วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชยปริตร

ตำนานชยปริตร

ช ยปริตร นี้ เป็นมนต์พิเศษบทหนึ่ง แสดงถึงมงคลอันสูง อยู่ในท้ายมนต์แห่งพระปริตรทั้งมวล เป็นมนต์สำคัญที่นิยมสวดกันมาก สมควรจะศึกษาให้รู้กันให้ทั่งถึง

ช ยปริตร นั้น เนื้อหาก็คือ มหาการุณิโก แต่ตอนปลายมี ชยมงคลคาถา ซึ่งรู้กันทั่วไป สำหรับนักฟังสวดมนต์ว่า ชยมงคลคาถา ก็คือ ชยันโต พอได้ยินเสียงว่า ชยันโต เราก็ทึกทักว่า อ้อ! แ สดงว่า ฉันรู้แล้ว เข้าใจแล้ว ทันที แต่ที่จริงนั้นหารู้แท้ไม่ จะรู้ก็เพียงรู้ว่า ชยันโต สำหรับพระสวดให้ฤกษ์งาม ยามดี เป็นมงคล ในงานทุกอย่างที่ปรารถนาจะให้เป็นมงคล ตั้งต้นแต่ ตัดจุก แต่งงานสมรส ยกหอ ยกเสาเรือน ยกช่อฟ้า เปิดป้าย วางศิลาฤกษ์ สวดให้เป็นมงคล เป็นเกียรติแก่ผู้มีเกียรติ หรือผู้ใหญ่ที่มาถึงถิ่น เป็นการปฏิสันถารอย่างสูง สำหรับพระสงฆ์ทำปฏิสันถาร ที่สุดแม้จะบรรลุศพฮวงจุ๊ยก็ยังสวดชยันโต ซึ่งก็ยังถือเป็นมงคลอีก แม้ความจริงจะแน่ใจว่างานฮวงจุ๊ยไม่น่าจะเป็นงานมงคล แต่เจ้าภาพงานศพก็เห็นว่าสำคัญมาก ด้วยเป็นการสถาปนาเกียรติและความรุ่งเรืองของตระกูลด้วย มักจะเรียกตามภาษาจีน ซึ่งเรียกกันว่า ฮวด คือ เพื่อจะให้ฮวด คือให้เจริญแก่บุตรหลานสืบไป ซึ่งเป็นลัทธิที่นิยมของชาวจีนมาแต่โบราณ ตลอดแม้จนบัดนี้ เมื่อเจ้าภาพมุ่งทำฮวงจุ๊ยเป็นมงคล กิจการทุกอย่างก็กลายเป็นมงคลไป ดังนั้น พระสงฆ์ก็ต้องสวดชยันโต เป็นมงคลแก่งาน แก่เจ้าภาพ อนุโลมตามวัตถุประสงค์เดิม

ส รุปความได้ว่า ไม่ว่างานใด ถ้าเจ้าภาพจัดทำเพื่อเป็นมงคลแล้ว พระก็สวดชยันโตได้ทุกงาน ดังนั้น ชยันโต ชาวพุทธศาสนิกชนจึงรู้กันดีเป็นส่วนมาก ถ้าจะพูดว่า สวดชยมงคลคาถา ดูจะรู้กันน้อย ยิ่งพูดว่า สวดชยปริตร ก็ยิ่งจะไม่รู้กันทีเดียว

ค วามจริง เฉพาะ ชยปริตร ที่สวดท้ายพระปริตรทั้งมวลนั้น ก็นิยมสวดในพิธีใหญ่ คือ สวดมหาราชปริตร ซึ่งได้แก่ ๑๒ ตำนาน และแม้ใน มหาราชปริตร ก็สวดเฉพาะ มหาการุณิโก หาได้สวดชยันโต ด้วยไม่ ยกเอาชยันโตไปสวดตอนเช้า สวดต่อถวายพรพระ เพื่อเป็นมงคล เป็นฤกษ์ดี ยามดี ในพิธีนั้น เช่นทำพิธีโกนจุก โกนแกะเด็ก เป็นต้น

