วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชัยมงคลที่ ๘

ตำนานชัยมงคลที่ ๘

ส มัยหนึ่ง เมื่อพระผุ้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับยับยั้งยังพระเชตวันมหาวิหาร ณ พระคันธกุฏี ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ทรงอาศัยพระนครสาวัตถีเป็นที่ประกาศพระศาสนา บรรเทาความเห็นอันแรงกล้าในทางผิด ตามฉัพพิธจริตนิสัยสัตว์ ขัดแย้งสุปฏิบัติของสาธุชน ผิดจารีตของพุทธบุคคลโดยมิได้ใช้วิจารณญาณ ปิดบังทางสวรรค์และพระนิพพานในเบื้องหน้า ตรัสสอนให้ มนุษย์ เทวดา และมหาพรหมเกิดความนิยมในจตุราริยสัจ หยั่งเห็นคุณในสัมมาปฏิบัติอันเป็นนิยยานิกธรรมตามควรแก่วิสัยสัตว์ อันควรจะแนะนำให้ดำเนินเพื่อความจำเริญในเบื้องหน้า

ค รั้งหนึ่ง พระผู้มีภาคเจ้าเสด็จประทับยังป่าสุภควัน ทรงทราบความปริวิตกของท้าวพกาพรหมว่า พกาพรหมกำลังจะจมลงในห้วงแห่งสัสสตทิฐิ โดยดำริผิดคิดเห็นไปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน จะเป็นอะไรก็เป็นอยู่พรรณนั้นไม่เปลี่ยนแปลง จะอ่อน จะแข็ง จะร้าย จะดีอย่างไร ก็ไม่แปรไปเป็นอย่างอื่น จะแช่มชื่นขมขื่นทุกข์สุขอย่างใดๆ ก็เป็นธรรมดา หาใช่บาปบุญคุณโทษอะไร ๆก็นำพาก็หาไม่ เมื่ออยู่ในสถานะใดๆ ก็คงอยู่ในสถานะนั้นๆ ตามภูมิตามชั้นของสัตว์ ขัดแย้งต่อศาสนปฏิบัติ ของพระทศพล ที่ตรัสสอนว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน กรรมดีและกรรมชั่วย่อมจะให้ผลสุขและทุกข์ตามสนองตามโอกาส ไม่มีผู้ใดใครจะขัดขืนอำนาจของกรรมได้ ทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของกรรม สุดแต่กรรมนั้นจะเป็นธรรมหรือหาไม่ ตลอดแม้สรรพสิ่งทั้งหลาย ตั้งแต่สังขารร่างกาย เป็นต้น ย่อมเป็นอนิจจังจลาจลผันแปรแตกสลายด้วยสรรพภัยพิบัติ ไม่มีสิ่งใดในวงวัฏฏ์จะทนทานคงเที่ยงธำรงอยู่ หากไม่มีปัญญาญาณก็ไม่สามารถจะหยั่งรู้ได้ท่องแท้ ดังพกาพรหมที่จมอยู่ในห้วงแห่งกระแสสัสสติทิฐิ จึงทำให้เกิดความดำริไปในทางผิดคิดไม่ชอบด้วยกัมมัสสกตาญาณ สมควรที่พระตถาคตเจ้าจักประทานพระสัทธรรมโปรด ให้ปล่อยทิฐิอันเป็นโทษ ใช่ทางเกษมสานต์ครั้นแล้วพระสัมพุทธเจ้าก็ทรงทำปาฏิหาริย์ขึ้นไปยังพรหมโลก เพื่อประทานธรรมวิโมกข์ด้วยพระมหากรุณา แล้วเสด็จพระพุทธลีลาไปยังวิมาน อันเป็นนิวาสสถานที่อยู่ของพกาพรหมผู้มีทิฏฐิวิบัติ

