วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชัยมงคลที่ ๔

ตำนานชัยมงคลที่ ๔

ก ิร ดังได้สดับรับรู้มาจากพระบาลีเถรคาถา และมัชฌิมนิการ ซึ่งพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ได้สังคายนาไว้ในพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฏก เพื่อเทอดเกียรติพระสาวกวิสุทธิสงฆ์ อีกพระพุทธคุณของพระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม เพื่อจะเตือนพุทธบริษัทให้ดำเนินตามพระโอวาท หวังจะให้สำรอกจิตคิดอาฆาตเบียดเบียนกัน ให้เกื้อกูลตามเชิงชั้นฉันญาติมิตรชิดหรือห่าง อันเป็นทางสงบสุขนิรภัยนิรทุกข์เกษมสานต์ ดำเนินตามคำอันเป็นนิทานเบื้องต้นว่า

ใ นปฐมโพธิกาลนั้น มีพราหมณ์มันตะคูผู้หนึ่ง รอบรู้ถึงจบไตรเพท มีความรู้ดีเป็นพิษในทางทำนายนักษัตร์ รู้ลางร้ายและเคราะห์ร้ายได้แจ้งชัด นับเนื่องอยู่ในสังกัดพราหมณ์พราหมณ์ชั้นนักปราชญ์ราชเมธีเป็นปุโรหิตาจารย์ ของพระเจ้ากรุงสาวัตถีปัสเสนทิโกศลมหาราช ผู้ถวายอรรถสาส์นแด่พระมหากษัตริย์ มีนามตามชีวประวัติว่า ภควพราหมณ์ มีภรรยาที่ทรงคุณสมบัติอันงาม ชื่อว่า มันตานี เมื่อนางคลอดบุตรชายหัวปีในเพลาราตรีนั้น เกิดลางร้ายอัศจรรย์วิบัติเป็นเห็นประหลาด บรรดาศัตราวุธเกิดโอภาสประกายรุ่งเรือง ราวกะว่าเปลวไฟลุกสิ้นทั้งปวงตลอดพระแสงขรรค์ หอกและสินาดในคลังหลวงราชศัตรา เมื่อภควพราหมณ์ประจักษ์แก่ตา ก็ประหลาดจิต แล้วก็คำนึงถึงเหตุที่อาเภทให้ปรากฏ เออ! จ ะเกิดความจำเริญยศหรือเสื่อมศักดิ์อัครฐาน แก่ทรัพยศฤงคารบุตรภรรยา หรือแก่ตัวอาตมาก็มิรู้ ดำริแล้วท่านราชครูโหราจารย์ก็รีบออกจากเรือนมาสู่ชานชลาหน้าประตูบ้าน แหงนหน้าดูดาวซึ่งสุกสกาวงามตระการในท้องฟ้าก็ปรากฏ เห็นกลุ่มดาวโจรสัญจรบทอยู่เบื้องหน้าก็ตกใจ ด้วยแจ้งชัดความนัยคัมภีร์พยากรณ์ ทายว่าเด็กเกิดใต้กลุ่มดาวโจรที่โคจรในยามนี้ ต่อไปภายหน้าจะเป็นคนไม่ดีใจอำมะหิต จะเป็นนายโจรประทุษฐจิตที่ร้ายกาจ แต่เป็นบุญที่ชีวิตไม่ถึงฆาตด้วยราชภัยและไม่ถูกใครฆ่าตายให้เสื่อมยศ เมื่อท่านปุโรหิตคิดกำหนดคำนวณแน่แก่ใจ แล้วก็กลับคืนเข้ายังภายในนิวาสสถาน ด้วยอารมณ์รำคาญ ไม่สมคิดดังคาดไว้ว่า บุตรของตนจะต้องเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยเกียรติยศปรากฏในภายหน้า แม้จะคิดหักใจว่าเป็นเวรกรรมของเขามาแต่กาลก่อน ก็ไม่วายจะเสียใจ

