วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ภัทเทกรัตตคาถา

ตำนานภัทเทกรัตตคาถา

ภ ัทเทกรัตตคาถา อันเป็นพระคาถาซึ่งได้นามว่า ภัทเทกรัตตะ นี้ มาในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระคาถานี้มาในที่นี้ถึง ๓ สูตรด้วยกัน เป็นมนต์คาถาที่นิยมสวดในเวลาทำบุญในงานศพทุกงาน ที่มีการสวดมนต์ เป็นคาถาที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศค่าของชีวิตของบุคคลที่มีความเพียร ว่ามีค่าสูง เรื่องมีว่า

ส มัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประดับที่ตโปทาราม ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ประกาศธรรมบวรแก่พุทธบริษัท ให้มั่นอยู่ในสุปฏิบัติตามควรแก่วิสัย ยังเกียรติแห่งพระศาสนาให้แผ่ไพศาลไปทั่วทิศานุทิศชะโลมน้ำจิตของบุคคลที่เร ่าร้อนให้เยือกเย็น เกิดปัญญาเล็งเห็นทุกข์โทษของอวิชชา ชวนกันสละเวลามาอบรมจิต สำรอกจิตพิศร้ายจากสันดานต่างได้รับความเกษมสานต์ตามควรแก่อุปนิสัย แช่มชื่นรื่นรมย์อยู่ในร่มพระรัตนตรัยตลอดกาล

ค ืนวันหนึ่ง พระสมิทธิ ลุกขึ้นในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง เดินไปที่บ่อน้ำร้อน เพื่อชำระล้างร่างกาย เปลื้องจีวรออก เหลือเพียงผ้าสบงที่นุ่งอยู่ ครั้นชำระล้างร่างกายที่บ่อน้ำร้อนแล้ว กลับมายืนผึ่งตัวอยู่

ข ณะนั้น เทพดาองค์หนึ่ง มีรัศมีงามยิ่งนัก สว่างทั่วบริเวณสถานที่บ่อน้ำร้อนนั้น เข้าไปหาพระสมิทธิ แล้วยืนอยู่ในที่สมควรข้างหนึ่ง ได้ปราศรัยกับพระสมิทธิว่า “ ข้าแต่ท่านผู้เห็นภัยในสังสารวัฎฎ์ ขอประทานโอกาส ท่านจำอุทเทสและวิภังค์แห่งภัทเทกรัตตสูตร ได้ไหม?”

จำไม่ได้เลยแหละท่าน” พระสมิทธิตอบ “อาตมาจำไม่ได้ทั้งอุทเทสและวิภังค์ทั้งสองอย่างทีเดียว แล้วท่านผู้มีรัศมีเล่า ท่านจำได้ไหม?” พระสมิทธิได้ย้อนถามเทพดานั้น

แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ภิกษุ” เทพดาองค์นั้นตอบ แล้วถามสืบไปอีกว่า “ ขอสะมาบาปเถิดท่าน! ภัทเทกรัตตคาถา ท่านคงจะจำได้”

เ ทพดาตอบว่า “ขอประทานกรุณาเถิดท่าน แม้ภัทเทกรัตตคาถา ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้อีกเหมือนกัน ข้าแต่ท่านสมิทธิ นิมนต์ท่านเรียนภัทเทกรัตตสูตรไว้เสีย ทั้งอุเทสทั้งวิภังค์ให้จบบริบูรณ์ นิมนต์ท่านเล่าบ่น นิมนต์ท่านทรงจำไว้เสียเถิด ข้าแต่ท่านสมิทธิ อุทเทศและวิภังค์แห่งภัทเทกรัตตสูตรนี้ ประกอบด้วยประโยชน์มาก ควรแก่ท่านผู้ดำรงอาทิพรหมจรรย์ยิ่งนัก

ครั้นเทพดานั้นได้กล่าววอนพระสมิทธิให้เล่าเรียน ทรงจำ ภัทเทกรัตตสูตร เพียงเท่านั้นแล้วก็หายวับไป

