วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อาทิตยสุตตคาถา

อ าทิตสุตตคาถา นี้ เป็นมนต์สำหรับพระสงฆ์สวดอนุโมทนาในงานทำบุญประจำปีของคฤหัสถ์ตามบ้านเรือนท ั่วไปซึ่งโดยมากคนใจบุญ เมื่อระลึกว่าตนทำการงานด้วยความรู้ ความสามารถ ด้วยกำลังแขนทั้งสองข้าง อาบเหงื่อต่างน้ำ ได้ทรัพย์มาโดยชอบธรรม เลี้ยงบิดา มารดา บุตร ภรรยา ตลอดญาติมิตร ให้มีความสุขพอสมควรแก่วิสัยแล้ว พอจะบำเพ็ญบุญเลี้ยงภิกษุสามเณรในปีหนึ่งๆได้แล้ว เพื่อเพิ่มพูนบุญส่วนทานบารมีแก่ตน เพื่ออำนวยกุศลบุญสมบัติต่อไปในเบื้องหน้าครั้นนึกถึงเช่นนี้แล้ว ก็เกิดศรัทธาบริจาคทรัพย์ออกจัดอาหารถวายทานตามกำลังของตน เมื่อพระสงฆ์ได้รับอาหารบิณฑบาตอันเป็นกุศลทานในโอกาสเช่นนี้ ย่อมอนุโมทนาด้วยอาทิตสุตตคาถาต่อท้าย ยถา สัพพี เป็นแบบฉบับสืบๆกันมา

อ ัน อาทิตสุตตคาถานี้ มีเนื้อความตามพระบาลีแสดงถึงอัธยาศัยของคนดีมีน้ำใจงาม มีความประพฤติโอบอ้อมอารี ทั้งมีความกตัญญูกตเวที เมตตาปรานีสมควรแก่สภาพของตน เป็นพระคาถาที่พระทศพลสัมพุทธเจ้า ตรัสแก่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี ปรากฏในพระบาลีมุณฑราชวรรค แห่งปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย เรื่องมีว่า

ค รั้งหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ณ พระเชตวันวิหาร ถวายนมัสการแล้ว นั่งถวายปฏิบัติอยู่ในที่สมควร

พ ระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาตรัสประทานพระโอวาทแก่ท่านอนาถบิณฑิกะว่า คฤหบดีในโลกนี้ คนที่มีการศึกษาดี ได้รับการอบรมดีแล้ว ย่อมถือเอาประโยชน์ ๕ ประการ แต่โภคทรัพย์ที่หาได้ด้วยกำลังแขนทั้ง ๒ ข้าง อาบเหงื่อต่างน้ำ ด้วยความขยันหมั่นเพียรในทางที่ชอบประกอบด้วยธรรม

ประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการ นั้น คืออะไรเล่า? คฤหบดี ประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนั้น ดังนี้ :-

. เลี้ยงดูตนให้เป็นสุข บำรุงตัวให้บริบูรณ์ ไม่ขาดแคลน รักษาตัวให้เป็นอยู่สะดวกสบาย เท่าที่ควร ตามกำลังทรัพย์ที่หาได้

เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข บำรุงท่านให้บริบูรณ์ไม่ขาดแคลน รักษาท่านให้เป็นอยู่สะดวกสบาย เท่าที่ควร ตามกำลังทรัพย์ที่หาได้

เลี้ยงภรรยา บุตร คนใช้ และคนงาน ให้เป็นสุข ให้บริบูรณ์ไม่ขาดแคลน ให้เป็นอยู่สะดวกสบาย เท่าที่ควร ตามกำลังทรัพย์ที่หาได้

. เ ลี้ยงดูบุคคลภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับตน คือ มิตร ผู้ร่วมใจ ร่วมงาน ร่วมสุขทุกข์ ผู้สนับสนุน เป็นปากเป็นเสียง ให้มีความสุข ให้บริบูรณ์ไม่ขาดแคลน ให้มีความเป็นอยู่สะดวกสบาย เท่าที่ควร ตามกำลังทรัพย์ที่หาได้