ค รั้นรุ่งแสงสุริโยทัยในยามเช้า ได้เวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ ท่านปุโรหิตก็เข้าไปปฏิบัติราชการ ในพระราชสถานของพระเจ้ากรุงสาวัตถี ถวายพระพรสวัสดีแด่พระภูบาล เมื่อแรกเสด็จออกว่าราชการในท่ามกลางทวยหาญจาตุรงคเสนา ครั้นมีพระราชปุจฉา ถามถึงความประหลาด เพราะโอภาสที่เกิดจากสรรพศัตราวุธในราตรีจะเป็นลางร้ายให้เสียศรี เสื่อมศักดิ์อัครฐาน แก่พระราชทรัพยศฤงคาร บ้านเมืองให้ยุคเข็ญเป็นประการใด ภควพราหมณ์ก็ทูลไขถึงความอาเภท ว่าข้าแต่พระปิ่นปกเกษของไพร่ฟ้า อันลางร้ายนั้นจะไม่เป็นภัยมาบีฑาแต่ประการใด ด้วยพระบารมีของพระภูวนัยช่วยปกปัก แต่หากจะเกิดแก่บุตรที่รักของข้าพระบาทซึ่งแรกเกิดมื่อคืนนี้ ต่อไปจะเป็นโจรกาลี ให้เสื่อมศรีแก่ไพร่ฟ้าข้ายุคคลบาทเห็นควรจะพิฆาตฆ่าเสียแต่เยาว์วัย พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงปราศรัยด้วยการุณว่า ท่านอาจารย์อย่าเพิ่งรีบเคืองขุ่นเคียดแค้นแก่ทารกผู้ไร้เดียงสา เด็กไม่มีความผิดใยจะคิดฆ่าให้เสียพระราชกำหนดบทพระอัยการ ฉันคิดว่าถ้าท่านอาจารย์จะพยายามเลี้ยงดู ให้เด็กเติบโตในสำนักครูแต่เยาว์วัย อบรมบ่มนิสัยจากสมณพราหมณาจารย์ เด็กก็จะมีสันดานอ่อนโยนเป็นแน่แท้ คิดว่ายังพอจะเอาบารมีธรรมเข้าช่วยแก้กล่อมเกลาได้

ค รั้นปุโรหิตาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในเชิงปราชญ์ได้รับพระราชทานพระบรมราโชวาท ซึ่งทรงหลั่งออกด้วยพระเมตตา ก็หมอบกราบรับพระราชทานพระมหากรุณาของพระเจ้ากรุงสาวัตถี แล้วกลับไปแจ้งแก่นางมันตานีผู้ภรรยา จึงขนานนามบุตรชายว่า อหิงสกะกุมาร แปลว่า ไม่มีจิตคิดรุกรานเบียดเบียนใครให้เดือดร้อน เพื่อจะแก้ดวงชะตาร้ายให้ลดหย่อนอ่อนลงมา ต่อนั้นก็ตั้งหน้าบำรุงเลี้ยงบุตรสุดสวาท ให้มีปรีชาสามารถในเชิงศึกษา อบรมให้มีจิตเมตตาการุณ รู้จักคารวะต่อบุคคลผู้ทรงคุณและผู้ใหญ่ ครั้งอหิงสะกุมารเจริญวัยซึ่งควรจะให้อยู่ประจำในสำนักศึกษา จึงได้ส่งให้ไปอยู่เมืองตักกศิลา สำนักทิสาปาโมกข์อาจารย์ อันเป็นสถานที่สูงด้วยการศึกษาในคุณวิทยาและธรรมจริยาเป็นพิเศษ โดยหวังจะให้เป็นคุณบุญญเขตบ่มนิสัยอหิงสกะกุมาร