ค รั้นสว่างแล้ว พระสมิทธิได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลเรื่องที่ท่านได้พบปะและปราศรัยกะเทพดาเมื่อใกล้สว่าง เมื่อคืนนี้ ตั้งแต่ต้นจนอวสานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ ขอประทานโอกาส ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาตรัสอุทเทสและวิภังค์ แห่งภัทเทกรัตตสูตร ประทานแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”

ถ้าเช่นนั้น สมิทธิ เธอจงตั้งใจฟัง” พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่ง “จงพยายามกำหนดจำให้ดี”

พร้อมแล้ว พระเจ้าค่ะ” พระสมิทธิกราบทูล “ ข้าพระองค์ตั้งใจสดับอยู่แล้ว”

ล ำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภัทเทกรัตตคาถาประทานจนจบ ความแห่งภัทเทกรัตตคาถานั้นว่า “ บุคคลไม่ควรตามคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว บุคคลไม่ควรจะใฝ่ฝันหาสิ่งที่ยังมาไม่ถึงเพราะสิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ล่วงลับไปแล้ว แม้สิ่งใดที่ยังไม่ถึงเล่า สิ่งนั้นก็ยังไม่ทันมาถึง ไม่เป็นผลอันใดทั้งสองประการ ส่วนปัจจุบันนธรรม คือสิ่งที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ซึ่งแน่นอนไม่ง่อนแง่น คลอนแคลน ควรที่บุคคลจะพิจารณาให้รู้แจ้ง ครั้นรู้ถึงความจริงนั้นแล้ว ควรเจริญไว้เนืองๆ ความเพียงควรทำเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ ความต่อต้านด้วยมฤตยูผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราเลย นรชนที่มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนอย่างนี้แหละ ได้รับความสรรเสริญจากนักปราชญ์ผู้สงบระงับ ว่าภัทเทกรัตตะ ผู้มีราตรีเดียวอันเจริญ อธิบายว่า แม้จะมีชีวิตเพียงวันเดียวก็ยังดีกว่า

ค รั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ภัทเทกรัตตคาถา นี้แล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าภายในวิหาร ขณะนั้น บรรดาภิกษุทั้งหลายที่นั่งประชุมอยู่ ณ ที่นั้น ปรึกษากันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุทเทสภัทเทกรัตตสูตรย่อนัก มิทันที่จะได้ทรงอธิบายเนื้อความของอุทเทสนั้นให้พิศดาร ก็เสด็จเข้าพระวิหารเสียแล้ว พระเถระรูปใดหนอ จะสามารถจำแนกอรรถแห่งภัทเทกรัตตสูตร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้โดยย่อนั้น ให้พิศดารได้ หลังจากได้ปรึกษาหารือกันแล้ว ก็เห็นพร้อมกันว่า ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นเหมาะที่สุด เพราะท่านได้รับความสรรเสริญ ความยกย่อง จากพระบรมศาสดา ตลอดสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายด้วย และเชื่อเหลือเกินว่า ท่านพระมหากัจจายะจะสามารถขยายเนื้อความอุทเทสและวิภังค์แห่งภัทเทกรัตตสูตร ที่พระบรมศาสดาประทานไว้เพียงย่อๆ นี้ให้พิศดารได้ โดยไม่ต้องสงสัย

ค รั้นตกลงใจเช่นนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็พากันเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยที่ชวนให้ระลึกถึงไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัจจายนะผู้เจริญ พวกกระผมได้ฟังภัทเทกรัตตคาถา ซึ่งพระบรมศาสดาตรัสประทานไว้โดยย่อเมื่อสักครู่นี้ ก็แลครั้นตรัสแล้วมิทันที่จะทรงจำแนกอุทเทสและวิภังค์ที่ประทานไว้นั้นให้พิ ศดาร ก็เสด็จเข้าพระวิหารเสีย พวกกระผมมองไม่เห็นผู้อื่นใดที่จะช่วยให้ความสว่างในพระโอวาทข้อนี้ และเห็นพร้อมกันว่าพระเถระเจ้าเท่านั้น ที่จะช่วยจำแนกแจกอรรถแห่งพระโอวาทข้อนี้ให้พิศดารได้ จึงได้พร้อมกันมาขอประทานกรุณา ขอพระเถระเจ้าได้ประทานความสว่างในพระโอวาทข้อนี้ให้พวกกระผมด้วยเถิด