. ป ้องกัน รักษาทรัพย์สมบัติจากภัยในที่ต่างๆ คือ ป้องกันอัคคีภัย เช่น จ่ายซื้อเครื่องดับเพลิง ทั้งส่วนตัวประจำบ้าน ทั้งรวมซื้อไว้เป็นส่วนกลาง จ้างคนคอยดูแลรักษา เป็นต้น ป้องกันอุทกภัย เช่นจ้างทำทำนบป้องกันบ่าน้ำ ท่วมเรือกสวนไร่นา เป็นต้น ป้องกันราชภัย เช่น จ่ายปลดเปลื้องมลทินโทษในคราวเกิดคดียังโรงศาล เป็นต้น ป้องกันโจรภัย เช่น จ้างยามอยู่เฝ้ารักษา หรือบำรุงให้กำลังเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานตรวจตรา เป็นต้น ป้องกันทายาทผู้ไม่น่ารัก เป็นศัตรู เช่น ภรรยา บุตร หรือแม้ญาติผู้มีส่วนได้ทรัพย์สมบัติ ประพฤติตนเป็นศัตรู เช่นภรรยาประพฤตินอกใจ บุตรขาดความเคารพ ไม่เชื่อฟัง ดูหมิ่น ไม่รู้จักคุณ ล้างผลาญ อกตัญญู จำพวกที่ร้ายแรงถึงฆ่าบิดามารดา ก็มี เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงทำปิตุฆาต ปลงพระชนม์ชีพพระเจ้าพิมพิสาร พระราชบิดา เป็นตัวอย่าง เรื่องมีว่า

พ ระนางเทเวหิ อัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร เริ่มทรงพระครรภ์ พระเจ้าอชาตศัตรูปฏิสนธิในพระครรภ์ ในฐานที่พระองค์เป็นรัชทายาท กลับเป็นศัตรูต่อพระชนกปรากฏตั้งแต่ยังมิทันได้ประสูติ คือ พอพระนางเริ่มแพ้ท้อง ก็ทรงอยากเสวยพระโลหิตพระเจ้าพิมพิสาร พระราชสวามีทันที แรกพระนางก็อดพระทัยไว้ ครั้นไม่สมนึกก็ทรงประชวร ครั้นพระราชสวามีรับสั่งถามก็ไม่ทูล ครั้นภายหลังได้รับพระราชทานอภัยให้บอก ก็ทูลตามความรู้สึกที่ผิดประหลาดที่อยากเสวยพระโลหิต ในที่สุดพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงจับพระแสงกรีดพระโลหิตที่พระเพลาให้เสวย พอเป็นยาบำบัดโรคแพ้ท้อง แล้วรับสั่งถามโหราจารย์ว่า พระโอรสในพระครรภ์บของพระนางเทเวหิ จะเกิดเป็นคุณหรือโทษแก่พระองค์ หรือแก่แผ่นดินอย่างไร ? โ หรข้างพระที่ได้พยากรณ์ถวายว่า พระกุมารในพระครรภ์จะเป็นศัตรูต่อราชสมบัติ ถึงปลงพระชนม์พระองค์ผู้เป็นพระชนกนาถ เรื่องพระเจ้าพิมพิสารไม่ทรงเชื่อ ด้วยทรงหนักในทางบุญกรรม แต่พระนางเทเวหิเสียพระทัยมาก ถึงกับวันหนึ่งทรงหลบหนีไปพระราชอุทยานที่ลับ พยายามบีบนวดที่พระครรภ์อย่างแรง เพื่อจะให้พระครรภ์แท้งเสีย ด้วยความโทมนัสที่พระโอรสกลับเป็นศัตรูต่อพระราชสวามี พระราชอุทยานนี้ ต่อมาภายหลังได้นามว่า มัททกุจฉิวัน แปลว่า สวนบีบท้อง ครั้งนางสนมแลเห็นรีบนำความมากราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร ๆ ได้เสด็จห้ามและขอให้เลิกทำกรรมเช่นนั้น ถึงทรงตรัสพ้อว่า ไม่รักพระองค์ ลูกจะทรยศอย่างหมอทำนายไม่ได้ หากจะเป็นจริง นั่นก็เป็นเวรกรรมของพระองค์อีก ซึ่งใครๆก็ห้ามไม่ได้ มิควรจะร้อนใจ ด่วนตีตนก่อนไข้ไม่ชอบ พระนางเทเวหิต้องระงับความโทมนัส รักษาพระครรภ์จนประสูติพระกุมาร และพระกุมารก็ได้รับการอุปถัมภ์บำรุงในฐานะสูงสมเกียรติอย่างรัชทายาททุกประ การ จนทรงเจริญพระชนมายุโดยลำดับ