อ าศัยที่อหิงสกะ มีปรีชาญาณแหลมหลักเผ่านักปราชญ์ จึงมีปัญญาสามารถล้นเหลือเหนือศิษย์ทั้งหลายในสรรพวิชา ทั้งเป็นที่รักใคร่ของครูอาจารย์ผู้ให้การศึกษา ด้วยมีจรรยาคารวะอ่อนน้อม พร้อมที่จะรับปฏิบัติในโอวาททุกประการ ข้อนี้เกิดเป็นสมุฏฐานให้บรรดาศิษย์พากันคิดริษยา ยุยงอาจารย์ด้วยอุบายนานาเพื่อจะให้เกลียดชังอหิงสกะในที่สุดด้วยอำนาจโมหะค วามเขลาจิต ทำให้อาจารย์หลงเข้าใจผิดกลับเห็นไปตามคำศิษย์ยุยง เกิดประทุษฐจิตคิดจำนงจำกัดอหิสกะกุมาร ครั้นจะล้างผลาญตรงๆก็เกรงครหา ประชาชนก็จะตราหน้าว่าอาจารย์ฆ่าศิษย์ผิดระบอบ จะเสื่อมเสียความชอบที่ได้สั่งสมมา ควรจะยืมมือคนอื่นฆ่าให้สิ้นภัย ทั้งไม่มีความครหาใดๆจะเกิดมี ดังนั้น ครั้นเพลาราตรีกาลท่านทิสาปาโมกข์อาจารย์ จึงเรียกอสิงสกะผู้เป็นศิษย์ที่สามารถ เราใคร่จะประสาธน์พระเวทชื่อวิษณุมนต์ อันทำให้เจ้าเรือวรณหิทธิฤทธิ์ ซึ่งศัตรูใดๆในทศทิศไม่ต่อได้ แต่จะต้องใช้นิ้วมนุษย์มีจำนวนถ้วนหนึ่งพันของคนหนึ่งพันคนมาจัดเป็นเครื่อง กำนนคำนับครู บูชาเทพเจ้าผู้ประสิทธิ์ให้

อ หิงสกะได้สดับก็ตกใจ จึงเคารพนับไหว้แล้วสารภาพว่า ข้าแต่พระอาจารย์ ขอรับเมตตาที่ประทานไว้ในระหว่างเกล้า ข้าพเจ้านี้สิ เป็นพราหมณ์มหาศาล ไม่ฆ่าสัตว์ ข้อนี้เป็นเหตุข้องขัดยากที่ศิษย์จะปฏิบัติตามประสงค์ได้

อ าจารย์ก็ปราศรัยนานาประการ ชัดนำอหิงสกะกุมารให้เกิดความกล้าหาญในปาณาติบาต สามารถจะทำตามอุบายที่แนะนำได้ทุกประการต่อมาอหิงสกะกุมารได้ศัตราที่คมกล้า จึงหลบเข้าไปอยู่ป่า แสวงหานิ้วมนุษย์ เพื่อจะเอาเป็นเครื่องกำนน ตั้งต้นฆ่าคนที่เข้าป่า แล้วตัดเอานิ้วมือมารวมเข้าไว้เป็นก่ายกอง โดยมุ่งจะเอาไปเป็นของเครื่องบูชาเรียนวิษณุมนต์ เพื่อจะได้มีอานุภาพเหนือคน อันเป็นสิ่งที่ตนปรารถนาครั้นกาลล่วงมา นิ้วนั้นโทรมลงไป ยากที่จะกำหนดจำนวนให้ถ้วนถึงได้ อหิงสกะก็เริ่มฆ่าคนใหม่ ตัดเอานิ้วมาแล้วใช้เชือกมัด ประหนึ่งว่า พวงมาลัยคล้องคอไว้ เพื่อจะให้ได้ถึงจำนวนพัน จึงได้นามขนานเป็นสำคัญว่า “องคุลิมาล” ปรากฏเป็นโจรที่กล้าหาญร้ายกาจ มีสำเนียงน่ากลัวยิ่งกว่าสิงหนาทในไพรสณฑ์ มหาชนสะทกสะท้านท้อแท้ทั่วทุกชั้น เพียงได้ยินชื่อว่าองคุลิมาลเท่านั้น ก็ขนพองสยองเกล้า เกียรติศัพท์ก็ระบือไปยังพระนคร แม้ราชบุรุษก็ระย่อไม่ต่อการ ให้หลังหนี ทั้งก็สืบไม่รู้ว่าโจรผู้นี้มาจากไหน เป็นคนมาจากตระกูลใดๆก็ไม่แจ้ง ตลอดทั้งตำแหน่งแหล่งที่อยู่ก็ไม่รู้ ได้ยินแต่คำกล่าวข่าวสาส์นทั้วๆไปว่า องคุลิมาล! องคุลิมาล!! โ จรที่ร้ายกาจดังพระกาฬ สวมพวงมาลาลัยนิ้วมนุษย์ เป็นผู้ที่ดุร้ายที่สุด ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์แต่สมัยใดๆประชาชนหวาดจิตคิดเห็นเป็นภัย พากันอพยพเข้าพระนคร และพร้อมกันร้องอุทธรณ์กล่าวโทษต่อพระเจ้าโกศล ขอได้โปรดยกพลออกไปปราบปรามกำจัดโจรอันเป็นเสี้ยนหนามต่อความสงบของประชาราษ ฎร์ จับองคุลิมาลโจรผู้ร้ายกาจมาสังหารเพื่อความเกษมสานต์ ณ กาลบัดนี้

