วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โพชฌังคปริตร

บทสวดสำหรับวันเสาร์

โพชฌังคปริตร
สวดบทนี้เวลาป่วยไข้ ความป่วยไข้จะหาย

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์

วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์

สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว

ภาวิตา พะหุลีกะตา
อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว

สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก

โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
โรคก็หายได้ในบัดดล

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก

มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.

อังคุลิมาลปริตร

บทสวดสำหรับวันเสาร์

อังคุลิมาลปริตร
สัจจาธิษฐานของพระองคุลิมาลเถระ กล่าวอวยพรสตรีมีครรภ์
โบราณเชื่อว่า ท่องบทนี้หรือดื่มน้ำพระพุทธมนต์ที่เสกด้วยบทนี้จะคลอดบุตรง่าย

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต
ดูก่อน น้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดโดยชาติอริยะ

นาภิชานามิ สัญจิจจะ
ไม่รู้จักแกล้ง

ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา
ปลงสัตว์มีชีวิตจากชีวิต

เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน

โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ
ขอความสวัสดี จงมีแก่ครรภ์ของท่าน ฯ

ธชัคคสูตร

บทสวดสำหรับวันศุกร์

ธชัคคสูตร
ป้องกันความสะดุ้งหวาดกลัว

เอวัม เม สุตังฯ
ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้สดัลมาแล้วอย่างนี้

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ
เสด็จพระทับอยู่ที่เชตะวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกะเศรษฐีใกล้เมืองสาวัตถึ

ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกขุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ดังนี้แล้ว

ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้

ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

ภูตะปุพพัง ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เรื่องดึงดำบรรพเคยมีมาแล้ว

เทวาสุระสังคาโม
สงครามแห่งเทพดากับอสูร

สะมุปัพยุฬ โห อะโหสิ ฯ
ได้เกิดประชิดกันแล้ว

อะถะโข ภิกขะเว สักโก
ครั้งนั้นแล ภิกขุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช

เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า

สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดา ผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่

มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี

โส ปิหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป

โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา

อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย ยาถะ
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อ ปชาบดี

ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป

โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี

อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายบแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิส
อันนั้นจักหายไป

สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ที่นั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน

อีสานัสสะ หิโว เทวะราาชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสานอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะตีติฯ
อันนั้นจักหายไปดังนี้

ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล

สักกัสสะ วา เทวานะ มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม

ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี ก็ตาม

วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ วรุณ ก็ตาม

อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ อีสาน ก็ตาม

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ
อั้นนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่หายบ้าง

ตัง กิสสะเหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร

สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา

อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป

ภิรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายีติฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้

อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ
ดูก่อนภิกขทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า

สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม

อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั้นเทียวว่า

อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้ๆ

โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา

สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้รู้ชอบเอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว

โลกะวิทู
เป็นผู้ทรงรู้โลก

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว

ภะคะวาติ
เป็นผู้จำแนกธัมม์ ดังนี้

มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป

โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา

อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงตามระลึกถึงพระธัมม์ว่า

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธัมม์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

สันทิฏฐิโก
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง

อะกาลิโก
เป็นของไม่มีกาลเวลา

เอหิปัสสิโก
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้

โอปะนะยิโก
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
เป็นของอันวัญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้

ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธัมม์อยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป

โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระธัมม์

อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ
ทีนั้นพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
คือ คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔ บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘ นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย
ท่านเป็นผุ้ควรสักการที่เขานำมาบูชา ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป

ตัง กิสสะ เหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร

ตะถา คะโต หิ ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห
มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว

อะภิรุ อัจฉัมภี
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด

อะนุตราสี อะปะลายีติฯ
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล

อิทะมะโวจะ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้

อิทัง วตวานะ สุคะโต
พระองค์ผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา
ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้อีกว่า

อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือในรุกขมูล หรือในเรือนเปล่า

อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ

ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย

โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ

โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชน

อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระธัมม์

นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธัมม์

นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์

ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ พระธัมม์และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้

ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแล

อาฏานาฏิยปริตร

บทสวดวันศุกร์

อาฏานาฏิยปริตร
พ้นโรคภัย ยักษ์ ผี ปีศาจ คุ้มครอง

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า

จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
ผู้มีจักษุ ผู้มีสิริ

สิขิสสะปิ นะมัตถุ
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแม้แด่พระสิขีพุทธเจ้า

สัพพะภู ตานุกัมปิโน
ผู้มีปกติอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง

เวสสะภุสสะ นะมัตถุ
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า

นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว ผู้มีตปะ

นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า

มาระเสนัปปะมัททิโน
ผู้ย้ำยีเสียซึ่งมารและเสนา

โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า

พราหมะณัสสะวุสีมะโต
ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว ผู้มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว

กัสสะปัสสะ นะมัตถุ
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า

วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง

อังคีระสัสสะ นะมัตถุ
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระอังคีรสพระพุทธเจ้า

สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
อันเป็นโอรสแห่งศากยราช ผู้มีสิริ

โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมนี้

สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เป็นเครื่องบรรเทาเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง

เย จาปิ นิพพุตาโลเก
อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดก็ดี ที่ดับกิเลสแล้วในโลก

ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เห็นแจ้งธรรมตามเป็นจริง

เต ชะนา อะปิสุณา
พระพุทธเจ้าทั้งหล่ายเหล่านั้น เป็นคนไม่มีความส่อเสียด

มะหันตา วีตะสาระทา
ผู้ใหญ่ ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว

หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมอยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้เป็นโคตมโคตร ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย

วิชชาจะระณะสัมปันนัง
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ

มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
ผู้ใหญ่ ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว

วิชชาจะระณะสัมปันนัง วันทามะ โคตะมันติ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โคตมโคตร ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ

รตนสูตร



บทสวดวันพฤหัส

รตนสูตร
ตั้งสัจจาธิษฐาน ขอพระรัตนตรัยอำนวยความสวัสดี




ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.

เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี


สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด

อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย อันข้าพเจ้ากล่าวโดยเคารพเถิด

ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงฟังข้าพเจ้า

เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ขอท่านทั้งหลาย จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด

ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ซึ่งเขาทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด

ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น

สักเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
หรือรัตนะใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์

นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า มิได้มีเลย

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า

เอเตนะ สัจเจนะสุวัตติ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด

ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง

นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี

อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด

สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงสมาธิใด ว่าให้ผลไม่มีสิ่งใดคั่นได้

สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
สมาธิอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี

อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ ก็จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระธรรม

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด

เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา
บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘

จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว

เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความเพียรอย่างดี ดำเนินไปในศาสนา ของพระโคดมเจ้า ด้วยใจอันมั่นคง

เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือ พระอรหัตตผลแล้ว

ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
จึงได้เสวยอมตะรส คือ ความสงบเย็น จากความเร่าร้อนทั้งปวง

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง แม้ข้อนี้
ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว ลมทั้งสี่ทิศ ไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ ฉันใด

ตะถูปะมัง สัปปุริง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
เราตถาคตกล่าวว่า สัตบุรุษผู้หยั่งเห็นอริยสัจธรรม ก็มีอุปมาฉันนั้น นั่นแล

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
บุคคลเหล่าใด กระทำอริยสัจธรรมทั้งหลาย ที่พระบรมศาสดา ผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง ทรงแสดงดีแล้ว ให้แจ่มแจ้งแก่ตนได้

กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
บุคคลเหล่านั้น ถึงจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก

นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
แต่ท่านก็ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งภพที่ ๘

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ,
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ

สังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ อันพระโสดาบันละได้แล้ว
เพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสนะ

จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้ว จากอบายภูมิทั้ง ๔

ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
ทั้งไม่อาจที่จะทำอภิฐาน คือ ฐานะอันหนัก ๖ ประการ

