วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ธชัคคสูตร

ตำนานธชัคคสูตร

ธ ชัคคสูตร เป็นมนต์บทที่ ๕ ใน ๗ ตำนาน ธชัคคสูตรนี้ แปลว่าเรื่องยอดธงหรือชายธง เป็นสูตรใหญ่ โดยมากนิยมสวดทั้งสูตรเฉพาะภายในวัด เช่น สวดประจำพรรษา ในพระอุโบสถเพราะใช้เวลามาก ถ้าจะสวดทำบุญตามบ้าน หรือแม้ในพระบรมมหาราชวัง ก็ไม่สวดเต็ม ตัดสวดเฉพาะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ นี้นิยมเป็นเนติปฏิบัติสืบมา อนึ่ง ในสมัยเมื่อแรกมีงานสาบานธง หรือ ฉลองธงประจำกอง ที่ได้รับพระราชทานใหม่ พระเคยสวดธชัคคสูตรเต็มสูตรบ้าง เห็นจะมุ่งอนุวัตรให้เข้ากับเรื่องธง ดูก็เหมาะสมดี บัดนี้ไม่เห็นสวดแล้ว

ธ ชัคคสูตรนี้ มีตำนานเล่าว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ณ เมืองสาวัตถี ทรงมีพระประสงค์จะเตือนพุทธบริษัทให้ใส่ใจหมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพื่อเพิ่มพูนกำลังใจในการปฏิบัติ ระงับความฟุ้งซ่านจิต ระงับความสะดุ้งหวาดเสียวขณะที่ประสบภัย ทั้งประสงค์จะประกาศอานุภาพของพระรัตนตรัย ว่าทรงคุณ ควรแก่การระลึกถึงจริงๆ จึงได้แสดงธชัคสูตร

เ ป็นความจริงเหลือเกิน ที่การใส่ใจ เป็นคุณสมบัติผลักดันสรรพธุระของทุกคนที่ประกอบให้พลันลุล่วง ไม่ว่าธุระนั้น จะเป็นทางโลก หรือ ทางธรรม ไม่ว่าจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระ ไม่ว่าจะเป็นธุระในป่าหรือในบ้าน จะเป็นส่วนตัวหรือส่วนรวม ถ้าได้ลงมือปฏิบัติแล้ว หากขาดความใส่ใจ ไม่ระลึกถึง ธุระนั้นก็ยากที่จะสำเร็จ ตรงข้ามกับมีคุณธรรม คือ การใส่ใจ หมั่นระลึกถึงธุระนั้นไว้เนื่องๆ แม้ที่สุด การหลีกจากความวุ่นวายของสังคม เร้นหาความสงบสุขก็ดี ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงอนุสสติไว้ ๑๐ ประการ ว่าเป็นอารมณ์ทำใจให้สงบสุข ในอนุสสติทั้ง ๑๐ นั้น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ ๓ ประการ ที่จะกล่าวในที่นี้เป็นอนุสสติที่ไม่จำกัดบุคคล ไม่เลือกนิสัย ไม่เป็นข้าศึกแก่ธรรมารมณ์ เหมาะแก่ชนทุกชั้น ทุกวัย ทุกเพศ และทุกกาล ดังนั้น ผู้รู้จึงสรรเสริญ

อ นุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า นั้น ความจริงไม่เพียงเป็นทางให้จิตผ่องใส สดชื่น มีปิติ อิ่มใจ ให้สงบอารมณ์ฟุ้งซ่าน เท่านั้น พระบรมศาสดายังตรัสบอกว่า ยังเป็นคุณช่วยกำจัดความสดุ้ง หวาดเสียว ถึงตัวสั่นได้ด้วย

ค วามกลัว ซึ่งเรียกว่า ภัย นั้น ย่อมบังเกิดแก่ผู้แม้จะนั่งอยู่ในที่วิเวก ชนิดที่เรียกว่า ปลอดสรรพภัยพิบัติทั้งหลายแล้วได้ เพราะเขาผู้นั้นอาจกลัวต่อความเงียบ แปลว่า ความเงียบที่เขาต้องการกลับเป็นภัยขึ้นก็ได้ บางคราว ก็กลัวแม้แต่เสียงลมพัด นกร้อง จิ้งหรีดร้อง ตุ๊กแกร้อง เสียงใบไม้แกรกกราก เสียงกิ่งไม้แห้งตกลงมา ก็เกิดขนลุกขนพอง นั่งอยู่ไม่ได้ กลัวแม้แต่เงาของตัวเอง หวาดแม้แต่เสียงฝีเท้าของตัวเองและบางครั้งก็ขลาดต่ออารมณ์ที่นึกสร้างขึ้นม าเป็นรูปหลอนใจ ให้สะดุ้งคิดเห็นเป็นลางร้ายจักให้โทษ เบียดเบียน ภัยเหล่านี้ใครช่วยไม่ได้ แม้จะมีแสนยานุภาพก็ไม่สามารถจะช่วยบำบัดได้ ด้วยเป็นอารมณ์เกิดกับจิต ผู้นั้นอาจคิดเห็นไปว่า ผู้ที่ติดตามให้อารักขาเหล่านั้นแล กำลังจะเป็นศัตรูร้ายต่อตัวในขณะนี้ ดังนั้น ภัยเหล่านี้จึงมีอำนาจเหมือนภัยทั้งหลาย