ต ํ ทิสฺวา เมื่อพกาพรหมได้เห็นพระผู้ทรงสวัสดิ์ สัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึงวิมาน ก็มีความชื่นบานเป็นอย่างมาก ทูลอาราธนาสมเด็จพระผู้มีพระภาคให้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งอันงาม ต่อนั้นก็แสดงความโสมนัสแห่งดวงจิตให้ปรากฏ ที่ได้เห็นพระบรมสุคตทรงพระมหากรุณาเสด็จมาถึงนิวาสสถานแล้วสำแดงออกซึ่งอหั งการ มนังการ ด้วยอำนาจทิฐิว่า ข้าแต่พระสัมพุทธะ ที่พระองค์ตรัสสอนว่า สิ่งทั้งหลายมีชราและมรณะเป็นทุกข์เข็ญเป็นภัย เห็นจะผิด ข้าพระองค์เห็นว่า ทุกสิ่งจะต้องดำรงคงสภาพอยู่เป็นนิตย์ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่จำต้องแสวงธรรมอันใดมาปรุงแต่งให้เกิดสุข ปลดเปลื้องทุกข์ภัยพิบัติแต่ประการใด ถ้าไปคิดเห็นว่าทุกข์ก็เกิดทุกข์ หากคิดเห็นว่าเป็นสุข ก็มีสุข ไม่เดือดร้อนทุกๆประการ

ล ำดับนั้น พระบรมศาสดาจารย์จึงตรัสว่า ดูกรพกาพรหมเอย ท่านนี้อยู่ในพรหมโลกเสียเคย จึงมองไม่เห็นความทุกข์ เพราะโทษที่อยู่ในความสุขความสำราญ ทั้งขาดวิจารณญาณเพ่งพินิจ จึงทำให้หลงผิดคิดไปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงถาวร อันความจริงนั้น ทุกสิ่งจะแน่นอนมั่นคงอยู่มิได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของเหตุ ทุกสิ่งต้องอยู่ภายในขอบเขตของกรรมเป็นผู้บันดาล

พ กาพรหมก็โต้แย้งพระศาสดาจารย์ว่า หามิได้ ด้วยสิ่งทั้งหลายในโลกธาตุ ย่อมเกิดแต่อำนาจของมหาพรหมผู้เสกสร้างมาทั้งสิ้น แม้ฟ้าและดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ที่สุดความร้อนความหนาว ลมฝน ทุกประการ ล้วนแต่ามหาพรหมบันดาลให้เกิดมี ทุกสิ่งในโลกนี้ มหาพรหมย่อมรู้แจ้งจบ สิ่งใดๆ ที่มหาพรหมจะไม่พบไม่เห็นไม่รู้มิได้มี แม้สิ่งนั้นจะอยู่ในพื้นปฐพี หรือท้องทะเล เวหาส มหาพรหมก็สามารถรู้เห็นไม่มีใครจะคิดทำซ่อนเร้นให้ลี้ลับถึงกับมหาพรหมจับไม ่ได้

ค รั้งนั้น สมเด็จพระจอมไตร ใคร่จะทรมานพกาพรหมผู้มีจิตอหังการด้วยทิฐิวิบัติให้สำนึกว่า ตนเองยังเป็นสัตว์ที่เวียนว่ายในสงสาร ยังมีน้ำใจเป็นพาลด้วยคิดผิด เพียงแต่เรืองฤทธิ์ในโลกีย์ก็โอหัง ฮึกเฮิมว่าตนรู้แจ้งจบสรรพวิชชา จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกร พกาพรหม ถ้าท่านยังยืนยันว่าทานเป็นผู้อุดมสยัมภูญาณ ยิ่งกว่าเทพยดาและมนุษย์ทั้งหมด ท่านจงสำแดงฤทธิ์ให้ปรากฏ โดยอันตรธานกายหายไปจากที่นี่ ไปอยู่ในที่ซึ่งตถาคตไม่สามารถ จะรู้เห็นได้เมื่อใด เมื่อนั้น ตถาคตจึงจะยอมให้ว่าท่านเป็นสยัมภูผู้ยิ่งใหญ่ในบัดนี้

