วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วิหารทานกถา ๒

อ นุโมทนาวิหารทานกถา ความจริง บาลีวิหารทานกถานั้น เป็นบทเดียวกันกับที่ได้บรรยายมาแล้ว แต่ที่ต้องยกขึ้นบรรยายอีกครั้งหนึ่ง ก็เพราะว่า วิหารทานกถาพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ในที่ต่างกัน คราวก่อน พระผู้มีพระภาคแสดงอนุโมทนาแก่ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ซึ่งสร้างวัดพระเชตวันวิหารถวาย ณ พระนครสาวัตถี คราวนั้นเป็นการถวายวัดทั้งวัด พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุโมทนา ด้วยวิหารทานกถา นั้น

ส ่วน วิหารทานกถา ที่จะบรรยายในบทนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนุโมทนาแก่ท่านราชคหกเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ ซึ่งสร้างกุฎี ๖๐ หลัง ความจริง กุฎี นั้น ในบาลีภาษาเรียกว่า กุฏิ, ค นไทยนิยมใช้เรียกทั้ง ๒ อย่างว่า กุฏิ บ้าง กุฎี บ้าง สุดแต่จะเห็นควรหรือสุดแต่จะพอใจ หากแต่ความหมายของคำว่า กุฏิ หรือ กุฎี ที่เราเอามาใช้เรียกนั้น ไม่ตรงกับความหมายเดิม ซึ่งความหมายเดิม ของ กุฎิ หรือ กุฏี มุ่งเอากระท่อมน้อยๆ ใช้ใบไม้ใบหญ้า ทั้งมุง ทั้งบัง แบบโรงนาชั่วคราว ไม่ยกพื้น แม้บางแห่งจะยกพื้นก็ยกพอกันน้ำ กันชื้นแฉะ หรืออันตรายอื่นเล็กน้อย เท่านั้น แต่กุฎิ หรือ กุฏี ในบัดนี้ สร้างกันล้วนเป็นลักษณะของวิหารทั้งหมด กุฏิ หรือกุฎี แบบเดิมเห็นจะหาได้ยาก จะมีบ้างก็เสนาสนะป่า หรือสำนักสงฆ์ซึ่งปลูกสร้างใหม่ เพื่อพักอาศัยชั่วคราว ดังนั้นในบาลีเสนาสนะขันธ์ที่ทรงอนุญาตเสนาสนะสำหรับภิกษุเพิ่มขึ้น จึงไม่ปรากฏว่ามีกุฏิรวมอยู่ด้วย ในคราวสร้างวัดพระเชตวันวิหาร ก็สร้างวิหารเป็นที่อยู่สำหรับพระไว้มาก แต่ก็ไม่มีกุฎิที่พระอยู่ มีแต่กัปปิยะกุฎี ซึ่งแปลว่า โรงครัว

ใ นภิกขุปาฏิโมกข์ มีกุฎิเป็นเสนาสนะที่อยู่ของพระหลายแห่งล้วนแต่ขนาดเล็กซึ่งส่วนมากเป็นของพ ระทำกันเอง หลังหนึ่งๆยาว ๖ ศอก กว้าง ๔ ศอก มุง บัง อย่างง่ายๆเป็นที่อยู่ชั่วคราว เหมือนรังนกรังกา ไม่เป็นหลักฐาน ให้ห่วงใย จากไปก็ไม่อาลัยถึง ด้วยไม่ถาวรหรืองดงาม แต่อย่างใด สังเกตดูในบาลี อนุโมทนากถา จะเห็นชัดว่า เป็นวิหารแท้ๆ หากแต่คำว่า วิหาร ของเราที่นิยมเรียกกัน เราก็สร้างเสียใหญ่โตจนพระสงฆ์องค์เจ้าไม่กล้าอยู่ ถ้าจะอยู่ก็อยู่กันเป็นหมู่ เป็นคณะ มากรูปทีเดียว เมื่อไม่มีพระสงฆ์อยู้ ตกลงก็เลยสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดใหญ่ๆ ประดิษฐานไว้ ดูวิหารพระนอนในวัดพระเชตุพน เป็นตัวอย่าง เลยเป็นสถาบันว่า วิหารนั้น เป็นที่ของพระพุทธเจ้าประทับ เช่น พระเชตวันวิหาร กุฎี นั้น เป็นของพระสงฆ์อยู่ ความจริง ก็ไม่แน่เสมอไป เราคงเคยได้ยินได้ฟังกันว่า พระพุทธเจ้าทรงประทับที่พระคันธกุฎีบ่อยๆเหมือนกัน ถ้าจะแก้ว่า นั่นเป็นกุฎีพิเศษ ดูก็พอไปได้ กุฎีพระในยุคปัจจุบันนี้ ลักษณะเป็นวิหารหมด เพราะใหญ่โต ดูตัวอย่างกุฎีเจ้าอาวาสในวัดทั้งหลายเป็นตัวอย่าง

