วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระสูตร

ตำนานพระสูตร

เ มื่อพระอุบาลีเถรเจ้า วิสัชชนาพระวินัยปิฎกจบลงแล้ว ลำดับนั้นพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันต่อไปว่า ในการสังคายนาพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก ควรจะถวายให้พระเถระองค์ใดเป็นผู้วิสัชชนา จึงจะสมความปรารถนาที่ตั้งไว้ ที่สุดก็พร้อมยอมกันว่าควรจะถวายให้พระอานันทเถรเจ้าเป็นผู้วิสัชชนา ด้วยเป็นพระเถระพหุสูตรมีญาณปรีชาในห้องพระไตรปิฎก สามารถจะหยิบยกขึ้นวิสัชชนาถวายได้ เพราะไม่มีธรรมอันใดที่พระอานันทเถรเจ้าจะไม่รอบรู้

อ นึ่ง พระเถรเจ้าก็ได้รับยกย่องจากสมเด็จพระบรมครูว่ามีสติปัญญาเป็นคลังของพระศาส นาวิเศษสุด สามารถแสดงธรรมของพระสัมพุทธให้วิตถารได้หมดจด นำพุทธบริษัทให้ดื่มอมตรสได้ดังพระบรมศาสดา จึงพร้อมกันอาราธนาให้พระเถรเจ้าเป็นผู้วิสัชชนาพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรร มปิฎก ด้วยประการฉะนี้

ต ่อนั้นพระมหากัสสป ก็เริ่มปรารภถามพรหมชาลสูตร อันเป็นสูตรที่ ๑ ในพระสุตตันตปิฏกกับพระอานันทเถรเจ้าว่า ดูกรอาวุโสอานันทะ พรหมชาลสูตรนี้ สมเด็จพระมหามุนีบรมสุคตเจ้า ทรงแสดง ณ ที่ใด ปรารภใครให้เป็นเหตุ จึงได้ตรัสเทศนา และมีเรื่องราวเป็นมาด้วยประการใด ลำดับนั้นพระเถรเจ้าก็ชี้แจงแสดงไข เล่าถวายพระอรหันต์ทั้งหลายโดยพิศดาร ดำเนินนิทานวจนะเบื้องต้นว่า