แ ละโดยที่พระกุมารมีพระปรีชาสามารถ และมีพระทัยแกล้วกล้าไม่ว่าจะศึกษาวิชาตลอดกลยุทธใดๆ ก็สำเร็จได้ดีเหนือนักศึกษาที่เล่าเรียนร่วมกันหมด ปรากฏว่าไม่มีใครมีฝีมือเทียมทัน และความรู้เท่าถึง จึงได้พระนามว่า อชาตศัตรู แปลว่า ไม่มีศัตรู คือคนชนะพระองค์เกิดขึ้นได้ พระนามาภิธัย ศัพท์นี้ บางท่านแปลว่า เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด คือ เป็นศัตรูต่อพระเจ้าพิมพิสารตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยทำให้พระชนนีแพ้พระครรภ์ถึงได้เสวยพระโลหิตของพระราชสวามี

ค รั้นจำเนียรกาลภายหลังทรงเลื่อมใสในพระเทวทัต ยึดเอาพระเทวทัตเป็นครู โดยมิได้ขอพระราชทานอนุมัติพระราชบิดาก่อน ทรงทำตามพระทัยชอบ แทนที่พระบิดาจะทรงจัดหาครูให้ แต่กลับทรงหาเอาเองโทษเพราะไม่เคารพก็เกิดขึ้น โดยที่พระกุมารยังทรงพระเยาว์ก็ย่อมจะเบาพระทัย ไม่ทันได้รอบคอบ โทษประพฤติตามใจตนก็เกิดประดังตามเป็นลำดับ ในที่สุดก็ได้รับแนะนำจากพระเทวทัตให้ชิงราชสมบัติจากพระเจ้าพิมพิสาร พระราชบิดา ครั้นราชบุรุษของพระเจ้าพิมพิสารจับได้ พระเจ้าพิมพิสารทรงซักถามถึงวัตถุประสงค์ พระกุมารก็กราบทูลว่า ต้องพระประสงค์จะเป็นกษัตริย์ หากจะรออยู่จนพระบิดาสวรรคตแล้ว อาจสิ้นพระชนม์ก่อน จะมิทันได้เป็นดังปรารถนา พระราชบิดาก็ทรงสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ โดยพระองค์ทรงลาออก มอบพระราชสมบัติให้ปกครอง

ต ่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูได้รับแนะนำจากพระเทวทัต ให้ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารอีก แต่พระกุมารไม่ยอม เห็นว่าจะเป็นการร้ายแรงแก่พระชนกเกินไป เพราะพระชนกดีต่อพระองค์ทุกประการ พระเทวทัตก็พิรี้พิไรแสดงภัยให้เห็นว่า ถ้าเมื่อใดพระชนกไม่พอพระทัยขึ้น ก็สามารถจะบีบบังคับให้พระราชกุมารออกจากราชสมบัติ พระเจ้าอชาตศัตรูเกิดเห็นตาม แต่ในชั้นแรกเพียงแต่ให้จับพระราชบิดาจำกรุเสีย

ค รั้นภายหลังด้วยความพยายามของพระเทวทัตปลุกปั่นแนะนำ ให้ทรมานพระเจ้าพิมพิสารด้วยวิธีให้อดอาหาร ให้เอามีดกรีดพระบาท จนในที่สุดพระเจ้าพิมพิสารต้องสวรรคต เพราะปิตุฆาตกรรมของพรเจ้าอชาตศัตรู เรื่องนี้ถ้าไม่กล่าวถึงบุพพกรรมซึ่งมองเห็นไม่ได้แล้ว ก็ต้องกล่าวถึงโทษของพระเจ้าพิมพิสารที่ไม่ทรงป้องกันทายาทที่จะเป็นศัตรู โดยที่ปล่อยให้พระโอรสหาครูเอาเอง ไม่เลือกคัดจัดครูให้ศึกษา คือปล่อยตามพระทัยพระโอรสผู้ทรงพระเยาว์จนเกินไป ไม่ประพฤติตามโบราณคดีที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้เฆี่ยน” จึงเป็นโทษที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ดังนี้

เ พราะฉะนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสสอนในข้อนี้ว่า ให้จ่ายทรัพย์ป้องกันทายาทที่ไม่น่ารัก ประพฤติตนเป็นศัตรู สำหรับคนที่แสวงหาทรัพย์ได้มาแล้ว ควรจะถือประโยชน์จากทรัพย์ ในข้อนี้ให้สมบูรณ์ด้วย