เ มื่อได้กล่าวสวดมนต์ชยันโตในพิธีต่างๆแล้ว สมควรจะกล่าวถึงความเข้าใจของเกจิอาจารย์ที่นิยมวิธีต่างๆไว้ด้วย ก่อนอื่นควรจะตั้งคำถามขึ้นว่า ถ้าเราได้รับเชิญให้เป็นผู้ไปตัดจุก หรือ เปิดป้าย วางศิลา เป็นต้น เหล่านี้ เราจะลงมือทำต่อเวลาไร คือ เวลาพระชยันโตถึงไหน จึงจะลงกรรไกรตัด หรือเปิดผ้าวางศิลากัน หรือทำได้ตั้งแต่พระสวดชยันโตทีเดียว นี้เป็นเรื่องน่ารู้อยู่

ค วามจริง ในงานต่างๆ ไม่ว่างานหลวงหรืองานราษฎร์มีความนิยมต่างกัน เฉพาะงานหลวง ดูเหมือนจะไม่มีการกำหนดทำนองนี้ไว้เลย เห็นมีแต่งานราษฏร์ ซึ่งมีกำหนดไว้ต่างๆกัน เท่าที่ทราบมาดังนี้ คือ

. ถ ้าตัดจุกหรือแกละเด็กชาย ผู้ตัดจะต้องเตรียมกรรไกรสอดผมคอยท่าทีเดียว พระสงฆ์ที่เข้าใจวิธีการนี้ให้โอกาสเสียด้วย คือ แม้จะสวด มหาการุณิโก ซึ่งเป็นมนต์ตอนต้น มาใกล้จะถึง ชยันโต พอเห็นผู้ตัดจุกยังเตรียมไม่พร้อม ก็หยุดสวดเพียงนั้น ต่อมาเมื่อเห็นเตรียมพร้อมแล้ว จึงสวดต่อ ขึ้น ชยันโต ไปจนถึงบท สีเส ซึ่งแปลว่า ศีรษะหรือหัว ก็ลงกรรไกรทันที ตัดจุกตรงนี้ ซึ่งผู้เป็นประธานตัดจุกจะต้องรู้ไว้ ในสถานที่นิยมเรื่องนี้

. ถ ้าตัดจุกหรือแกละเด็กหญิง จะลงกรรไกรต่อเมื่อพระสวดเลยไปถึงบทว่า พรหมจารี ซึ่งตามศัพท์มุ่งเอาผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เช่น พระสงฆ์ แต่เกจิอาจารย์แนะให้ลงกรรไกรตรงนี้ ท่านแปลของท่านว่า หญิงพรหมจารี หรือรุ่นสาว สาวบริสุทธิ์ เรื่องของท่านนิยมทำกันแม้จะไม่ตรงความหมายของพระบาลี แต่ก็ทำความรู้สึกให้เด็กหรือบิดามารดา ตลอดญาติมิตร ที่สุดแม้ผู้ตัดก็พลอยเห็นเป็นมงคล โดยตั้งใจให้เป็นมงคลจริงๆ ซึ่งความจริง ก็น่าจะอนุโลกด้วยความหวังดีของท่าน แม้แต่เหตุอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่นเจิมแป้งกระแจะ เป็นต้น เราก็ยังยอมทำตาม เพราะอย่างน้อยก็ยังเป็นบทเรียนให้รู้ว่า เขาตัดกันในขณะนั้น จะได้เตรียมตัวให้ทันเวลา ดีกว่าปล่อยให้ตัดกันตามความพอใจ โดยไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์อะไร ว่ากันเลอะ ไม่มีหลัก ไม่น่าดูสู้ของท่านไม่ได้ แต่ไม่ควรจะมากไปจนถึงกับว่า ถ้าไม่ตัดตรงนี้แล้วไม่เป็นมงคล หรือเกิดจัญไรกันขึ้นเลย เพราะความจริงชยันโตเป็นมงคลดีตลอดทั้งบทนั้นแหละ ขอให้นิยมแต่ว่า นิยมแบบ ทำตามแบบของท่านแหละดี เท่านั้นเป็นพอ