ค วามจริง พกาพรหมใคร่จะสำแดงอิทธิปาฏิหาริ์ยของตนให้ประจักษ์แก่พระสัมพุทธเจ้า และบรรดาพรหมทั้งหลายอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเป็นโอกาส ก็สำแดงอานุภาพกำบังกายหายไปจากที่นั้น แต่ก็ไม่พ้นพระพุทธญาณหยั่งรู้ได้ ไม่ว่าจะไปซุกซ่อนในที่ใด พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบและตรัสบอกได้ ที่สุดแม้พกาพรหมจะนิรมิตกายให้ละเอียดไปซ่อนเร้นอยู่ในเมล็ดทรายในท้องทะเล ลึก โดยนึกว่าพระพุทธเจ้าจะไม่หยั่งรู้ แต่สมเด็จพระบรมครูก็ทรงรู้ได้ ตรัสบอกว่า ขณะนี้ท่านได้ไปซ่อนอยู่ในเมล็ดทรายนั้นๆ พกาพรหมไม่สามารถจะกำบังปัญญาญาณของพระตถาคตเจ้าได้บังเกิดโทมนัสขัดใจที่หล บลี้หนีไม่พ้น ที่สุดผกาพรหมก็หลบคืนเข้าไปซ่อนอยู่ในวิมานของตน เป็นที่อดสูอย่างล้นพ้นแก่บรรดาพรหมทั้งหลาย แต่แล้วก็ระงับความอาย ออกมาเฝ้าสมเด็จพระสัมพุทธเจ้า แล้วทูลว่า ดูกร พระสมณะ ชาวโลกยกย่องท่านว่าเป็นนาถะ ที่พึ่งด้วยพึงใจ ถ้าพระองค์จะสามารถอันตรธานกายหายไป จนข้าพระองค์จะมองเห็นไม่ได้ นั่นแหละ ข้าพระองค์จะสรรเสริญ นับถือว่าพระองค์คือสัพพัญญู ควรที่เคารพบูชา

ภ ควา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงทำปาฏิหาริย์อันตรธานกายหายไปในที่เฉพาะหน้าแห่งบรรดามหาพรหม เสด็จประทับอยู่ในท่ามกลางที่ประชุมพรหมสันนิบาต แต่ไม่มีองค์ใดจักสามารถเห็นพระองค์ได้ ทั้งทรงแสดงพระธรรมเทศนา บรรดามหาพรหมทั่วหน้าได้ฟังแต่พระสุรเสียง เพียงไพเราะเสนาะโสต แต่มิได้เห็นพระรูปพระสุคต พากันสงสัยประหลาดใจตะลึงลาน เลื่อมใสในพระพุทธปาฏิหาริย์ของพระบรมศาสดา

ค รั้งนั้น พกาพรหมพยายามใช้กำลังทิพจักษุและทิพปัญญา สอดส่องค้นคว้าหาพระบรมศาสดาทั่วทุกสถาน ตลอดโลกธาตุ ก็ไม่สามารถแลเห็นพระสัมพุทธเจ้าได้ จนใจจนปัญญา หมดกำลังที่จะค้นคว้าบอกพรหมทั้งหลายว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ใดได้ ขณะนั้น สมเด็จพระจอมไตรก็ตรัสเรียกว่า ดูกร พกาพรหม ตถาคตกำลังเดินจงกรมอยู่บนเศียรเกล้าของท่านอยู่ในขณะนี้ ตรัสแล้วพระมหามุนีสุคตเจ้า จึงสำแดงพระกายให้ปรากฏแก่มหาพรหมทั้งหลาย ด้วยพระอิริยาบถเสด็จจงกรมอยู่บนเศียรเกล้าของพกาพรหม พรหมทั้งหลายต่างก็ยอกรประณมนมัสการชื่นชมอิทธิปาฏิหาริญ์ที่สูงกส่าเทพยดา และพรหม มารทั้งหมด ทำให้พกาพรหมอัปยศหมดมานะยอมจำนน