เ มื่อพระเจ้ากรุงสาวัตถี ได้สดับวิปปฏิสารคดีเดือดร้อนก็ตกพระทัยประหลาดจิตว่า ไฉนองคุลิมาลโจรจึงร้ายกาจ มีอำนาจเป็นที่ครั่นคร้ามขามขยาดแก่อาณาประชาราษฎร์ หากปล่อยไว้ก็จะอุกอาจเข้ามาเบียดเบียนชาวพระนครให้เดือดร้อน เสื่อมราชานุภาพของพระมหากษัตริย์ควรจะยกโยธาไปจำกัดพิฆาตฆ่า ทรงดำริแล้วจึงมีพระราชบัญชาให้จัดโยธาทหารหาญ พระองค์จักเสด็จทรงบัญชาการในงานนี้กำหนดอีก ๓ ราตรีนั้นแล

ค รั้นภควพราหมณ์ปุโรหิตาจารย์ ได้สดับพระราชโองการ ให้ตระเตรียมโยธาทหาร ออกไปจังองคุลิมาลโจรก็ตกใจ จึงคิดว่า องคุลิมาลโจรจะเป็นใคร มาจากไหนไม่ได้ นอกจากอหิงสกะบุตรของอาตมาด้วยได้ทราบข่าวจากสำนักศึกษา เมืองตักศิลานั้น กล่าวโทษว่าอหิงสกะเป็นคนโฉด ถูกขับจากสำนักแล้ว ต่อนั้นก็มิได้ข่าววี่แววว่าจะอยู่ในถิ่นใด ทำให้บิดาและมารดาต้องร้อนใจเป็นห่วงลูก หวั่นใจว่าพ่อบุญปลูกจะเป็นทุกข์ลำเค็ญเข็ญ ความจริงลูกน่าจะคิดเห็นหัวใจของมารดาและบิดาและกลับมาบ้านเรือน ไม่น่าจะแชเชือนหลบหายไปในป่า บัดนี้เกิดมีข่าวโจษจันว่า มีองคุลิมาลโจรใจร้ายกาจเข้าพิฆาตเข่นฆ่าผู้คนมากมาย ทำให้ประชาชนเกิดระส่ำระสายเดือดร้อน ถึงพระเจ้ากรุงโกศลอดิศรเตรียมนำทัพไปปราบปราม เมื่อพินิจดูตามข้อความของข่าวสาส์นแท้ก็คืออหิงสกะกุมารบุตรของเราเป็นแม่น มั่น ดวงชะตาลูกก็เข้าขั้นร้ายเข็ญให้เป็นไป จะต้องช่วยป้องกันแก้ไขให้หนักเป็นเบา อย่าต้องให้บุตรเราได้ราชภัยพินาศ คิดแล้วก็รีบกระวีกระวาดกลับเคหา เรียกนางมันตานีมาปรึกษา แล้วบอกอุบายให้ภรรยารีบเล็ดลอดล่วงหน้าไปหาอหิงสกะกุมารบุตรชาย ซึ่งบัดนี้ได้นามใหม่ว่า องคุลิมาล ให้รีบหลบหนีจากถิ่นฐานไกลออกไป บัดนี้ราชภัยกำลังใกล้เข้ามา