. ส ำหรับพิธีเปิดผ้า หรือวางศิลา เป็นต้น เห็นนิยมเปิดหรือวางในขณะที่พระสวดถึงบทว่า ชยมังคเล แปลว่า เวลาชัยมงคล นี้ชอบด้วยบทของมนต์ เห็นมีหลายท่านที่เปิดไม่ตรงกับแบบนี้ ท่านจะมีเคล็ดลับของท่านอื่นจากนี้อย่างไรไม่ทราบ แม้ถึงในข้อนี้ ก็ขอให้ยุติเช่นเดียวกับข้อ ๒ เถิด คือ เมื่อพร้อมกันตั้งใจให้เป็นมงคลดีแล้ว แม้จะคลาดเวลาไปเล็กน้อย หรือทำไม่ตรงแบบที่ตนนิยม ก็ไม่ควรจะเห็นเป็นเรื่องไม่ดีไม่งาม ถึงให้เกิดโทษแต่ประการใดเลย ผู้รู้จะแย้มสรวลว่างมงาย

ส ำหรับสาระสำคัญของ ชยปริตร นั้น ก็เพียงท่านเห็นว่า บรรดามงคลทั้งหลายแล้ว ไม่มีมงคลใดเสมอด้วยชัยมงคล ด้วยปรารภถึงเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงชำนะพญามารวสวดี ยังพญาวสวดีมาราธิราชให้พ่ายแพ้โดยธรรม โดยบารมี ซึ่งก่อให้เกิดอานุภาพยิ่งใหญ่ดังที่พุทธศาสนิกชนผู้รู้ทั้งหลาย แซร่ซร้องสาธุการ ตลอดเทพเจ้า ๑๖ ชั้นฟ้า ประกาศว่า พระองค์เป็นมารวิชัย ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน สมควรจะยกขึ้นประกาศเตือนให้เห็นตาม และเพื่อเป็นความดีความงามอย่างแท้จริง ซึ่งจะถือเป็นอานุภาพบำหราบภัยพิบัติอุปัทวันตรายได้ ดังข้อความที่ปรากฏในพระบาลีว่า

พ ระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ทรงกอร์ปด้วยพระมหากรุณา ยังพระบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อผลที่มุ่งหมาย เพื่อความสุขแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทรงบรรลุแล้วซึ่งพระสัมโพธิญาณอันอุดมด้วยสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

ข อท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมือนพระจอมมุนีทรงชำนะพญามารและเสนามาร ที่โคนไม้โพธิพฤกษ์ ถึงความสำเร็จผู้เป็นเลิศในพุทธาภิเศก สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพีที่เบิกบานแห่งปทุมชาติ ทรงเพิ่มพูนความยินดีให้แก่มวลพระประยูรญาติศากยวงศ์ ฉะนั้นเทอญ

อ นึ่ง ทุกๆเวลาที่บุคคลประพฤติชอบประกอบกิจการโดยชอบธรรม ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ครู่ดี ยามดี บูชาดีแล้วในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย

ส ิ่งที่ทำ คำที่กล่าว เรื่องที่คิด และความประพฤติที่ตั้งไว้ ก็เป็น ปทกฺขิณํ คือ สำเร็จอย่างพอใจ เมื่อบุคคลได้ลงแรงทำธุระอย่างพอใจแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อย่างพอใจทุกเมื่อ

ใ นคาถานี้ ได้ประกาศความอัศจรรย์ไว้ข้อหนึ่งว่า สถานที่ตั้งบัลลังก์ที่ประทับนั่งชำนะพญามาร ตรัสรู้เป็นพระสัมพุทธเจ้านั้น เป็นที่พุทธาภิเศกสำหรับพระพุทธเจ้าตรัสรู้ทุกองค์ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ก็ได้รับพุทธาภิเศก เป็นพระพุทธเจ้า ณ ที่ตรงนี้ ถึงพระศรีอาริยเมตตรัย ที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้าโน้น ก็จะต้องได้รับพุทธาภิเศก ณ ตรงที่นี้เช่นกั้น เพราะอะไร เพราะที่ตรงนี้เป็นจอมใจกลางแห่งพื้นแผ่นดินใหญ่ เป็นที่เกิดแห่งปทุมชาติ ถึงได้ขนานนามว่า ปฐวีโปกขรสีสะสถาน โดยที่ปรากฏตามวจนะนิทานว่า