โ ลกนาโถ อันว่า สมเด็จพระบรมศาสดา ผู้เป็นนาถะที่พึ่งของสัตว์โลก ภควา สมบูรณ์ด้วยสวัสดิโชคมารวิชัย เปี่ยมอยู่ในพระมหากรุณาธิคุณสุนทรวิสุทธินฤเบศร์ ทรงจำแนกคุณวิเศษสุภสวัสดิ์ แก่บรรดานิกรสัตย์ทุกแหล่งหล้า ซึ่งมวลนักปราชญ์พรรณนาว่า ทรงคุณสัมปทาที่ยิ่งใหญ่ไว้ ๙ ประการ ๑. อ รหํ ทรงมีพระจิตสันดานบริสุทธิผ่องใสศูนย์สิ้นกิเลสาสวชัยกับทั้งวาสนา ไม่มีมลทินใดๆ ที่จะมาพัดพาให้พระจิตขุ่นมัวแม้แต่เล็กน้อย ไม่มีร่องรอยแห่งอารมณ์ร้ายใดๆ ที่จะเข้ามาพัวพัน ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงตรัสรู้อริยสัจจธรรม ๔ ประการ ด้วยพระปรีชาญาณโดยชอบแต่ลำพังพระองค์ดำรงเอก ถึงซึ่งพุทธาภิเศกสัมโพธิญาณ ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ประกอบด้วยไตรวิชชา ๓ ประการ และจรณะ ๑๕ ปฏิปทาสารวิสุทธิโมลี ๔. ส ุคโต ทรงเสด็จไปแล้วด้วยดีทุกสถาน คือจะเสด็จไปในที่ใด ก็ไม่มีภัยมารุกรานให้เดือดร้อนปราชัย ทรงประสงค์จะทำสิ่งใด ก็ทำได้สำเร็จได้ทุกประการ ๕.โ ลกวิทู ทรงปรีชาญาณรู้แจ้งโลกได้หมด จะเป็นมนุษย์ ครุฑ นาค เทพยดา พรหม ยม ยักษ์ หรือ ปีศาจเดียรัจฉานใดๆ ก็ปรากฏว่าอยู่ในพระวิสัยทั้งสิ้น ๖. อ นุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ทรงสามารถฝึกมนุษย์ที่ควรฝึกให้ดีไม่มีผู้ใดเสมอ เพราะทรงฝึกด้วยโอวาท ตรัสสอนไม่ต้องใช้อาวุธศัตราบีบบังคับ หรือเครื่องเล่นอื่นใดให้พอใจหลงติดอยู่ดังผู้ฝึกทั้งหลาย ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ที่สูงสุดในโลกนี้ ๘. พุทฺโธ ทรงเบิกบานพระทัยอยู่ทุกเวลทุกครั้งที่ประทานธรรมทานเทศนา โปรดพุทธเวนัยให้ตรัสรู้และตั้งอยู่ในคุณที่ประสงค์ได้ทุกประการ ๙. ภ ควา ทรงมีโชคดีตลอดเวลา ด้วยอานุภาพพระเมตตา กรุณา ทรงจำแนกแจกธรรมโอสถ ให้มวลมนุษย์ที่เร่าร้อนได้ดื่มอมตรสดับทุกข์ร้อนให้ผ่อนคลายกลายเป็นได้สุข โสมนัส พระองค์ทรงสมบัติ ๙ ประการ โดยสังเขป ในพระเกียรติประวัติพระพุทธองค์เจ้าได้เสด็จอุบัติในขัตติยมหาสมมติวงศ์ เป็นบรมจักกรินทร์อสัมภินทพงษ์อุภโตสุชาติ สํสุทฺธคหณี ด้วยอำนาจพระบารมีกตาภินิหารที่ได้ทรงสั่งสมมาแต่บุพพกาลในปุเรชาติ จึงทวยเทพในหมื่นโลกธาตุพร้อมกันไปทูลอาราธนา เชิญเสด็จให้ลงมาบังเกิดในวิสุทธิขัตติยตระกูลเสวยสวัสดิ์มไหศูรย์มโหฬาร บริบูรณ์ด้วยสรรพศฤงคารสุดที่จะพรรณนา พระองค์ทรงพระญาณปรีชาสามารถ มิได้มัวเมาประมาทในลาภ ยศ ทรงสละพระปิโยรสและพระชายา ทั้งแสนสัตต์รัตนมหามไหสวรรย์ เสด็จออกประพฤติพรหมจรรย์ในบรรพชาเพศภิเนสกรรม แสวงพระวิสุทธิคุโณดมทางพระนิพพาน ทรงบำเพ็ญมหาปทานทุกกรกิริยาเป็นอุกกฤษพิริยะภาพ จนได้บรรลุอภิสัมโพธิลาภอันเลิศล้น ณ ควงไม้พระศรีรัตนมณฑลอสัตถพฤกษา ทำลายข่ายโมหอวิชชาให้ขาดวิ่น เป็นมิลินทนประหาร ได้พระอนาวรญาณอย่างยอดเยี่ยม เต็มเปี่ยมด้วยทศพลวิมลสมบัติ เถลิงวรวิมุติพุทธเสวตฉัตรเฉลิมหล้า ทรงพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ แสดงธรรมโปรดพุทธเวนัยทุกเวลา

ส มัยหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงพาพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ เสด็จจากเมืองราชคฤห์มหานคร บทจรโดยทางไกลไปในระหว่างย่านบ้านนาลันทคาม ครั้งนั้นสุปิยปริพาชกเป็นคนมิจฉาจิต พาอันเตวาสิกพาหิรบริษัท มีพรหมทัดมานพเป็นประธาน ตามไปเบื้องหลังพระศาสดาสัมมาสัมพุทธองค์ เมื่อสุปปิยปริพพาชก ได้เห็นจอมสงฆ์และภิกษุบริวารคมนาการไปในครั้งนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้ว ช่างงามพร้อมด้วยพระสิริวิลาศ พระภิกษุสงฆ์ที่เดินตามพระยุคลบาท ก็เรียบร้อยอินทรียสังวร สัญจรไปตามมรรคา ไม่มีการคะนองกายและวาจา เจริญใจ เจริญตา นำมาซึ่งความโสมนัสน่าเลื่อมใส ครั้นเหลียวมาดูศิษย์ทั้งหลายของอาตมาสิ กิริยาทีท่าลุกลี้ลุกลน เดินเถลือกเสือกถลน ต่างคนต่างแย่งแข่งกัน ไม่มีมารยาท ขาดการฝึก ไร้การศึกษา น่าเกลียด น่าชัง บ้างก็พะรุงพะรังด้วยหาบคอน ส่งเสียงเฮฮาโห่ร้อง พูดกันสนั่นก้องมาในวิถี