ฝ ่ายนางมันตานีเป็นมารดาก็เห็นด้วย ความรักลูกก็มุ่งจะช่วยให้รอดตาย มิได้คิดว่าอันตรายจะพึงมี หากองคุลิมาลเขลาจิตไม่ทันคิดว่าชนนี ประหารเสียก็จะตายเปล่า ไม่ทันได้บอกข่าวว่าตนเป็นมารดานำข่าวมาบอกให้หลบลี้หนีไป กลับตกเป็นผลร้ายแก่แม่และลูกทั้งสองคน

ใ นวันนั้น สมเด็จพระทศพลพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงทราบด้วยอนาคตังสญาณว่า นางมันตานีจะมีอันตราย องคุลิมาลลูกชายไม่รู้จักก็จะประหาร เกิดเป็นอนันตริยกรรมล้างผลาญมรรคผลในภายหน้า จำตถาคตจะกรุณาไปช่วยให้พ้นภัยกับบำบัดความโหดร้ายขององคุลิมาล ให้เลิกละสันดานพาลมาเป็นบรรพชิตในพระศาสนา ครั้นพระบรมศาสดาทรงดำริแล้วก็เสด็จพุทธดำเนินไปในไพรสณฑ์ ล่วงหน้ามารดาองคุลิมาลไปในวันนั้น

ข ณะนั้น องคุลิมาล กำลังหมกมุ่นด้วยโมหจิต คิดแต่เพียงว่า เราก็คืออหิงสกะกุมาร ลอบออกมาล้างผลาญมนุษย์เพื่อจะเอาดรรชนีนิ้วชี้มนุษย์ให้ครบพัน บัดนี้ได้ ๙๙๙ นิ้วแล้ว ยังขาดอีกหนึ่งเท่านั้นก็จะพอควรแก่การ หารู้สึกผิดไม่ว่า ขณะนี้โลกกำลังตราหน้าตนเป็นองคุลิมาลโจรใจร้าย ควรจะตายมากกว่าอยู่เป็นคน ทันใดนั้นก็พลันแลเห็นพระทศพลสัมพุทธเจ้าแต่ไกลก็ดีใจว่า เออ! โ ชคอันดีของเราไม่ต้องไปหานิ้วที่ไหนให้ไกล ถ้าได้นิ้วมือบรรพชิตผู้นี้ไซร้ ก็จได้ฤกษ์สหัสสมสมัยดรรชนีได้องคุลีบรรจบครบพัน แล้วองคุลิมาลก็จับดาบลุกถลันแล่นไล่แม้จะพยายามวิ่งเท่าใดๆ ก็ไม่ทันพระบรมศาสดาจารย์ ด้วยทรงทำปาฏิหาริ์ยให้เข้าไม่ถึง แม้จะวิ่งตะบึงขับไล่จนสุดแรงก็ไร้ผล พระทศพลเสด็จดำเนินตามปกติ องคุลิมาลจึงดำริว่า เราสิ้นกำลัง จึงหยุดยืนร้องตะโกนด้วยเสียงดังว่า หยุดก่อน สมณะ! สมณะ! หยุดก่อน !! พระบรมศาสดาไม่ทรงหยุด ทรงดำเนินตามปกติ แต่ทรงรับสั่งว่า องคุลิมาล ! เ ราหยุดแล้ว แต่ท่านนั่นแหละไม่หยุด องคุลิมาลได้ฟังขัดใจ แม้จะให้หยุดเท่าใด ก็ได้รับแต่คำตอบเท่านั้น พลักก็พูดตำหนิว่า ดูก่อนสมณะ ท่านสิเป็นบรรพชิต ชอบที่จะมีคำสัตย์ให้สมแก่เพศยังเดินอยู่แต่พูดว่าหยุดแล้วได้ ส่วนเราสิหยุดแล้ว แต่ท่านกลับกล่าวว่าเราไม่หยุด เหตุไฉนใยท่านจึงพูดไม่เป็นความจริงเล่า

