วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กรณียเมตตสูตร

ตำนานกรณียเมตตสูตร

ก รณียเมตตสูตร เป็นพุทธมนต์บทที่ ๓ ใน ๗ ตำนาน พระพุทธมนต์บทนี้ ประกาศเมตตาธรรม สอนให้ทุกคนตลอดสัตว์และทั่วไปถึงพวกอทิสสมานนิการ คือ พวกไม่ปรากฏรูป เช่น เทวดา ภูตผี เป็นต้น ให้มีเมตตาต่อกัน ปรารถนาความสุข ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่กัน เว้นการเบียดเบียนกัน ทำกิจทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุขของกันและกัน ดังนั้น พุทธมนต์นี้ จึงทรงอานุภาพควรแก่การคารวะยิ่งนัก

ก รณียเมตตาสูตร เป็นอาวุธเล่มหนึ่ง ที่เรียกว่า พุทธวุธ พระบรมศาสดาพอพระทัยประทานสาวก คราวเข้าไปในแดนอมนุษย์ที่ดุร้าย เพื่อป้องกันรักษาความปลอดภัยเนืองๆ ฉะนั้น พระพุทธมนต์นี้ จึงทรงอานุภาพควรแก่การศึกษาท่องบ่น และเจริญเป็นเนืองนิตย์

ใ นพระฝ่ายอรัญญวาสี จำพวกอยู่ป่าก็ดี พวกพระรุกขมูลถือธุดงค์ก็ดี นิยมเจริญกรณียเมตตสูตรเป็นประจำ ทราบว่าเมื่อเดินทางผ่านเทวสถาน คือ ศาลเจ้า ของเจ้าป่า เจ้าเขาใดๆเช่น ศาลเจ้าพ่อเขาตก ทางไปพระพุทธบาทเมืองสระบุรี ซึ่งถ้าเป็นคฤหัสถ์ ทุกคนจะต้องเคารพบูชา แต่สำหรับพระท่านสอนให้เจริญ “เมตตัญ” คำว่า ให้เจริญเมตตัญก็คือสอนให้สวด กรณียเมตตสูตร หรือ สวด เมตญฺจสพฺพโลกสุมึ ฯลฯ อันเป็นคาถาอยู่ในตอนกลางของกรณียเมตตสูตรนั่นเอง สุดแต่เวลาจะอำนวยให้

ค วามจริงนั้น เมตตาธรรมนี้ ควรเจริญให้มาก เพราะผู้ที่จำเริญเมตตา พระบรมศาสดาตรัสว่า จะได้รับอานิสงส์ ๑๑ ประการ ตามที่ทรงประทานไว้ใน เมตตานิสังสสูตร ว่า

. หลับเป็นสุข

. ตื่นเป็นสุข

. ไม่ฝันร้าย

. เป็นที่รักใคร่ของหมู่มนุษย์

. เป็นที่รักใคร่แม้แต่มนุษย์ ตลอดสัตว์เดียรัจฉาน

. เทวดารักษา

. ย่อมล่วงพ้นยาพิษศัตราวุธได้

. เจริญสมาธิได้รวดเร็ว

. หน้าตาย่อมผ่องใส

๑๐. มีสติไม่หลงในเวลาสิ้นชีวิต

๑๑. เมื่อดับชีวิตแล้ว จะไปเสวย ความสุขในพรหมโลก

เ พราะฉะนั้น จึงควรตั้งใจเจริญและสดับตรับฟังให้มาก เรื่องราวอันเป็นทางมาแห่งพระพุทธมนต์นี้ ควรทราบเพื่อเจริญศรัทธาปสาทะเพิ่มพูนบารมีไว้ด้วย เพราะเมตตาเป็นบารมีหนึ่งในบารมีสิบ

พระสูตรนี้ มีตำนานเล่าไว้ว่า :-

ส มัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จประทับยังพระเชตวันมหาวิหารในพระนครสาวัตถี มีภิกษุ ๕๐๐ รูป เรียนกัมมัฏฐานในพุทธสำนักแล้ว ทูลลาจาริกไปในชนบท เพื่อหาสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม ผ่านทางไกลไปหลายโยชน์ ก็ถึงตำบลใหญ่ตำบลหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากป่านัก ชาวบ้านพากันปฏิสันถารเป็นอันดี แล้วเรียนถามท่านว่า