เ บื้องแรกแห่งการตั้งโลกนี้ หลังแต่พื้นปฐพีถูกไฟทำลายล้างสิ้นถึงกับก่อสร้างแผ่นดินใหม่ เพื่อเป็นที่อาศัยของมนุษย์สัตว์ เป็นมนุสสพิภพสืบไป เวลานั้นในพื้นแผ่นดินยังไม่มีสิ่งใดแม้แต่ต้นไม้สัก ๑ ต้น เตียนราบรื่นเป็นหน้ากลอง ต่อมาได้เวลาเป็นมงคลฤกษ์ ก็เกิดไม้ขึ้นต้นหนึ่ง ณ ที่ใจกลางแผ่นดิน มีดอกงาม สีแดงอ่อน ตูมตั้ง เราเรียกว่า ดอกบัว และเพราะดอกบัวนี้แหละ เป็นไม้เกิดก่อนไม้ในโลก จึงได้นามว่า ปทุม แปลว่า ต้นไม้แรกของโลก หรือ ปะ แปลว่า ก่อน ทุม แปลว่า ต้นไม้ รวม ๒ คำว่า ปทุม ไม้ต้นแรกของโลก พอกอปทุมหรือกอบัวเกิดขึ้นที่จอมใจกลางของแผ่นดินเช่นนั้นแล้ว บรรดาเทพเจ้าทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ก็พากันลงมาดู มาชมกันว่า มีดอกกี่ดอก เพราะดอกบัว ดอกหนึ่งๆ มีความหมายเป็นมงคลนิมิตรสูงมาก บอกถึงความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ดอกหนึ่งมีพระองค์หนึ่ง สองดอกก็สองพระองค์ สามดอกก็สามพระองค์ เมื่อเทพเจ้าได้เห็นแล้วก็พากันชื่นบาน ถือเป็นลาภอันเลิศ เป็นโชคดีของโลก ของเทพดาด้วยกัน ถ้าบังเกิดเคราะห์ร้ายเกิดบัวไม่มีดอก มีแต่ใบ เทพเจ้าทั้งหลายก็พากันเศร้าโศก บ่นเพ้อรำพันว่า กัล์ปเป็นสัญญกัล์ปนี้ ว่างพระสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว เป็นกัล์ปที่มือมนธ์ มนุษย์มีใจบาปหยาบช้ามาก เทพเจ้าก็พากันปริเทวนาอาดูรแล้วกลับไปสู่ทิพย์สถานของตนๆด้วยความโทมนัส

บ ังเอิญเป็นโชคดีอย่างยิ่ง ในกัล์ปที่เราบังเกิดอยู่นี้ เป็นกัล์ปเจริญ เรียกว่า ภัทรกัลป์ เกิดมีดอกบัวถึง ๕ ดอก เกิดที่จอมใจกลางแผ่นดินที่เรียกว่า ปฐวีโปกขรสีละสถาน ทรงสีตระการงดงาม ปรากฏแก่เทพเจ้าทั้งหลายที่พากันมาชมว่า กัล์ปนี้เป็นกัล์ปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้เป็นนาถะของโลกถึง ๕ พระองค์ ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุด ถึงในกัล์ปภายหน้าต่อไป จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ถ้าไม่มีพระสัมพุทธเจ้ามากว่านี้ จึงทวยเทพเจ้าพากันยินดีปรีดาปราโมทย์ แซร่ซร้องด้วยอุโฆษว่า ต่อไปนี้เมื่อหน้า จะมีคนใจบาป หยาบช้าลดน้อย คนใจบุญมาก ด้วยธรรมจะเจริญและจะพากันดำเนินไปสู่สวรรค์กันมากขึ้นสุดที่จะคณนา แล้วเทพเจ้าก็พากันกลับทิพยสถานด้วยโสมนัสเบิกบาน ด้วยปีติยินดี