แ ม้กุฎีในลัทธิศาสนาอื่น เช่น กุฎีเจ้าเซ็น กุฎีจีน ฝั่งธนบุรี ก็ไม่ใช่รูปกระท่อม ผิดจากลักษณะกระท่อมมาก เหมือนฟ้ากับดินทุกแห่ง ด้วยเหตุนี้จึงจำต้องยอมรับโดยสนิทใจว่ากุฎีในบัดนี้ ก็คือวิหารในบัดโน้น นั่นแล

อ ย่างไรก็ตาม ในบาลีไม่เคยมีพระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาแก่คนถวายกุฏิ ซึ่งได้แก่กระท่อมน้อยๆดังกล่าวแล้ว ซึ่งส่วนมากพระทำกันอยู่เอง เพราะเป็นเสนาสนะชั่วคราว ที่พอจัดพอทำกันได้ จึงมิได้ปรากฏว่ามีคนสร้างถวาย ถึงแก่มีพระบาลีอนุโมทนา มีแต่อนุโมทนาเฉพาะแก่คนถวายวิหาร แต่เมื่อเข้าใจว่า กุฎีส่วนมากในบัดนี้ แท้ก็คือวิหาร แล้วเรื่อง อนุโมทนาทาน ก็ชอบที่จะใช้ วิหารทานอนุโมทนา และความจริงก็นิยมใช้ในสังฆมณฑลแล้ว ฉะนั้น ไม่ว่าจะมีงานฉลองกุฏิในวัดใดๆ เมื่อพระสงฆ์ในที่นั้นอนุโมทนา ก็ต้องอนุโมทนาด้วย วิหารทานกถา ต่อท้ายสัพพีทุกแห่งไป โดยอนุโลมตามพระพุทธจริยา ที่พระบรมศาสดาตรัสอนุโมทนาแก่ท่านราชคหกเศรษฐี สร้างกุฎีถวาย

เ พราะฉะนั้น จะได้นำเรื่องอันเป็นต้นเหตุให้พระบรมศาสดาตรัสอนุโมทนาบทนี้เป็นเยี่ยงอย่า งมาบรรยาย เพื่อเพิ่มศรัทธาปสาทะของพุทธมามกะสืบไป เรื่องมีว่า

ค รั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับ ณ พระเวฬุวันวิหาร ใกล้สถานที่พระราชทานเหยื่อเลี้ยงกระแตของพระเจ้าพิมพิสารมหาราช พระนครราชคฤห์ ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมิได้บัญญัติอนุญาตเสนาสนะให้ภิกษุอยู่อาศัย ภิกษุทั้งหลายพากันอาศัยอยู่ตามป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ชายป่า กลางแจ้ง และลอมฟางบ้าง ตามอัธยาศัย

ถ ึงเวลาภิกษาจาร หรือประชุมฟังพระโอวาท ก็พากันออกจากที่อยู่อาศัยนั้นๆ ด้วยอาการสงบ สำรวจอิริยาบถเป็นอันดี คือจะก้าวไปข้างหน้าหรือจะถอยหลัง จะเหลียวซ้ายแลขวา จะคู้เข้าหรือเหยียดออก ก็อยู่ในอาการสังวรทุกระยะ งามด้วยกิริยาอาการ เป็นที่น่าเลื่อมใสยิ่งนัก

ว ันหนึ่ง ท่านราชคหกเศรษฐี ออกจากพระนครไปสวน ได้เห็นพระภิกษุสงฆ์มีอาการสังวรสงบ อยู่ในภาวะของสมณะดังกล่าวแล้ว ก็เลื่อมใสในสุปฏิบัติของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเลื่อมใสแล้วก็เกิดศรัทธา คิดจะถวายอุปถัมภ์บำรุงในเรื่องที่อยู่อาศัยให้ภิกษุทั้งหลายได้ความสุข ตามสมควรแก่สมณวิสัย ดังนั้น เมื่อได้โอกาส ท่านราชคหกเศรษฐีจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอเป็นที่เจริญใจ ตามวิสัยของสัตตบุรุษผู้แสวงบุญแล้ว ท่านราชคหกเศรษฐีจึงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า หากกระผมจะสร้างกุฎีวิหารให้พำนักอาศัย พระคุณเจ้าทั้งหลายจะพอใจอยู่ในวิหารที่กระผมสร้างถวายหรือไม่เล่า

ภ ิกษุเหล่านั้น ตอบว่า ท่านคฤหบดี “ อาตมาเสียใจที่ยังไม่สามารถจะรับปากท่านคฤหบดีได้ ด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงอนุญาตเรื่องการเข้าพำนักอยู่ในกุฎีหรือว ิหารแต่อย่างใดเลย”