นี่ พระคุณเจ้า จะพากันไปไหน ขอรับ ”

หาที่เจริญสมณธรรมให้ผาสุกสักแห่งหนึ่ง อุบาสก” ท่านอาจารย์ตอบ

ท ่านผู้ใหญ่ในบ้านนั้นเรียนท่านว่า “ ถ้าพระคุณเจ้าต้องประสงค์สถานที่เช่นนั้นละก้อ ไพรสณฑ์เชิงภูผานี้เป็นเหมาะมากเที่ยวท่าน เพราะไม่ไกลหมู่บ้าน พอมาพอไปหากันได้สะดวก เช่นพระคณท่านจะมาบิณฑบาตก็ไม่ไกล ผมจะไปนมัสการบ้างก็ไม่ยาก”

พ อท่านผู้ใหญ่บ้านเว้นระยะคำพูด เพื่อฟังความเห็นของพระ คนใจบุญหลายท่านก็ช่วยกันเสริมอีกว่า “อย่าลังเลใจเลยพระคุณท่าน นิมนต์อยู่เสียที่นี่แหละ ถ้าพระคุณท่านอยู่ พวกผมจะได้มีโอกาสถวายทานรักษาศีล และฟังธรรมในสำนักพระคุณท่านบ้าง”

เ มื่อพูดถูกใจเช่นนั้น พระทุกรูปก็ยินดี ครั้นท่านอาจารย์ผู้นำคณะเห็นเพื่อนพระพอใจอยู่เป็นเอกฉันท์ ก็รับนิมนต์ของขาวบ้าน พากันไปอยู่ในไพรสณฑ์ ตามความผาสุก

ค รั้งนั้น เทวดาพวกเจ้าป่าเจ้าเขาในไพรสณฑ์นั้น ซุบซิบกันว่า “ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้มีศีล เมื่อเข้ามาพำนักอยู่จะทำให้เราลำบากในการย้ายที่ ด้วยเราจะอยู่ข้างบนก็ไม่ควร จะอยู่ข้างล่างก็ลำบาก จะทำอย่างไรดีหนอ”

ท่านไม่อยู่นานหรอกน่า” เทพย์ตนหนึ่งออกความเห็น คงจะอยู่รับฉลองศรัทธาของชาวบ้านนี้ สักวันสองวันก็คงจะไป” เทพย์ตนหนึ่ง ตัดบทว่า

คอยดูไปก็แล้วกัน จะมาปรารมภ์ไปก่อนทำไม”

ค รั้งล่วงไปสองสามวัน เทวดายังไม่เห็นทีท่าว่าพระจะไปจากที่นั้นเลย ตรงข้ามกลับเห็นทำทีว่า จะอยู่กันแรมปี ดังนั้น ก็ตกใจ พากันปรับทุกข์ว่า “ไม่ไหวแล้ว ต่อไปนี้ พวกเราจะไม่มีความสุข”

อะไร ทำขี้แยไปได้” เทพย์ตนหนึ่งพูดระงับเสียงบ่น

แล้วจะทำอย่างไร” อีกตนหนึ่งกล่าวเป็นเชิงหารือ

เราจะให้ท่านไปเสียก็หมดเรื่อง เมื่อเราไม่พอใจให้ท่านอยู่”

จะทำอย่างไร ท่านจึงจะไปเล่า ข้าพเจ้าต้องการทราบ”

เ อาอย่างนี้ก็แล้วกัน” เทพย์ตนนั้นออกความเห็น “ คือพวกเราช่วยกันแสดงอาการเป็นภูตผี หลอกหลอนให้หลายๆอย่าง ทุกอย่างที่จะทำให้พระเหล่านี้กลัว เห็นเป็นภัย อยู่ไม่มีความสุข ผลเดือดร้อนก็ประจักษ์แก่พระทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเทพย์เหล่านั้นทันที

ผ มไม่สบาย ไอเหลือเกิน” รูปหนึ่งกล่าว “ผมก็จามไม่หยุด ผมก็นอนไม่หลับ ผมถูกผีหลอก เห็นเดินผ่านมาไม่มีหัว เมื่อกี้เห็นผีกระพันธ์ น่ากลัวเหลือเกิน” รูปหนึ่งว่า “ที่ชายป่าโน้น เสียงอมนุษย์ร้อยโหยหวล น่าหวาดเสียว เสียงเยือกเย็น ขนลุกขนพอง”