เ พราะเหตุนี้ ดอกปทุมจึงได้รับยกย่อง ให้เป็นดอกไม้รองพระบาทหรือพระแท่นที่ของพระสัมพุทธเจ้า ซึ่งความจริง จะโดยสี โดยกลิ่น และโดยคุณภาพแล้ว ยังไม่มีไม้น้ำชนิดใดทรงคุณเหมือนปทุมชาติเลย นับตั้งแต่ตั้งโลกมาจนบัดนี้ จึงเป็นคุณที่น่าอัศจรรย์สำหรับดอกบัวอยู่ไม่น้อย

ป ระการหนึ่ง คงจะเป็นด้วยดอกบัว เป็นดอกไม้ที่อยู่ในความนิยมของมหาชน คนโดยมากรู้จักดอกบัวดีทั่วๆกัน ดังนั้น พระสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมยกดอกบัวขึ้นเป็นเครื่องเปรียบ เตือนใจให้พุทธบริษัทซาบซึ้งในคุณค่าของธรรมหลายแห่งหลายประการ เช่นในคดีโลก ทรงแสดงถึง ความสัมพันธ์ของสมาคม ของบุรุษสตรี ต้องมีความเคยเห็นอกเห็นใจกันมาก่อน และการเกื้อกูลด้วยความไมตรีในปัจจุบันด้วย เกลียวสัมพันธ์ของบุคคลนั้นๆ ความรักของบุรุษและสตรี จึงจะบรรลุถึงความมุ่งหมาย เหมือนดอกบัวจะแย้มกลีบออกบานได้ ก็ต้องอาศัยดินและน้ำ สองประการ ฉะนั้น

ใ นการประพฤติธรรม ตรัสรู้ธรรม จะเร็วหรือช้า ย่อมขึ้นอยู่กับอุปนิสัยปัจจัยของบุคคล ก็ทรงเปรียบด้วยดอกบัว ย่อมบานตามอายุอันควรของแต่ละดอก คือทุกๆดอกจะบานใต้น้ำ ก่อนจะบาน จะต้องได้รับแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ก่อน หาไม่ก็จะไม่บาน ฉะนั้น

แ ละในความบริสุทธิ์หมดจดจากมลทินเครื่องเศร้าของจิต แห่งพระอริยเจ้า ไม่มีอารมณ์ใดๆ จะไปทำให้มัวหมองได้อีก ก็ทรงเปรียบด้วยดอกบัว ทั้งใบทั้งกลีบ แม้จะเกิดในน้ำ ก็พยายามหนีขึ้นมาบานบนหลังน้ำ น้ำไม่จับไม่ติด ดังคำที่เราชอบกล่าวกันว่า “เหมือนน้ำกลิ้งบนใบบัว” แสดงว่า น้ำไม่ติดบัว ฉะนั้น

ต ามนัยนี้ แสดงว่า ดอกบัว เป็นดอกไม้มีเกียรติสูง สมเป็นดอกไม้ที่ชาวพุทธศาสนิกนิยมนำมาบูชาพระสัมพุทธเจ้ายิ่งนัก ทั้งชอบทำความหมายในเกียรติคุณของพระศาสนา ชอบจัดชอบทำให้เกิดขึ้นรองรับพระยุคลบาทพระสัมพุทธเจ้าในคราวเสด็จย่าง ประทับยืน ชอบให้พระพุทธอาสน์มีดอกบัวประดับรับรอง ดังที่เราได้พบเห็นอยู่ทั่วๆไป