พ ระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณาประทาน ธชัคคสูตร โดยตรัสสอนให้ใส่ใจ หมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพราะอานุภาพของคุณพระรัตนตรัยที่บุคคลหมั่นระลึกไว้ดีแล้ว จักสามารถบำบัดสรรพภัยทั้งผองนี้ได้ ทั้งตรัสว่า ทรงอานุภาพเหนืออำนาจเทพเจ้าชั้นสูงสุดด้วย โดยตรัสเล่าเรื่องเก่าๆ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า

แ ต่ปางก่อน เมื่อสงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิดกันขึ้นในเทวโลก ครั้งนั้น เหล่าเทวดาก็มีความสะดุ้งหวาดกลัวต่อพวกอสูรไม่น้อยถึงกับท้าวสักกะผู้เป็นจ อมเทพเจ้า ๓ ชั้นฟ้า ให้ประชุมเทพยดาทั้งสิ้น แล้วจัดทำธงชัยประจำทัพทั้ง ๔ ทิศ เป็นสัญญาณต่อต้านพวกอสูร โดยเทวบัญชาว่า “ ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ในขณะทำสงครามกับเห

ล่าอสูร ความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า อันจะทำให้เสียกำลังรบ อาจเกิดมีแก่บางท่านได้ ดังนั้น ถ้าคราวใดเกิดมีความกลัวขึ้น ขอให้ทุกท่านจงมองดูชายธงของเรา แล้วความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าของท่านจะหายไปได้ หรือถ้าไม่มองชายธงของเรา ก็จงมองดูชายธงของท้าวปชาบดี ของท้าววรุณ หรือของท้าวอีสานะ องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อท่านทั้งหลายได้มองดูชายธงแล้ว ความกลัว ความสดุ้ง ขนพองสยามเกล้าจักหายไป

ภ ิกษุทั้งหลาย ถึงเทวดาที่มองดูชายธงของท้าวเทวราชทั้ง ๔ พระองค์นั้น บางครั้งก็หาย บางครั้งก็ไม่หาย คือ หายบ้าง ไม่หายบ้าง หรือ หายแล้วก็กลับกลัวอีก ข้อนั้น เพราะอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะท้าวสักกะเทวราช ท้าวปชาบดี ท้าววรุณ และท้าวอีสานะ ผู้เป็นเจ้าของธงชัยนั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีกิเลส จึงยังกลัว ยังหวาดเสียว ยังสดุ้ง ยังหนีอยู่ ก็เมื่อจอมเทพ จอมทัพ ยังกลัว ยังสะดุ้ง ยังหนีอยู่แล้วอย่างไร ชายธงของท้าวเธอจึงจะบำบัด ความกลัว ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ที่ทำให้เสียขวัญถึงแก่หนี ไม่คิดสู้เขาเสมอไปได้เล่า

ภ ิกษุทั้งหลาย ส่วนพระรัตนตรัย ที่ท่านทั้งหลายคารวะนับถือปฏิบัติอยู่นั้น ทรงคุณ ทรงอานุภาพ เหนือท้าวเทวราชเหล่านั้น เหนือธงชัยของท้าวเทวราชเหล่านั้น ดังนั้น เมื่อท่านทั้งหลาย จะอยู่ในป่าก็ตาม อยู่ที่โคนไม้ก็ตาม หรือจะอยู่ในเรือนว่างก็ตาม หากความกลัวหรือความหวาด ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ก็ดี บังเกิดขึ้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า “ อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ” เป็นต้น เมื่อท่านทั้งหลายระลึกด้วยดีแล้ว ความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าเหล่านั้นจักหายไป

ภ ิกษุทั้งหลาย หากท่านทั้งหลายจะไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็พึงระลึกถึงพระธรรมเจ้าว่า “ สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” เป็นต้น หรือไม่ก็พึงระลึกถึงพระสงฆ์เจ้าว่า “ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ” เป็นต้น ก็ได้ ด้วยอานุภาพคุณพระธรรมและพระสงฆ์นั้น จัดบำบัดความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าให้หายไปแท้เทียว ข้อนั้นเพราะอะไร

ภ ิกษุทั้งหลาย เพราะพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีกิเลส ไม่กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าใดๆ ไม่หนี ดังนั้น อานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า จึงสามารถบำบัดความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าของบุคคลที่มาระลึกถึงให้หายไปได้เสมอแท้ทีเดียว ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ แสดงว่า พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นคุณอันทรงอานุภาพ ควรแก่การเจริญ ควรแก่การระลึกอย่างยิ่ง ฯ.

——————————————-

สร้างตน

ใช้กำลัง ของเรา ก้าวเดินหน้า

จงสร้างตน ให้มีค่า ไว้อาศัย

เราพึ่งเขา เขาพึ่งเรา เอาใส่ใจ

อยู่ที่ไหน จะเป็นสุข ไม่ทุกข์เอย.

ธรรมสาธก

(บรรยาย ๓๑ มกราคม ๒๔๙๘)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น