. ทำพลีกรรม ๕ คือ :-

. ญ าติพลี สงเคราะห์ญาติ ซึ่งตกอยู่ในสถานะลำบากต้องการความช่วยเหลือโดยประสบภัยพิบัติต่างๆก็ดี คราวป่วยไข้ก็ดี คราวเข็ญใจก็ดี ไม่ดูหมิ่นดูแคลน ช่วยเหลือตามกำลัง ตามสถานะของตน ให้ญาติได้ความอุ่นใจ มีกำลังใจในอันทำมาหากิน เพื่อดำรงชีพอยู่ในโลกเป็นสุขสืบไป

. อติถิพลี ต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น ด้วยอาหาร ด้วยที่พัก ด้วยโอภาปราศรัย ตามสถานะ

. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ตามประเพณีนิยมของตระกูล เช่น ทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ทำบุญปี ทำบุญในเทศการตรุษ เป็นต้น

. ร าชพลี เสียภาษีอากรให้รัฐบาล ตามขนบธรรมเนียม ตามกฏหมายที่รัฐบาลได้ตราขึ้นไว้ เพื่อบำรุงกำลังส่วนรวม เพื่อให้ความมั่นคงสมบูรณ์แก่ประเทศชาติ

. เทวตาพลี บูชาเทวดาอารักษ์ ตามเทวสถานต่างๆ ที่ประชาชนเคารพนับถือ บูชา โดยเฉพาะผู้นิยมบูชาพระภูมิเจ้าที่ ก็จัดเข้าในข้อนี้

. ค ฤหบดี บรรพชิต สมณพราหมณ์ ผู้ที่เว้นจากความมัวเมา ความประมาท มั่นคงอยู่ในขันติ โสรัจจะ ฝึกตนบ้างสงบตนบ้าง ดับความเศร้าหมองของจิตให้อยู่เย็นเป็นสุขบ้าง มีอยู่ในโลกนี้ ผู้ที่ถือเอาประโยชน์แก่ทรัพย์ย่อมถวายทานี่ดี ประณีตมีสุข เป็นผลนำให้เข้าถึงสวรรค์ได้ ในบรรพชิตสมณพราหมณ์เหล่านั้น นี้เป็นการถือเอาประโยชน์แต่ทรัพย์ข้อที่ ๕

ด ูกร คฤหบดี นี้คือการถือเอาประโยชน์แต่ทรัพย์ของคนดี ที่ขยันหมั่นเพียรแสวงทรัพย์มาด้วยความสามารถ ด้วยกำลังแขนทั้ง ๒ ข้าง อาบเหงื่อต่างน้ำ

ด ูกร คฤหบดี ถึงทรัพย์สมบัติจะต้องหมดเปลืองไป เพราะการจ่ายในเรื่องทั้ง ๕ นั้นจริง แต่เขาจะไม่ร้อนใจ เพราะคิดว่า การแสวงหาทรัพย์มาเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้นเราได้แล้ว เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว ก็จะสบายใจ ไม่ร้อนใจ

ด ูกร คฤหบดี ถ้าหากเขาถือเอาประโยชน์แต่ทรัพย์ที่แสวงหามาได้แล้วในเรื่องทั้ง ๕ นั้น ทรัพย์สมบัติได้เจริญขึ้นอีก เขาก็ยิ่งจะสบายใจ เพราะคิดว่า การแสวงหาทรัพย์มา เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้นเราได้แล้ว เมื่อคิดดังนี้แล้ว ก็ยิ่งสบายใจ ไม่เดือดร้อน

ค รั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์ภาษิตจบแล้ว ได้ตรัสคาถาภาษิตรับรองพระโอวาทนั้นประทานแก่คฤหบดี โดยพระบาลีอีกว่า ภุตฺตา โภคา ภตา ภจฺจา เป็นอาทิ ความว่า

เ มื่อนรชนหวนระลึกถึงชีวิตของตนที่ดำเนินมาโดยสวัสดีว่า ทรัพย์สมบัติเราก็มีพอได้อาศัยใช้สอยแล้ว คนที่จะเลี้ยงมีบิดา มารดา ภรรยา บุตร เป็นต้น เราก็ได้เลี้ยงแล้ว อันตรายต่างๆ เราก็ได้ข้ามพ้นมาแล้ว บุญทานเราก็ได้ถวายแล้ว สมณะผู้มีศีล เราก็ได้บำรุงพอสมควรแล้ว คนครองเรือนต้องการประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้นเราก็ได้แล้ว กรรมที่จะติดตามเผาผลาญให้เดือดร้อนภายหลัง เราก็มิได้กระทำ ครั้นระลึกเช่นนี้แล้ว ( เป็นสุขใจ ) ตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ย่อมได้รับความสรรเสริญในโลกนี้ แม้เมื่อละจากโลกนี้ ย่อมบรรเทิงในสวรรค์