เ มื่อสุปปิยปริพาชก ได้เห็นองค์พระอนันตมุนี งดงามยิ่งกว่า ก็บังเกิดความริษยา กล่าวคำครหานินทาพระรัตนตรัย ด้วยถ้อยคำหยาบช้าสาหัส ฝ่ายพรหมทัตตมานพมีจิตเลื่อมใส ไม่พอใจฟังคำอาจารย์นินทา พระสัมพุทธเจ้าพร้อมเหล่าสาวก ซึ่งทรงคุณควรจะยอยกว่าเป็นบุญเขตก็เกิดความสังเวชสลดใจ แล้วก็กล่าวสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยเป็นอเนกประการ ตกว่าคำศิษย์กับอาจารย์ ลุงกับหลานเกิดขัดกัน ครั้นจวนเวลาสายัณห์ตะวันเย็น จึงสมเด็จพระชิเนนทรธรรมสามิสร ทรงพาพระภิกษุสงฆ์เข้าสถิตย์ในพระตำหนักที่พักประพาสพระราชอุทยาน ของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิ์เสด็จบรรทมโดยพุทธนิยมสีหไสยาสเหนือพระบวรพุทธอาสน์อ ันสมควรแก่พระองค์ ฝ่ายบรรดาพระภิกษุสงฆ์สาวกก็พากันเข้าทำวัตรปฏิบัติตามสมควรแก่สมณวิสัย ครั้นเวลาค่ำก็ตามประทีปให้สว่างในภายใน แล้วก็หลีกไปพักผ่อนหลับนอนตามสมควรแก่เวลา โดยสมณจริยาสังวรสงบเงียบ ไม่มีเสียงกรอบเกรียบให้กระเทือนจิต

ส ่วนสุปปิยปริพาชก ก็พาบรรดาศิษย์เข้าไปอาศัยในที่ไม่ใกล้ไกลกับพระตำหนัก ซึ่งพระภควันตบพิตรสถิตย์อยู่ตามวิสัย ครั้นยามดึกไม่มีเสียงอันใดมากระทบหูให้รำคาญจิต สุปปิยปริพาชกก็เกิดฉุกคิดว่า เอะ! ไ ฉนพระสมณทั้งหลายจึงเงียบสงัด ประหนึ่งว่าป่าช้า หรือ ป่าชัฏไม่ต้องลม หรือ พระสมณโคดมจะพาสาวกหนีเราไปแล้วกระมังจึงสงัดนัก แล้วลอบย่องเข้าไปในตำหนักเพื่อดู ก็พลันเห็นสมเด็จพระบรมครูเสด็จบรรทมงามด้วยสีหไสยาก็ประหลาดใจ จะเหลียวไปดูข้างขวาและข้างซ้าย ก็เห็นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็หลับงามสมทรง จะดูพระสงฆ์แต่ละองค์ๆ ก็ไม่ระส่ำระส่าย ระงับกายเป็นอันดี ครั้นกลับมาดูศิษย์กัมมการีของอาตมา เห็นไม่มีกิริยาแต่สักคน บ้างนอนกรน นอนคราง นอนไขว้ห้างกอดก่ายกัน บ้างนอนเคี้ยวฟันน้ำลายไหล อ้าปากหายใจ ละเมอเพ้อบ่นพึมพำน่าบัดสี บางคนผ้าผ่อนไม่มีติดกาย เห็นแล้วนึกน้อยใจว่าศิษย์กูนี้กะไรมันชั่งชั่วนักชั่วหนา ต่อนั้นก็เกิดความริษยาเข้าครอบงำใจพร่ำนินทาพระรัตนตรัยตลอดรุ่งราตรี ก็กล่าวค่ำสรรเสริญคุณของพระสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์เช่นเดียวกันตลอดราตรี

ป จฺจูสสมเย ครั้นเพลาใกล้รุ่งพระสุรสีจวนสว่างทิวาวัน พระภิกษุสงฆ์ได้ฟังคำของคนทั้งสองขัดแย้งกันก็แปลกจิต คือ พรหมทัตต์ผู้เป็นศิษย์กล่าวสรรเสริญ ส่วนอาจารย์กลับนินทา เป็นปัจจนิกวาทา ข้าศึกกันพระสงฆ์จึงนำข้อความนั้นเข้าไปกราบทูลพระยุคลบาทมูลพระบรมศาสดา