จ ะเป็นพระคุณมากทีเดียว” ท่านราชคหกเศรษฐี ร้องขอ “ หากพระคุณเจ้าจะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ได้ความชัดในเรื่องนี้ แล้วกรุณาบอกให้กระผมทราบในภายหลัง”

อ าตมาจะพยายาม ท่านคฤหบดี คิดว่าอย่างไรเสีย ความปรารถนาด้วยกุศลจิตของท่านคฤหบดีจะไม่ไร้ผลเสียทีเดียว” ครั้นภิกษุเหล่านั้นรับปากท่านราชคหกเศรษฐีแล้ว ได้หาโอกาสเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านราชคหกเศรษฐีมีศรัทธา ประสงค์จะสร้างกุฎีถวาย เพื่อพำนักอาศัย ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติอย่างไร ตามที่ชอบที่ควรในกรณียะข้อนี้”

ค รั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดให้ประชุมพระภิกษุทั้งหลาย ในเพราะเรื่องนี้โดยเฉพาะ แล้วรับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ฉันอนุญาตเสนาสนะ ๕ อย่าง คือ ๑. กุฎี ๒. เพิง ๓.ปราสาท ๔.ทิมแถว ๕. ถ ้ำ เพื่อเป็นที่พำนักอาศัยอยู่ของภิกษุทั้งหลายจำเดิมแต่นี้ต่อไป ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยสำหรับภิกษุทั้งหลายให้มากอย่างขึ้นกว่าเดิม และประณีตกว่าเดิม มิใช่ยกเลิกที่อาศัยอยู่เดิม มีป่า และโคนไม้ เป็นต้นนั้น คงให้อยู่อาศัยตามใจสมัคร

ภ ิกษุทั้งหลาย รับพระโอวาทแล้ว รีบไปพบ ท่านราชคหกเศรษฐีกล่าวว่า ท่านคฤหบดี กุฎีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้อยู่ได้แล้วส่วนเวลาใดจะเป็นกาลสมควร ขอให้อยู่ในการพิจารณาของท่านคฤหบดีเถิด

เ มื่อท่านราชคหกเศรษฐีได้รับพระพุทธานุญาตเช่นนั้นก็ดีใจ ได้ดำเนินการสร้างกุฎี ๖๐ หลังทันที ด้วยกำลังทรัพย์และกำลังช่างของท่านมีอยู่พร้อมแล้ว โดยเวลาไม่นานกุฎี ๖๐ หลัง ก็สำเร็จตามความปรารถนาครั้นกุฎีสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านราชคหกเศรษฐีจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ทูลอาราธนาให้เสด็จรับอาหารบิณฑบาตพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นการฉลองกุฎีใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นทูลถวายเป็นครั้งแรก ตามที่ได้ทรงประทานไว้

แ ละเมื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยการดุษณีภาพแล้ว ท่านเศรษฐีก็มีความยินดีจะลุกจากอาสนะ ทำปทักษิณถวายคารวะ กลับไปสู่นิเวศน์ของท่าน สั่งให้ตระเตรียมจัดอาหารทั้งของเคี้ยวของฉันอันประณีต เพื่อถวาย ตั้งแต่ในเวลาราตรี

ค รั้นรุ่งเช้าได้เวลาสมควรแล้ว ท่านราชคหกเศรษฐีได้ส่งคนไปกราบทูลเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก เสด็จไปยังนิเวศน์ของท่านเศรษฐี ประทับยังพุทธาอาสน์ ซึ่งท่านเศรษฐีได้ปูลาดไว้เรียบร้อยเป็นอันดีแล้ว เสวยขาทนียะโภชนียาหาร โดยท่านเศรษฐีปฏิบัติถวายด้วยมือของตนเอง เมื่อเสด็จอาหารกิจแล้ว ท่านเศรษฐีได้กราบทูลว่า

ข ้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ กุฎี ๖๐ หลังนั้น ข้าพระองค์มีความต้องการบุญ ต้องการสวรรค์ ได้จัดการสร้างถวายไว้เรียบร้อยแล้ว ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติอย่างไรในกุฎีเหล่านั้นต่อไปนี้