พระมหากัจจายนะได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายพูดอะไร? ก ็เมื่อพระบรมศาสดาปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเช่นนี้ พวกท่านก็ยังละพระองค์เสีย มาถามข้อความนี้กะข้าพเจ้า เหมือนคนต้องการแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้ พากันข้ามไม้ที่มีลำต้นใหญ่สมบูรณ์ด้วยแก่นไปเสีย ไปหาแก่นตามกิ่งเล็กกิ่งน้อย แล้วจะได้แก่นไม้อย่างไร ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงทราบดีทุกอย่าง ทรงเห็นแจ้งทุกอย่างมีจักษุดี มีญาณดี มีธรรมดี เป็นพรหมผู้ประทานอมตะ เป็นธรรมสามีเจ้าแห่งธรรม พระตถาคตเจ้าได้ทรงทำให้มีโชคดี ยามดี แก่ทุกคนที่พบปะ ฉะนั้น พวกท่านควรจะได้ทูลถามเนื้อความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคเมื่อพระองค์ทรงพยากร ณ์อย่างใด ก็ให้พึงจดจำไว้อย่างนั้นเถิด

เ ป็นความจริงทีเดียว ท่านพระมหากัจจายนะผู้เจริญ ภิกษุพวกนั้นกล่าว ถ้อยคำของท่านกล่าวชอบแล้ว ก็แต่ว่า ท่านพระมหากัจจายนะได้รับความสรรเสริญ ความยกย่อง จากพระบรมศาสดาและสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายว่า ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นผู้สามารถจำแนกอรรถที่พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้โดยย่อให้พิศดารได้ ดังนั้น ถ้าไม่เป็นความหนักใจแต่ประการใดแล้ว ขอท่านพระมหากัจจายนะได้กรุณาจำแนกอรรถแห่งภัทเทกรัตตสูตรแก่พวกกระผมด้วยเถ ิด

พ ระมหากัจจายนะกล่าวว่า เมื่อเป็นความประสงค์ของท่านทั้งหลาย เช่นนั้น ข้าพเจ้าจะจำแนกให้ฟัง ขอตั้งใจฟังให้ดีทุกรูป ต่อนั้น พระมหากัจจายนะ ก็ได้จำแนกอรรถแห่งภัทเทกรัตตคาถาแก่ภิกษุทั้งหลายโดยพิสดาร ความย่อว่า

ท ่านทั้งหลาย อย่างไรชื่อว่า ตามคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ท่านทั้งหลาย จักษุวิญญาณ ความรู้สึกทางในตา อันปฏิพัทธ์ในรูปด้วยอำนาจฉันทราคะ ชื่นใจในรูปที่ล่วงเลยไปแล้วก็ดี โสตวิญญาณ ความรู้สึกทางหู อันปฏิพัทธ์ในเสียง ด้วยอำนาจฉันทราคะ ชื่นใจในเสียงที่ล่วงไปแล้วก็ดี ฆานวิญญาณ ความรู้สึกทางจมูก อันปฏิพัทธ์ในกลิ่นด้วยอำนาจฉันทราคะ ชื่นใจในกลิ่นที่ล่วงเลยไปแล้วก็ดี ชิวหาวิญญาณ ความรู้สึกทางลิ้นอันปฏิพัทธ์ในลิ้นรส ด้วยอำนาจฉันทราคะ ชื่นใจในรสที่ล่วงไปแล้วก็ดี กายวิญญาณ ความรู้สึกทางกาย อันปฏิพัทธ์ในโผฏฐัพพะ ความสัมผัสด้วยอำนาจฉันทราคะ ชื่นใจในความสัมผัสอันล่วงเลยไปแล้วก็ดี มโนวิญญาณ ความรู้สึกทางใจอันปฏิพัทธ์ในธรรมารมณ์ ด้วยอำนาจฉันทราคะ ชื่นใจในความธรรมารมณ์อันล่วงไปก่อนๆนั้นก็ดี ท่านทั้งหลาย ทั้งนี้ ทั้งนั้นแหละ ชื่อว่า ตามคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว

ท่านทั้งหลาย อย่างไร ชื่อว่าไม่ตามคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ? ท ่านทั้งหลาย การไม่มีจิตปฏิพัทธ์ ด้วยฉันทราคะในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วล่วงเลยไป ทั้งหมดนั้นแล ชื่อว่า ไม่ตามคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว

ท่านทั้งหลาย อย่างไร ชื่อว่า ใฝ่ฝันหาสิ่งที่ยังไม่มาถึง? ท ่านทั้งหลาย การตั้งปณิธานจิตไว้เพื่อจะให้ได้รูปกดี และเสียง เป็นต้น ก็ดี ที่ยังไม่ได้มา แล้วชื่นใจใฝ่ฝันหารูปเป็นต้น ที่ตั้งใจในอันจะได้มานั้นๆ แล ชื่อว่า ใฝ่ฝันหาสิ่งที่ยังไม่มาถึง คือรำพึงรำพันฝันถึงอารมณ์ที่ใคร่ในอันจะให้ได้มา

ท่านทั้งหลาย อย่างไร ชื่อว่า ไม่ใฝ่ฝันหาสิ่งที่ยังไม่มาถึง ? ท ่านทั้งหลาย การไม่ตั้งปณิธานจิตไว้ เพื่อจะได้รูปเป็นต้นมา ไม่ชื่นใจใฝ่ฝันหารูปนั้น เป็นต้น ที่ยังไม่ได้มานั้น ท่านทั้งหลายนี้แลชื่อว่า ไม่ใฝ่ฝันหาสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ท ่านทั้งหลาย อย่างไรชื่อว่า หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ในปัจจุบันนธรรม คือ สิ่งซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านทั้งหลาย ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อันปฏิพัทธ์อยู่ในรูป เสียง กลิ่น รถ โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ทั้งหลายนี้ ซึ่งประจักษ์อยู่เฉพาะหน้า ด้วยอำนาจฉันทราคะ เพลินเพลินในรูป เป็นต้น เหล่านั้น ท่านทั้งหลาย เหล่านี้แล ชื่อว่าหวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ในสิ่งซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้า

ท ่านทั้งหลาย อย่างไรชื่อว่า ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งซ่าน ในสิ่งซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านทั้งหลาย ความรู้สึกทางตา เป็นต้น อันปฏิพัทธ์ในรูป เป็นต้น ซึ่งประจักษ์อยู่เฉพาะหน้า ด้วยอำนาจฉันทราคะ ไม่เพลิดเพลินในรูป เป็นต้น เหล่านั้น ท่านทั้งหลาย เหล่านี้แล ชื่อว่า ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งซ่าน ในสิ่งซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้า

ท ่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าเข้าใจเนื้อความแห่งภัทเทกรัตตคาถา ที่พระบรมศาสดาตรัสโดยย่อดังนี้ เมื่อท่านทั้งหลายยังจำนงหวังอยู่ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลถามเถิด เมื่อพระองค์ทรงพยากรณ์อย่างใดก็พึงทรงจำไว้เถิด

ค รั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเพลิดเพลินยิ่งนัก ในการบรรยายของพระมหากัจจายนะ ลุกจากอาสนะ พากันนเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว กราบทูลเรื่องที่มาจากสำนักพระมหากัจจายนะทุกประการ

พ ระบรมศาสดาจารย์ จึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นบัณฑิต พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญามาก จำแนกแจกความในภัทเทกรัตตคาถา ได้ถูกถ้วนหมดจด ถึงหากเธอทั้งหลายจักพึงถามตถาคตในภัทเทกรัตตคาถา ตถาคตก็จะวิสัชชนาพยากรณ์เช่นเดียวกับพระมหากัจจายนะได้พยากรณ์แล้ว ภิกษุทั้งหลายจงจำเนื้อความพยากรณ์ภัทเทกรัตตคาถา ที่พระมหากัจจายนะพยากรณ์แล้วนั้นเถิด

ภิกษุทั้งหลายพากันชื่นชมยินดีในพุทธานุสาสนีของพระบรมศาสดา ด้วยประการฉะนี้

—————————-

(บรรยาย ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๐)

1 ความคิดเห็น: