วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

ตำนานธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

ธ รรมจักกัปปวัตตนสูตร ความจริง ธรรมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ เป็นพระพุทธมนต์สำคัญยิ่งในพระพุทธมนต์ทั้งหลายเพราะเป็นครั้งแรกที่พระองค์ เริ่มประกาศพระศาสนา ก็ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรก่อน ฉะนั้น ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร จึงได้สมญาว่า ปฐมเทศนา คือ เทศนากัณฑ์แรกของพระสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยประกาศศาสนาประทานธร รมแก่โลก ให้โลกมีธรรมเป็นหลัก มีธรรมเป็นร่ม มีธรรมเป็นทางสันติสุข และด้วยพระพุทธมนต์บทนี้ เป็นอันพระองค์ทรงประกาศความเป็นพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์เป็นโมลีของโลก เป็นผู้เปิดทางสายเอก ทางสายเดียว สายที่จะนำมหาชนไปสู่พระนิพพาน และด้วยอานุภาพของพระสูตรนี้ ทำให้เกิดมีสังฆรัตนะเกิดขึ้นในโลก ร่วมกับพระพุทธสูตรนื้ ทำให้เกิดมีสังฆรัตนะเกิดขึ้นในโลก ร่วมกับพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ เป็นรัตนตรัย แก้ว ๓ ประการ ดังนั้น พระสูตรนี้ จึงเป็นมงคลพิเศษไพศาล ควรแก่การสดับ ควรแก่การท่องจำ กำหนด และควรแก่การแสดง และควรแม้แก่การบูชาสาธุการ เพราะเหตุนี้ ผู้รู้ทั้งหลายจึงพอใจสรรเสริญด้วยจะว่าโดยอรรถหรือพยัญชนะ ตลอดสาระ ความสำคัญของความหมายในพระสูตรนี้แล้ว เป็นธรรมสมควรอย่างยิ่ง ที่พระสัมพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงในเวลานั้น สมกับที่พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู บรรลุพระสัมโพธิญาณโดยแท้

เ พราะเหตุนั้น ในงานมงคลใหญ่ๆ เช่น งานทำบุญอายุครบ ๖๐ ปี ๗๐ ปี และ ๘๐ ปี หรือทำบุญอายุ ๕ รอบ ๖ รอบ และ ๗ รอบ เป็นต้น งานพิธีเททองพระประธาน งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีมุรธาภิเศก สุดแต่ว่า ถ้างานนั้นจัดเป็นงานสำคัญโดยเฉพาะแล้ว ก็นิยมอาราธนาให้พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์บทนี้ ด้วยเป็นมนตสำคัญดังกล่าวแล้ว และด้วยความสำคัญยิ่งของธรรมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ จึงทำให้นักปราชญ์ผู้มีความรู้ดีในพระพุทธศาสนาทุกประเทศ ทำรูปล้อธรรมจักรเป็นเครื่องหมายพระพุทธศาสนา และรับรองต้องกันว่า รูปธรรมจักร มีก่อนพระพุทธรูป ด้วยมีความหมายสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา จะได้สาธกยกเรื่องของความเป็นมาของธรรมจักกัปปวัตตนสูตรขึ้นแสดง เพื่อเป็นธรรมอาภรณ์ประดับจิตอันเป็นคุณควรสถิตในเบื้องต้นตามเวลา เรื่องมีว่า

เ มื่อพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว มีน้ำพระทัยผ่องแผ้วด้วยอรหันต์คุณ มีพระเมตตาการุญเต็มเปี่ยมในพระทัย ทรงเล็งเห็นประชาสัตว์เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏฏ์ เพียบพูนด้วยความกำหนัดเพราะตัณหา มานะ ทิฐิ ไม่มีความดำริในทางวิโมกข์หมกมุ่นอยู่ในทุกข์โศกน่าสังเวช เพราะปฐมเหตุ คือ อวิชชา เกิดปิดบังดวงปัญญาให้มืดมิด ปกคลุมดวงจิตให้มืดมน มองไม่เห็นเหตุเห็นผลในคุณและโทษ ยากแก่การที่จะแสดงธรรมโปรดให้บรรลุมรรคผล เพราะธรรมของพระทศพลที่ตรัสรู้นั้น ละเอียดสุขุมคัมภีรภาพอย่างยิ่ง ไฉนประชาสัตว์จะรู้จริงเห็นจริงตามกระแสพระธรรมเทศนาได้ ทำให้พระองค์ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรมโปรดประชาชี

ข ณะนั้น ท้าวสหัมบดีมหาพรหม พร้อมด้วยเทพยดาเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับยังควรไม้อัชปาลนิโครธ ทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดประชาสัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยธรรมสมบัติยิ่งด้วยพระปัญญา ทรงมากด้วยพระมหากรุณาดังทะเลหลวง เป็นที่ร่มเย็นแก่สัตว์ทั้งปวงในสากลโลก ขอได้โปรดประทานธรรมวิโมกข์เครื่องหลุดพ้น แก่ปวงประชามหาชนพุทธเวไนย์ ด้วยบางคนยังมีวิสัยได้สั่งสมสาวกบารมี หากได้สดับอนุสาสนีพุทธโอวาท ซึ่งพระองค์ทรงประกาศให้กระจ่างแจ่มแจ้งให้เข้าใจง่าย สัตว์ทั้งหลายก็สามารถจะรู้ตาม เป็นปัจจัยให้ปฏิบัติข้ามสรรพทุกข์ในวัฏฏสงสารสมดังมโนปณิธานที่พระองค์ทรงต ั้งไว้ เมื่อกาลก่อนไกลโน้นเถิด

ค รั้นพระบรมศาสดา ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหมสหัมบดีก็ทรงระลึกนึกเฟ้นหาสมณพราหมณ์ธรรมจารีบ ำเพ็ญพรต โดยทรงกำหนดว่า เป็นผู้ที่ควรจะแสดงธรรมโปรดก่อน ด้วยเป็นผู้มีความสังวรในธรรมปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้น เหมือนมีทุนเป็นเบื้องต้นอยู่แล้วทุกอย่าง หากแต่ยังดำเนินไม่ถูกทางเป็นสำคัญ ดังนั้น เบื้องแรกจึงทรงระลึกถึงนักพรตสองท่าน คือ อาฬารดาบส กาลามะโคตร และอุทกดาบส รามบุตร สองอาจารย์ แต่ครั้นทรงทราบด้วยพระญาณว่า สองท่านอาจารย์ได้สิ้นชีพแล้วเมื่อก่อนหน้า ๗ ราตรี ต่อมาก็ทรงระลึกถึงพระปัญจวัคคีย์ ฤๅษีทั้ง ๕ องค์ ผู้มีเจตจำนงตั้งหน้าแสวงหาพระนิพพาน สู้เสียสละทรัพย์ศฤงคารบำเพ็ญพรต ตามมาปฏิบัติตถาคตอยู่หลายปี ครั้นตถาคตไม่ยินดีเลิกละทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ก็หมดศรัทธาหมดเลื่อมใส หนีตถาคตไปอยู่มิคทายวัน ซึ่งอยู่ในเขตขัณฑ์พาราณสี หากตถาคตได้โปรดพระปัญจวัคคีย์ให้หยั่งรู้ในธรรมจักร พระปัญจวัคคีย์ก็จะได้บรรลุถึงพระอริยมรรคโดยไม่ต้องสงสัย อริยสัจก็จะแจ่มแจ้งแก่ใจด้วยปัญญาญาณ เข้าสู่คลองพระนิพพานดั่งมโนรถ จะเกิดสังฆรัตนะปรากฏขึ้นเป็นพระรัตนตรัย ครั้นทรงแน่พระทัยเช่นนั้นแล้ว ก็เสด็จพระพุทธดำเนินจากร่มไม้อชปาบนิโครธในเวลาเช้าแห่งวันขึ้น๑๕ ค่ำเดือน ๘ อาสาฬหมาส เสด็จโดยพระยุคลบาทตามทางที่จะไปยังเมืองพาราณสีซึ่งเป็นราชธานีแห่งแคว้นกา สีชนบท ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่ง ชื่อ อุปกะ เดินสวนทางมา เมื่ออุปกะได้เห็นพระบรมศาสดา ทรงพระรัศมีฉวีวรรณผุดผ่องโอภาส ก็ทำให้นึกประหลาดหลากแก่จิต เอ! ส มณะรูปนี้จะเป็นเทพนิรมิตมาหรือไฉน จึงมีผิวพรรณน่าเลื่อมใสเป็นสง่าน่าเคารพ เรามิได้เคยพานพบมาแต่ก่อน ดำริแล้วจึงมีพจนะสุนทรปราศรัยด้วยไมตรี ว่า ข้าแต่สมณะผู้มีอินทรีย์อันผ่องใส ท่านผนวชบวชอยู่สำนักไหน ใครเป็นศาสดาของท่าน ข้าพเจ้าใครจะรู้ พระองค์จึงตรัสว่า อุปกะ เรามีสยัมภู ผู้เป็นเองในทางตรัสรู้ เป็นสัพพัญญู ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอนให้มีญาณปรีชา อุปกะไม่เชื่อ ไม่ศรัทธา เห็นเกินอำนาจวาสนาไม่มีปัญญาที่จะหยั่งเห็นตามทั้งไม่ซักไม่ถาม สั่นศีรษะแล้วก็หลีกไป ตามวิสัยสันดานของชีวกผู้มีจิตไม่คิดจะยอยกผู้ใดๆ ต่อนั้น พระศาสดาก็เสด็จดำเนินไปจนถึงอิสิปตนมิคทายวัน แขวงเมือพาราณสี อันเป็นสำนักที่อยู่ของภิกษุปัญจวัคคีย์ในเวลาสายัณห์ตะวันเย็น