เ มื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี สดับอนุสาสนีพุทโธวาท ที่สมเด็จพระโลกนาถทรงอนุศาสน์อาทิยสูตรประทานตั้งแต่ต้นจนอวสาน ก็เกิดความเบิกบานซาบซึ้งในมโนรถ ระลึกตามอนุสาสนีพระบรมสุคต ก็ชื่นใจว่าโภคทรัพย์ใดๆที่เราแสวงหา โภคสมบัตินั้นๆ เราก็ได้มาใช้สอยบำบัดทุกข์ บำบัดโศกตามมนุสวิสัย พอให้ชีวิตดำเนินไปเป็นสุข ตามกาลเวลา

ป ระการหนึ่ง คนที่ได้นามว่า ภัจจา มีบิดามารดา ภรรยา บุตรและคนอาศัย มีคนใช้เป็นที่สุด ซึ่งเป็นคนที่ควรเลี้ยงควรบำรุง ควรอุปถัมภ์เราก็ได้เลี้ยงได้อุปถัมภ์ทั้งเช้าค่ำตามกำลังสถานะไม่ละเว้นตั้ งแต่ก่อนๆมา

ป ระการหนึ่งอันตรายใดๆ ที่เป็นเหตุบีฑาให้เดือดร้อนในที่ต่างๆ หรือเป็นเรื่องขัดขวางทางชีวิตจิตใจสิ้นทั้งปวง ภัยนั้นๆ เราก็ได้ก้าวล่วงแล้วทุกสถาน

ป ระการหนึ่ง ทักษิณาทานอันเป็นส่วนเบื้องบน ที่สามารถอำนวยผลได้สุขใจทั้งในโลกนี้และในสวรรค์ ทักษิณาทานนั้นๆ เราก็ได้ถวายแล้วตามกาลเวลาด้วยดี

ป ระการหนึ่ง เบญจพลีกรรม ๕ ประการ มีงานปฏิสันถารต้อนรับแขกผู้มาหา เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนที่ครองเรือนปฏิบัติ ด้วยอัธยาศัยไมตรี ให้เป็นไปด้วยดีตามสถานะ พลีกรรมนั้นๆ เราก็มิได้เลิกละปฏิบัติแล้วทุกประการ

ป ระการหนึ่ง พระสงฆ์ที่มีสันดานสงบ มีจิตเคารพในธรรมวินัย บำเพ็ญพรตผ่องใสมั่นคงอยู่ในยติเวช ซึ่งเป็นบุญเขตโดยธรรม เราก็ได้อุปถัมภ์ด้วยกุศลจิต เคารพบูชาในฐานะเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย

ป ระการหนึ่ง บาปกรรมใดๆ อันจะเป็นเครื่องตามเผาผลาญให้เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นๆ เราก็ได้ยับยั้งเหนี่ยวรั้งจิต มิได้กระทำตามความคิดโดยผลุนผลันลงไป เป็นทางให้สุขใจทุกๆครั้งที่นึกขึ้นมา

ผู้ครองเรือนแสวงหาโภคทรัพย์ เพื่อต้องการประโยชน์อันใดประโยชน์อันนั้นเราก็ได้สมใจแล้วเป็นอันดี

เ มื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีระลึกตามอนุสาสนีของพระศาสดาจารย์ก็เกิดความเบิกบา น ปีติ ปราโมทย์ในดวงจิต ทูลสรรเสริญพระโอวาทของพระธรรมสามิสรที่ทรงพระเมตตา ตรัสประทานให้เกิดปัญญาหยั่งเห็นเป็นกุศล จึงถวายอภิวาทแทบพระบาทยุคลด้วยความเคารพอย่างสูงสุดแล้วกราบทูลลาพระสัมพุท ธวิสุทธิ์โลกเชษฐ์ กลับคืนหลังยังสุทัตตนิเวศน์นิวาสสถาน ขอยุติธรรมบรรหารในอาทิตยสุตตคาถา พอสมควรแก่เวลาด้วยประการฉะนี้

—————————————–

(บรรยาย ๘ มกราคม ๒๕๐๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น