พระทั้งหลายนั่งไม่ติด อยู่ตามลำพังไม่ได้ งานกัมมัฏฐานล้ม ต้องเลี่ยงเข้ามาจับกลุ่มซุบซิบกัน

พ วกเราอยู่ไม่ได้แน่ ถ้าเป็นรูปนี้ ขืนอยู่ก็จะตกใจตายเท่านั้น” เมื่อพระทั้งหมดสิ้นศรัทธาอยู่เช่นนั้น ก็พร้อมกันลาชาวบ้านตำบลนั้นกลับพระนครสาวัตถี เข้าเฝ้าถวายบังคมพระบรมศาสดา

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “เธอเพิ่งไปไม่นาน ไฉนรีบกลับกันมาเสียเล่าภิกษุ”

ไม่มีความสุขพระเจ้าข้า”

บิณฑบาตลำบากหรือ” ทรงรับสั่งด้วยความเอ็นดู

มิได้พระเจ้าข้า บิณฑบาตสะดวก แต่ภูติผีปีศาจรบกวนเหลือทน จึงรีบกลับ”

พระบรมศาสดารับสั่งว่า “ ควรจะไปอยู่ที่นั่นแหละภิกษุ เมื่อเสนาสนะและอาหารเป็นที่สะดวกสบายดีแล้ว”

ไม่กล้าพระเจ้าข้า”

ไปเถอะภิกษุ” ทรงรับสั่งด้วยความปรานี “ตถาคตจะให้อาวุธ เมื่อเธอถืออาวุธของตถาคตไปอยู่ที่นั่นแล้วจะมีความสุข”

ค รั้นทรงเห็นภิกษุทั้งหลายพอใจ ในอาวุธที่จะประทาน และเกิดความอาจหาญจะกลับไปอยู่ในไพรสณฑ์นั้นอีก ก็ประทานกรณียเมตตสูตรให้พระเหล่านั้นเรียน จนขื้นปากขึ้นใจแล้ว ทรงรับสั่งว่า

ไปเถอะ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไปถึงแล้วจงตั้งเมตตาจิต ปฏิบัติตามที่ตถาคตบอกให้ทุกประการ”

ภ ิกษุทั้งหลายชื่นใจ ในพระมหากรุณาที่ทรงประทาน พากันถวายบังคมลา จาริกไปยังไพรสณฑ์นั้นอีก แต่ก่อนจะเข้าถึงประตูป่า พระทั้งหมด ก็ตั้งกัลยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ เจริญพระพุทธมนต์ กรณียเมตตสูตร อันเป็นอาวุธพิเศษที่พระศาสดาประทานมา แม้เมื่อเข้าไปในไพรสณฑ์ ก็เจริญพุทธมนต์นี้อีก

ด ้วยอานุภาพ กรณียเมตตสูตร ที่พระทั้งหลายเจริญในเวลานั้น ได้ทำให้เหล่าเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขา มีใจเมตตารักใคร่พระทั้งหลาย พากันออกมาต้อนรับด้วยเพศอุบาสกอุบาสิกาเป็นอันดี ทั้งยังช่วยให้ความอารักขาอีกด้วย ทุกอย่างสงบเรียบร้อยที่สุด แม้เสียงร้อนอันก่อให้เกิดความรำคาญก็ไม่มีแม้แต่น้อย

ภิกษุทั้งหลายได้ความสงัด อันเป็นทางแห่งความสงบ เจริญกัมมัฏฐานอยู่ไม่นาน ก็บรรลุผลที่ปรารถนาทุกรูป ฯ.

————————————–

ศีล ๕

จะดัดแปลง แต่งอันใด แต่งไปเถิด

แต่อย่าเกิด ดัดแปลง แต่งศีลห้า

ลดให้หย่อน ผ่อนให้เขา เพลาลงมา

หน่อยเมื่อหน้า จะเข้าใจ ภัยร้ายเอย.

ธรรมสาธก

(บรรยาย ๕ ตุลาคม ๒๔๙๗)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น