ฝ ่ายปัญจวัคคีย์ฤๅษีได้แลเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินมาแต่ไกล ก็มิได้เลื่อมใส นัดหมายกันว่า พระสมณะโคดมนี้ เห็นทีจะลำบาก ไม่มีใครปฏิบัติวัฎฐาก มีความมักมากอยู่ผู้เดียว บัดนี้ คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความมักมากเสียแล้ว กำลังเดินเข้ามาใกล ดังนั้นในพวกเราผู้ใดใครผู้หนึ่งไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ ไม่พึงรับบาตรไม่พึงรับจีวร ซึ่งเป็นธุรกิจอันเคยทำมาแต่กาลก่อนด้วยคารวะ แต่ว่าพึงจัดแจงตกแต่งอาสนะไว้สำหรับประทับนั่งเท่านั้น ถ้าเธอปรารถนาจะนั่งก็จะได้นั่งพักตามประสงค์ แต่ครั้นพระพุทธองค์เสด็จเข้าไปไกล้ ข้อที่นัดหมายไว้ก็ลืมหมด พร้อมกันลุกขึ้นประณตอัญชลีต้อนรับเป็นอันดีดังแต่ก่อน บางท่านรับบาตร รับจีวร บางท่านตักน้ำล้างพระยุคลบาท บางท่านเอาผ้ามาปูลาดถวาย ตามวิสัยที่เคยปฏิบัติมา

ค รั้นพระบรมศาสดาประทับนั่งพักพระกายพอสมควรแล้ว จึงตรัสบอกพระปัญจวัคคีย์ว่า บัดนี้ ตถาคตได้ตรัสรู้อมตธรรมโดยชอบแล้ว มาครั้งนี้หวังจะโปรดประทานอมตธรรมแก่พระปัญจวัคคีย์ ท่านทั้งหลายจงสงบอินทรีย์ตั้งใจสดับเถิด เราจักแสดงธรรมสั่งสอน เมื่อท่านทั้งหลายมีความสังวรปฏิบัติตาม ก็จะมีความสำเร็จบรรลุอมตธรรมนั้น โดยกาลไม่ช้านานสักเท่าไร

แ ต่พระปัญจวัคคีย์ไม่เลื่อมใส กล่าวคัดค้าน ลำเลิกเหตุแต่ก่อนกาลว่า “อาวุโส โคตมะ แม้แต่ก่อนพระองค์ทรงบำเพ็ญตบะทำทุกกรกิริยา ด้วยความเพียรอย่างแรงกล้าถึงอย่างนั้นแล้ว ก็ยังไม่บรรลุธรรมพิเศษได้ บัดนี้ พระองค์คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมากเสียแล้ว เหตุไฉนพระองค์จะบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า

แ ม้กระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยังทรงเตือนซ้ำให้ตั้งใจสดับธรรมให้จงดี พระปัญจวัคคีย์ก็ยังพูดคัดค้าน โต้ตอบพระศาสดาจารย์อย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง หาฟังไม่ ถึงอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังมีพระทัยกรุณา ตรัสเตือนด้วยดีว่า ดูก่อนปัญจวัคคีย์ ท่านจงระลึกถึงความหลังให้จงดี อย่ามัวแต่ฮืดหือ ท่านทั้งหลายยังจำได้อยู่ละหรือ? ว ่า วาจาเช่นนี้ ตถาคตเคยพูดบ้างแต่ปางก่อน หรือว่า ตถาคตเคยล้อเคยหลอน ล่อเธอให้หลงไหลเข้าใจผิดว่าตถาคตได้สัมฤทธิ์อมตธรรมอยู่บ้าง แต่ครั้งไหน ปัญจวัคคีย์ ,ว าจาไม่จริงคำใด ตถาคตเคยกล่าวออก เรื่องไร้สาระอันใดตถาคตเคยนำมาบอกให้ปัญจวัคคีย์ฟัง ยังจะมีคำไม่จริงคำใดของตถาคตอยู่บ้าง จงระลึกดู ทั้งอมตธรรมที่ตถาคตได้ตรัสรู้ ท่านทั้งหลายเคยได้ยินตถาคตกล่าวอยู่แก่ผู้ใด ที่ไหนมีล

เ มื่อพระปัญจวัคคีย์ ได้สดับอนุสาสนีตรัสเตือนให้ระลึกตาม ถึงถ้อยคำของพระองค์แต่ปางก่อน ก็กลับได้ดำริจิตคิดอนุสรณ์เห็นสอดคล้องต้องตามพระโอวาท จึงพร้อมกันถวายบังคมพระยุคลบาท ด้วยความเลื่อมใสและเชื่อมั่นในพระคุณที่อัศจรรย์ประจักษ์ใจ ว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้จริงดังพระวาจา และพร้อมกันขอขมาอภัยโทษ ที่กระทำตนเป็นคนโฉด ไม่ถวายความเคารพแต่ต้นทุกประการ

ส มเด็จพระบรมศาสดาจารย์ เสด็จประทับพักในสำนักนั้น ๑ ราตรี ครั้นรุ่งขึ้นวันปัณณรสีดิถีที่ ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๘ อาสาฬหมาส สมเด็จพระบรมโลกนาถ จึงได้ทรงประทานธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนาฯ โปรดปัญจวัคคีย์ฤๅษีทั้ง ๕ ให้พระโกณทัญญะผู้เป็นหัวหน้าฤๅษีนั้น บรรลุพระโสดาบัน เป็นปฐมอริยสงฆ์องค์แรกในพระศาสนา ถึงกับพระบรมศาสดาทรงได้ธรรมปิติปราโมทย์ สมมโนรถที่ทรงพระอุตสาหะเสด็จมาโปรดด้วยพระมหากรุณาา ดังนั้น พระธรรมจักรจึงเป็นมงคลที่สูงยิ่งด้วยคุณค่า ดังเรื่องที่สาธกยกขึ้นแสดงมาด้วยประการฉะนี้

—————————

(บรรยาย ๗ เมษายน ๒๕๐๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น