ต ่อนั้น สมเด็จพระทศพลก็เสด็จลงมาประทับนั่งบนพระพุทธาอาสน์แล้วตรัสประภาษกับพกาพรห มว่า ดูกร พกาพรหมเอย ท่านได้ละเลยสมาบัติเมี่อครั้งเป็นพระดาบส มาได้รับควาสุขสมมโนรถในพรหมโลกเสียนาน จำเนียรกาลนับได้หลายกัปป์หลายกัลป์ เมื่อครั้งแรกขึ้นมาบังเกิดอยู่ในชั้นเวหัปผล ได้จุติเลื่อนขึ้นมาชั้นสุภกิณหะ ถึง ๖๔ กัปป์ด้วยความชื่นชม ต่อมาได้จุติขึ้นมาอยู่ชั้นอาภัสสรพรหมตลอดกาล พกาพรหมเอย ท่านยังหารู้จักสถานที่บังเกิดครั้งแรกของท่านไม่ จึงเกิดเป็นมิจฉาทิฐิไปน่าสังเวช เพราะท่านที่ไม่มีปัญญาหยั่งเห็นเหตุแห่งสมบัติและวิบัติ ที่ตนมีความกำหนัดและเบื่อหน่าย หมกมุ่นอยู่ในความสุขทั้งหลายในพรหมโลกห่างจากมรรคผลและวิโมกข์ที่เคยมุ่งหม าย กลับไปเห็นผิดคิดว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของคงที่ถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีบาปบุญอันใดมาตกแต่งให้สัตว์มีสุขมีทุกข์ ไม่มีกรรมใดๆ จะมาทำนุกให้เปลี่ยนสถานะ ผิดจากธรรมของพระอริยะที่กล่าวสอน พกาพรหมเอย แต่ปางก่อนท่านสิบังเกิดเป็นมนุษย์ในสกุลพราหมณ์ ภายหลังเห็นโทษในเบญจกาม แล้วสละออกบวชเป็นดาบส บำเพ็ญพรตตามฤๅษีวิสัย มีจิตมั่นอยู่ในสมาบัติภาวนา

ส มัยหนึ่ง ท่านมีศรัทธาสร้างลำธารน้ำ ปล่อยน้ำเลี้ยงพ่อค้าเกวียน ๕๐๐ ซึ่งอดน้ำใกล้จะถึงแก่ความตาย ให้ทุกคนดื่มดับกระหายให้สดชื่นยั่งยืนชีวิต กลับไปโดยความสวัสดี อีกครั้งหนึ่งพวกโจรมาโจมตีปล้นทรัพย์สมบัติของชาวบ้านทั้งหลายใกล้จะถึงควา มย่อยยับ ท่านยังกรุณาช่วยขับโจรทั้งหลายให้ความปลอดภัยแก่หมู่มนุษย์ด้วยกุศลจิต อีกครั้งหนึ่งพญานาคกำลังจะฆ่าเหล่าพานิชพ่อค้าเรือสำเภาในทะเลใหญ่ ท่านก็ช่วยกำจัดพญานาคให้หนีไปด้วยเมตตา ให้บรรดาหมุ่พ่อค้าได้รอดตาย รวมเป็นกุศลมากมายที่ท่านได้ทำมา ดูกร พกาพรหม อย่าประมาท จงใช้ปรีชาสามารถหยั่งเห็นอำนาจของบุญกรรมและบาปกรรม ที่ทำให้คนมีฐานะสูงต่ำตามควรแก่เหตุ จงใช้ปัญญาสังเกตถึงความไม่จิรังยั่งยืนของสมบัติและความสุขทุกสถาน แม้แต่อารมณ์ของใจก็ไม่ยืนนาน ล้วนเป็นสมุฏฐานที่ตั้งแห่งความไม่สงบสุข ยังสรรพกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทมนัส ซึ่งทำให้จิตห่างจากนิโรธสัจบำบัดเข็ญ พกาพรหมเอย ท่านจงอุตส่าห์บำเพ็ญอัษฏางคิกมรรค จำเริญอานุภาพธรรมช่วยพิทักษ์ความสงบจิตใจของท่านก็จักแนบสนิทเข้ากับพระนิพ พาน โดยกาลไม่นานนี้แล

ใ นอวสารกาลเป็นที่จบลงแห่งพระธรรมเทศนา พกาพรหมก็ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล แล้วน้อมศิโรราบ กราบพระบาทยุคลโดยคารวะเป็นอันดีมอบตนเป็นสาวกของพระชินศรีศาสดาจารย์ พรหมทั้งหลายก็พากันแส้ซ้องร้องสาธุการ ว่าสมเด็จพระพิชิตมารชำนะพกาพรหม ด้วยธรรมอุดมญาณวิเศษ จัดเป็นชัยมงคลอุดมเดชของพระบรมศาสดา ขอชัยมงคลดังพรรณนามา จงมีแต่มวลพุทธศาสนิกบริษัทตามควรแก่วิสัยในการกุศล ขอยุติข้อความในชัยมงคลแต่เพียงนี้ ฯ

———————————-

(บรรยาย ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น