร้อมด้วยบริษัทบริวารเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระเวฬุวันวิหาร โดยราชยานเป็นอันมาก ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่งเป็นอันดี ประนมกรอัญชลีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม จุนทราชกุมารพี่ชายของหม่อมฉัน ได้รับสั่งแก่หม่อมฉันว่า สตรีก็ดี บุรุษก็ดี ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท สุราเมรัย เขาผู้นั้นเมื่อแตกกาย ทำลายขันธ์แล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ ไม่ไปทุคติ

ข ้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์ว่า คนเลื่อมใสในศาสดารูปไหน แบบไหน พระเจ้าค่ะ เมื่อตายแล้วจึงจะไปสุคติ ไม่ไปทุคติ เพราะศาสดามีหลายรูป หลายแบบ ที่ประกาศตัวว่าเป็นผู้วิเศษ แม้สาวกของศาสดานั้นๆ ก็ยืนยันว่าศาสดาของตนวิเศษจริง

เ มื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับปัญหา ซึ่งพระนางจุนที ราชกุมารีทูลถาม ก็ทรงพระกรุณาพยากรณ์ปัญหานั้นแก่พระนางจุนทีว่า ดูกรพระนางจุนที บุคคลอยู่ในโลกอย่าพึงขาดต่อเสียง อย่าพึงตื่นในเสียง ก่อนที่ยังมิได้พิจารณาหาเหตุผลในเรื่องนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง พึงใคร่ครวญพิจารณาเสียก่อนจึงเชื่อถือ จุนที อย่าพึงด่วนยินดีในเสียงนั้น เพียงเสียงนั้น ได้ความไพเราะ เสนาะหู สดชี่น รื่นเริงใจ จุนที อย่าพึงยินดีว่า เสียงนั้นเป็นที่พอใจเรา เสียงนั้น ตรงกับคำผู้ใหญ่กล่าว เสียงนั้นตรงกับวิชาที่เราเรียนรู้ จุนที เสียงของเรื่องราวทั้งหมด หากยังมิได้พิจารณาหาเหตุผลมให้ถ่องแท้ก่อนแล้ว ไม่บังควรเชื่อถือ

จุนที ก็ศาสดารูปไหน แบบไหนเล่า เป็นผู้ควรจะเลื่อมใส ซึ่งเมื่อเลื่อมใสแล้ว จะได้ไปสุคติ ไม่ไปทุคติ

จ ุนที บรรดาสัตว์ทั้งหลาย จะไม่มีเท้าก็ตาม มีสองเท้าก็ตาม สี่เท้าก็ตาม มากเท้าก็ตาม ก็มีรูปก็ตาม จะหารูปมิได้ คือมีรูปไม่ปรากฏ เช่น เทวดาในสวรรค์ สัตว์ในนรกก็ตาม สัตว์เหล่านี้ทั้งหมดตถาคตกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ มีพระจิตบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสาสวานุสัยทั้งมวล เป็นพระสัมมาสัมพุทโธ มีพระปรีชาญาณ ตรัสรู้ตุราริยสัจโดยชอบด้วยพระองค์เอง ทำลายวัฏฏทุกข์ทั้งหมดให้พินาศ ทรงพระกรุณาประกาศเญยยธรรมแก่เวไนยสัตว์หาประมาณมิได้ นี้แหละเป็นยอด ควรแก่การเลื่อมใสอย่างยิ่ง

จ ุนที ฉะนั้น ผู้ใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ผู้นั้นเลื่อมใสในพระศาสดา ผู้เป็นยอดและยอดแห่งผลบุญ ย่อมเจริญแก่ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เป็นยอด ซึ่งสูงกว่าสงฆ์ทั้งมวล

ข ้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คนเลื่อมใสปฏิบัติในศีลรูปไหน แบบไหน พระเจ้าค่ะ เมื่อตายแล้วจึงจะไปสุคติ ไม่ไปทุคติ เพราะศีลปรากฏว่า มีหลายรูปหลายแบบด้วยกัน ที่เจ้าลัทธิ เจ้าหมู่ เจ้าคณะนั้นๆ ประกาศอยู่ว่า เป็นคุณวิเศษ ควรแก่การปฏิบัติ