พ ระพุทธเจ้าจึงหยุดประทับแล้วรับสั่งว่า อหิงสกะตถาคตกล่าวแต่คำจริงเป็นปกติ ที่ตถาคตกล่าวว่า เราหยุดแล้ว คือ หยุดฆ่า หยุดเบียดเบียน หยุดแสวงหาในทางผิด หยุดดำเนินไปทางทุจริตสิ้นทุกประการ อหิงสกะ! เ ธอสิ มีสันดานพาลแรงร้ายไม่หยุดยั้ง วิ่งตามเราจนสิ้นกำลังแล้วยังไม่คิดหยุด มือถืออาวุธเขม้นหมายประหาร แต่ปากสิเปิดขานว่าหยุดแล้ว น่าขวยแก่ใจ เท็จต่อตัวแล้วไฉนมาเท็จต่อเราอีกเล่า อหิงสกะ

เ มื่อองคุลิมาลได้ฟังพระดำรัสพระบรมศาสดาจารย์ตรัสเพียงเท่านั้นก็พลันสำนักร ู้สึกผิดได้ คิดละอายแก่ใจในบาปกรรมที่ทำมา ท่านผู้นี้แล คือ พระศาสดาผู้ทรงทราบบาปของเราทุกประการ แม้แต่ชื่ออหิงสกะก็ทรงขานเรียกได้ ทรงบริสุทธิ์กายใจน่าเข้าไปหา คิดแล้วก็ซ่อนอาวุธไว้ในป่า เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ายังที่ประทับ เพื่อสดับพระโอวาทถวายบังคมพระบรมบาทแล้วประคองอัญชลี

ต ่อนั้น สมเด็จพระชินศรีสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงแสดงธรรมฟอกจิตองคุลิมาลโจรให้สะอาดดี เปิดผ้าที่ปิดบังสาวกญาณบารมีให้ปรากฏ จนองคุลิมาลเลื่อมใสในการบำเพ็ญพรตบรรพชิตและทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาจึงประทานเอหิภิกขุอุปสมบทให้ แล้วทรงพาพระองคุลิมาลไปยังพระเชตวันวิหาร ประหนึ่งว่าเสด็จไปคล้องช้างสาร ที่ซับมันบัดเดี๋ยวกลับใจ ก็ได้ช้างพลายเชือกใหม่มาสู่พระอาวาสไม่ต้องใช้บ่วงบาศก์ เครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ เพียงแต่ใช้พระโอวาทตรัสสอนให้สงบระงับก็จับได้ ทั้งไม่ให้เป็นเวรเป็นภัยในทุกสถาน นับว่าพระองค์ทรงพิชิตองคุลิมาลด้วยธรรมอันวิเศษ เป็นชัยมงคลเดชของพระบรมศาสดา อชัยมงคลดั่งพรรณนามา จึงมีแด่พุทธศาสนิกบริษัทตามควรแก่วิสัยในการกุศล ขอยุติข้อความในชัยมงคลที่ ๔ แต่เพียงนี้ ฯ

——————————

พูดไปขัดใจเขา คำของเราเบาราคา

ทำใดขัดนัยน์ตา ลดราคางานเราเอง

ธรรมสาธก.

(บรรยาย ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๘)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น