ป ระการหนึ่ง ความนิยมดอกบัว ได้ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวาง ถึงปกหนังสือพระพุทธศาสนา ก็ปรากฏว่ามีเครื่องหมายเป็นรูปดอกบัวอยู่หลายหลาก พอเห็นปกเข้าเราก็รู้ทันทีว่า เป็นหนังสือพระพุทธศาสนา แม้ในพระพุทธศาสนาฝ่ายอาจาริยวาท ซึ่งเป็นนิกายฝ่ายใต้ ก็นิยมชมชื่นเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นยังคิดประดิษฐ์ประดับให้แม้แต่รูปพระโพธิสัตว์เจ้า ด้วยพระสงฆ์และคฤหัสถ์พวกอุตตรนิกาย ชอบบูชารูปพระโพธิสัตว์ ไม่น้อยกว่าพระสัมพุทธเจ้า จะเห็นได้ตามวัดพระสงฆ์จีนทั่วไป โดยถือว่า ถึงพระโพธิสัตว์เจ้า ก็จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ควรแก่การบูชาด้วยดอกบัวเหมือนกัน

เ รื่องของดอกบัว มีความหมายถึงเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนาเหมาะแท้ๆ ในสมัยก่อนๆเพียงในศตวรรษนี้เอง ก็ปรากฏว่า นิยมทำโคมไฟเป็นรูปดอกบัว เรียกว่า โคมบัว ถวายเป็นพุทธบูชา จุดตั้งไว้หน้าพระพุทธปฏิมา หรือ หน้าวัด ในเทศกาลกุศลใหญ่ๆ เช่นงานมาฆบูชา วิสาขบูชา งานมหาชาติ เป็นต้น หากเราลองหวนระลึกถึงความหลัง ภาพโคมบัวที่คนใจบุญนำมาติดตั้งถวายเป็นพระพุทธบูชา คงจะปรากฏอยู่ในความทรงจำของเราได้อยู่ ข้าพเจ้ายังติดตาโคมบัว ที่พลเรือตรีทหารขำริรัญ อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารเรือที่ ๒ สัตตหีบ ชักชวนทหารเรือทำโคมบัว ๑๒๕๐ โคม แห่ในงานมาฆบูชาที่วัดสัตตหีบ เมื่อ พ.. ๒ ๔๙๐ โน้น ช่างงามวับจับตา ชวนให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสดีแท้ ในงานสมโภชพระพุทธศาสนาที่เคารพนับถือทุกครั้ง ข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญชวนท่านผู้ใจบุญทุกท่าน ถ้าหากจะร่วมใจกันทำโคมบัว ซึ่งมีความหมายถึงเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา จุดถวายเป็นพุทธบูชากันทั่วถึง ก็เข้าใจว่าจะเพิ่มความงามในงานสมโภชในคราวนั้นๆไม่น้อยเป็นแน่

ท ่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพราะดอกบัวเป็นดอกไม้ที่งามด้วยสี กลิ่น และลักษณะ ทั้งกอร์ปด้วยคุณชาติสะอาดหมดจด และสุนทรสเป็นอันดี ควรแก่บูชาพระชินศรีสัมพุทธเจ้าประการหนึ่ง และเพราะดอกบัว เป็นไม้เกิดก่อนไม้ในโลก เกิดขึ้นแสดงความมีโชคของเทวดาและมนุษย์และประกาศความมีชัยของพระสัมพุทธเจ้ าไว้ล่วงหน้าประการหนึ่ง และเพราะดอกบัวเป็นไม้ที่เกิดที่จอมใจกลางมหาปฐพี ซึ่งได้นามขนานว่า ปฐวีโปกขรสีสะถาน ที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมพุทธเจ้า ประการหนึ่ง รวมเป็นมงคล ๓ ประการด้วยกันฉะนี้ ดอกบัวจึงเป็นสัญญลักษณ์อันดีของชัยมงคล สำหรับพุทธศาสนิกชน ผู้ต้องการความสวัสดีมีชัยและเพื่อห่างไกลจากปัจจามิตร จึงนิยมให้พระสวดชยปริตรและชยันโต ซึ่งเรียกว่า ชัยมงคลคาถา สืบมาจนบัดนี้ .

———————-

เมื่อวัดดี ศรีสงฆ์ ธำรงศาสน์

ประชาราษฏร์ เลื่อมใส ได้สรรเสริญ

พระสงฆ์ดี ศรีศาสน์ ราษฎร์จำเริญ

เหมือนชวนเชิญ ให้ชื่นชม นิยมกัน

ธรรมสาธก”

(บรรยาย ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น