พ ระผู้มีพระภาคตรัสว่า คฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมอบถวายให้เป็นเสนาสนะแก่พระสงฆ์ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วยังมิได้มาเถิด จะได้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งกองบุญมนุญญผล อันเป็นสิ่งที่ตนปรารถนาทุกประการ นี้แสดงว่า พระบรมศาสดาจารย์ ทรงแนะนำให้ทายกถวายเป็นของสงฆ์ ไม่โปรดให้ถวายแก่พระองค์โดยเฉพาะหน้า เพราะเป็นบุญญสัมปทาไม่ไพศาล ทั้งไม่ถาวรจีรังกาลดังหนึ่งถวายสงฆ์ ด้วยเป็นรากฐานดำรงคงซึ่งพระศาสนา ตลอดไปในภายหน้าหาที่สุดมิได้ ข้อนั้นเป็นตัวอย่างของชาวพุทธทั้งหลายได้ถือปฏิบัติมาจนในเวลาปัจจุบันนี้

เ มื่อท่านราชคหกเศรษฐี ได้สดับอนุสาสนีพระดำรัส ก็เกิดปิติโสมนัสในดวงจิต ประณมอัญชลีถวายพระธรรมสามิสรและพระภิกษุสงฆ์ซึ่งประชุมอยู่เป็นอันมาก ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเป็นอันงาม พร้อมทั้งพระสาวกผู้ปฏิบัติตามพระโอวาท ข้าพระองค์ขอโอกาสน้อมถวายเสนาสนะ คือ กุฎี ๖๐ หลัง ซึ่งข้าพระองค์ได้ปลูกสร้างไว้เรียบร้อยเป็นอันดีแด่พระสงฆ์ ซึ่งมีสมเด็จพระชินศรีสัมพุทธเจ้า เป็นประธาน เพื่อให้เป็นสถานที่พำนักอาศัยแด่มวลสงฆ์ทั้งหลายในจตุรทิศ รูปใดมีจิตจะอยู่อาศัยก็จงอยู่ให้สุขกายสุขใจ ตลอดเมื่อนี้และเมื่อหน้าชั่วนิรันดร เพื่อเป็นบุญอันสุนทรให้เกิดประโยชน์สุขตามควรแก่วิสัย มีสวรรค์เป็นที่ไปในเมื่อหน้าให้สำเร็จดังความปรารถนาแห่งข้าพระองค์นั้นเถิ ด

เ มื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้สดับคำถวายกุฎี ด้วยดวงใจอันเบิกบานของราชคหกเศรษฐี ซึ่งมอบถวายสงฆ์เป็นอันดีแล้วด้วยศรัทธาเสมือนหนึ่งหว่านข้าวกล้าลงในเนื้อน าอันบริสุทธิ์ ปราศจากต้นหญ้าและตัวสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นอันตรายแก่ธัญญชาติ โดยที่เจ้าของนาได้ไถคราด ให้ควรแก่การหว่านข้าวกล้า แล้วพระบรมศาสดาจึงได้ตรัสอนุโมทนาโดยพระบาลีว่า “สีตํ อุณฺหํ ปฏิหนฺติ” เป็นต้น มีเนื้อความตามพระนิพนธ์พุทธภาษิตว่า

เ สนาสนะ ที่อยู่อาศัย ย่อมบันเทาความหนาว ความร้อน ป้องกันเนื้อร้าย ป้องกันงู และยุงได้ ป้องกันฝนก็ได้ แม้ลมและแดดกล้าที่ตั้งขึ้น ก็ยังบันเทาได้

การถวายกุฎีวิหารที่อยู่อาศัยแก่พระสงฆ์ เพื่อเร้นอยู่ ของผู้ต้องการความสงบเพื่อความสุข เพื่อฌาน ( เพ่งพิจารณา) เพื่อวิปัสสนา ( เห็นแจ้ง) พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานเลิศ

เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างกุฎี วิหาร ที่อยู่อาศัย อันรื่นรมย์ ให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพหุสูตรอยู่เถิด

อนึ่ง พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยน้ำใจเลื่อมใสในท่านผู้ปฏิบัติตรงทั้งกายและใจ

ท่านย่อมแสดงธรรม อันเป็นเครื่องบันเทาความทุกข์ทั้งมวล แก่บุคคลผู้เมื่อรู้ธรรมแล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้ ดังนี้แล

ว ิหารทานคาถานุโมทนานี้ ได้เพิ่มพูนความปิติยินดีแก่ท่านราชคหกเศรษฐีเป็นอันมาก ในกุศลทานบริจาคที่ได้สร้างกุฎีถวายแด่พระสงฆ์มา เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาตรัสอนุโมทนาแล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสน์เสด็จลีลาศคืนหลังยังพระเวฬุวันวิหาร ขอยุติพรรณาในอนุโมทนาวิหารทานแต่เพียงนี้

——————————

คติธรรม

ชุมนุมใด ใช้สุรา นำปราศรัย

ชุมนุมนั้น อย่าวางใจ ในคำขาน

เพราะน้ำคำ เกิดจากน้ำ สุราบาน

ผิดหลักการ ศีลธรรม ค้ำประกัน

ธรรมสาธก”

(บรรยาย ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๙)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น