จ ุนที ประมวลศีลทั้งหมด ที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ ตถาคตกล่าวว่า อริยกันตศีล เป็นยอด ก็อริยกันตศีลเป็นอย่างไร จุนที ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี อันบุคคลรักษาไว้ดีแล้ว โดยไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นธรรม ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ประยุกต์ด้วยตัณหาทิฐิ เป็นทางให้เข้าถึงสมาธิ นี้ คือ อริยกันตศีล ที่ถึงความนับว่าเป็นยอด ควรแก่การเลื่อมใสปฏิบัติให้บริบูรณ์อย่างยิ่ง

จ ุนที ฉะนั้น ผู้ที่เลื่อมใส ปฏิบัติให้บริบูรณ์ในอริยกันตศีลนี้แล ชื่อว่า เลื่อมใสบำเพ็ญในศีลที่เป็นยอด และยอดบุญกุศลย่อมเจริญแก่ผู้บำเพ็ญในยอดศีลโดยแท้

เ มื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ปัญหาโดยไวยากรณภาษิตจบแล้ว ได้ทรงประทานนิคมคาถาภาษิต มีคำว่า อคฺคโต เว ปสนฺนานํ เป็นต้น สรุปรวมพระนิพนธ์ที่ได้พยากรณ์มาว่า

เ มื่อบุคคลรู้ดีในยอดธรรม เลื่อมใสโดยความเป็นธรรมล้ำเลิศเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เป็นยอด ซึ่งเป็นทักขิเณยยะอันยอดเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรมอันเป็นยอด ซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ และสงบระงับดับเข็ญเป็นสุข และเลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เป็นยอด ซึ่งเป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยมเมื่อถวายทานในท่านที่เป็นยอดโดยคุณแล้ว ยอดบุญก็ย่อมเจริญ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขะ พละ ชั้นยอดเยี่ยมย่อมเจริญ ผู้มีปัญญา ตั้งมั่นอยู่ในยอดธรรมแล้ว ถวายทานในท่านผู้เป็นยอดบุญเขต จะไปเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงความเป็นยอด รื่นรมย์อยู่โดยแท้แล

พ ระนางจุนที พร้อมด้วยบริวารสดับพระโอวาท ที่พระสัมพุทธเจ้าทรงพระกรุณาประทาน ตั้งแต่ต้นจนอวสาน ก็มีความชื่นบานปราโมทย์เล็งเห็นประโยชน์ในความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ซึ่งเป็นยอดแห่งรัตนะที่ควรจะเลื่อมใสเลิศกว่าสรณาคมใดๆ ในคุณทุกประการ พระนางจุนทีจึงทูลสรรเสริญเทศนาบรรหารของพระบรมศาสดาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักพระเจ้าค่ะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักพระเจ้าค่ะ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาแก่คนหลง หรือ ตามประทีปให้สว่าง หม่อมฉันขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ก็ทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

โ ดยบรรยายนี้ แสดงว่า อัคคัปปสาทสูตร เป็นพระพุทธโอวาทที่ควรนำออกประกาศแก่พุทธบริษัท ว่าเป็นคุณแก่สุปฏิบัติทุกสมัย สมกับที่นิยมสวดในงานมหกรรมการมงคล มีงานฉลองพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และงานยกฉัตร และช่อฟ้า เป็นต้น ดังแสดงมา ขอยุติอัคคัปปสาทสุตตกถา พอสมควรแก่เวลาเพียงเท่านี้

—————————————

คติธรรม

หินกระด้าง ช่างยังคิด พินิจแหวะ

อุตส่าห์แกะ เป็นงิ้ว ยืนนิ่วหน้า

งามดังรูป เทพเจ้า เข้าตำรา

ยังง่ายกว่า สอนคนด้าน สันดานแก.

ธรรมสาธก”

(บรรยาย ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๙)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น