ค รั้งนั้น สมเด็จพระมหากรุณาสาสนโมลี ผู้ทรงบุญราศีแผ่ไปในภพสาม เมื่อทรงสดับข้อความอันพระสงฆ์กราบทูลเป็นมูลเหตุ ทรงเห็นเป็นกรณีพิเศษอันควรจะอนุศาสน์ให้จะแจ้ง จึงทรงพระกรุณาสำแดงซึ่งโลกธรรมพร่ำสอนภิกษุทั้งหลายว่า มมํ ภิกฺขเว อวณฺณํ ภาเสยฺยุ์ เป็นต้น ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลาย ที่เป็นข้าศึก กล่าวโทษเราผู้ตถาคต ถ้าท่านทั้งหลายพึงโกรธ พยาบาทอาฆาตจองเวรในชนเหล่านั้นไซร้ อันตรายก็จะพึงมีแก่คุณวิเศษมีปฐมฌานเป็นต้น ภิกษุทั้งหลายนินทาและสรรเสริญสองประการนี้ เป็นโลกธรรม มีประจำอยู่ทั่วประชาสัตว์ทุกคนที่อยู่ในวงวัฏฏสงสาร ยังมีถึงซึ่งพระนิพพานตราบใดก็ย่อมจะได้รับความช้ำใจ เพราะความนินทาและสรรเสริญอยู่ตราบนั้น นอกจากจะพิจารณารู้เห็นโดยเห็นเป็นธรรมดา คนรักก็สรรเสริญ คนชังก็นินทา เป็นเรื่องที่สืบมาตามโลกีย์วิสัย เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายพึงระวังใจ อย่าให้ฟุ้งซ่านไปตามโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ จึงมีกัมมัสสกตาญาณพิจารณาเห็นว่า สัตว์มีกรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเหตุที่จะให้เกิดผลทั้งดีและไม่ดี ทั้งสองประการ และทั้งสองนี้ก็ไม่ยั่งยืนนานย่อมไม่เที่ยง แปรผันและอันตรธานไปตามเหตุ ไม่มีข้อใดมั่นคงเป็นพิเศษกว่าทุกสมัย ติแล้วชม ชมแล้วติ ตามใจที่ใฝ่คิด ล้วนเป็นยาพิษทำลายความสุขจิตทุกประการ พึงมีไตรลักษณญาณพิจารณา อย่าให้โลกธรรมมาทำลายจิต แล้วสมเด็จพระบรมสามิศร์ก็ทรงแสดงพรหมชาลสูตรประกาศจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีลกับทั้งทิฐิ ๖๒ ประการ พระอานนทเถรเจ้าวิสัชชนาพระสุตตันตปิฎกถวายโดยพิศดาร ตั้งแต่ต้นจนอวสาน บรรดาพระอรหันต์เจ้าทั้ง ๕๐๐ ก็ชื่นบานอนุโมทนาด้วยสำเร็จความปรารถนาที่ตั้งไว้ รวมสังคายนาพระสูตรได้ถึง ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ป จฺฉาวิสชฺชนาปริโยสาเน ในกาลเมื่อจบปุจฉาวิสัชชนาพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ พระองค์ก็สังวัธยายพระสุตตันตปิฎกนั้นๆ เป็นคณะๆ เป็นพวกๆกัน โดยอันยกขึ้นสู่สังคายนาด้วยประการฉะนี้

ส ุตฺตนฺสงฺคหาวสาเน เมื่อสังคายนาพระสูตรจบลงในครั้งนั้น บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นปฐพีก็บันดาลบันลือลั่นสนั่นไหว สะเทือนสะท้านลั่นลงไปถึงน้ำรองพระธรณี ทั้งหมู่เทพเจ้าก็พากันยินดีแซ่ซ้องสาธุการอนุโมทนา โปรยปรายทิพยรัตนบุบผาปาริกชาติ อีกประทุมมาศบัวบานบูชาในขณะนั้น จัดว่าเป็นศรีเป็นมิ่งขวัญแก่พระศาสนา ตลอดทุกคนผู้มีศรัทธาทั่วไป ขอมวลศิริมิ่งขวัญทั้งหลายดังพรรณนามา จงมีแด่พุทธศาสนาบริษัทตามสมควรแก่วิสัย ขอยุติข้อความในเรื่องสังคายนาพระสูตรแต่เพียงนี้

——————————–

(บรรยาย ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๙๙)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น