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
พระโสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ อยู่บ้างก็จริง

อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
แต่เมื่อทำแล้ว ท่านเปิดเผย ไม่ปกปิดความผิดนั้นไว้

อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
ความที่บุคคลเข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้วเป็นผู้ไม่ปกป ิดความผิดไว้นี้ อันเราตถาคตกล่าวแล้ว

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะ มาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
พุ่มไม้ในป่า แตกยอดในเดือนคิมหันต์แห่งคิมหันตฤดูฉันใด

ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
พระตถาคตเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

นิพพานะคามิง ปะระมังหิตายะ
ซึ่งเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ก็มีอุปมาฉันนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐ ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ
ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ

อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
ทรงเป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
กรรมเก่า ของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี

วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้ว ในภพต่อไป

เต ขีณะพีชา อะวิรุฬ หิฉันทา
พระอรหันต์เหล่านั้น มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป

นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพาน เหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันมาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด

สัพพมังคลคาถา

บทสวดสำหรับวันพุธ

สัพพมังคลคาถา
ตั้งสัจจาธิษฐานขอสรรพมงคล

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน

รักขันตุ สัพพะเทวะตา
ขอเหล่าเทพยาทั้งปวง จงรักษาท่าน

สัพพะพุทธานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง

สะทา โสตถี ภะวันตุเม.
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน

รักขันตุ สัพพะเทวะตา
ขอเหล่าเทพดาทั้งหลาย จงรักษาท่าน

สัพพะธัมมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพ แห่งพระธัมม์ทั้งปวง

สะทา โสตถี ภะวันตุเม.
ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน

รักขันตุ สัพพะเทวะตา
ขอเหล่าเทพดาทั้งปวง จงรักษาท่าน

สัพพะสังฆานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง

สะทา โสตถี ภะวันตุเม.
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

มหาการุณิโก

บทสวดสำหรับวันพุธ

มหาการุณิโก
พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหาการุณิโก)

มหาการุณิโก นาโถ
พระบรมโลกนาถ ประกอบแล้วด้วยพระกรุณาอันใหญ่

อัตถายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา
ยังบารมีทั้งสิ้นให้เต็มแล้ว เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง

ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้

โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ มาโหนตุ สัพพุปัททวา
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย จงอย่าได้มี

มหาการุณิโก นาโถ
พระบรมโลกนาค ประกอบแล้วด้วยพระกรุณาอันใหญ่

หิตายะ สัพพปาณินัง ปูเรตวา ปารมี สัพพา
ยังบารมีทั้งสิ้นให้เต็มแล้ว เพื่อเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง

ปัตโต สัมโพธิมุตตมัง
ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว

เอเตน สัจจวัชเชนะ
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้

มาโหนตุ สัพพุปททวา
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย จงอย่าได้มี

มหาการุณิโก นาโถ
พระบรมโลกนาถ ประกอบแล้วด้วยพระกรุณาอันใหญ่

สุขายะ สัพพปาณินัง ปูเรตวา ปารมี สัพพา
ยังบารมีทั้งสิ้นให้เต็มแล้ว เพื่อสุขแก่สัตว์ทั้งปวง

ปัตโต สัมโพธิมุตตมัง
ได้บรรลุสัมโพธิญารอันอุดมแล้ว

เอเตนะ สัจจวัชเชนะ
ด้วยความกล่าวสัตย์นี้

มาโหนตุ สัพพุปททวา
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย จงอย่าได้มี

พุทธชัยมงคลคาถา

บทสวดวันพุธ

พุทธชัยมงคลคาถา
สวดแล้วสวัสดีมีชัย ศัตรูพ่ายแพ้

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ค๎รีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

พระจอมมุนี ได้ชนะพญามารผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ
ขี่คชสารครีเมขละพร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก
ด้วยธรรมวิธีทานบารมีเป็นต้น

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
พระจอมมุนี ได้ชนะอาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจากความอดทน ดุร้าย

สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่างทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแด่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน
ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำคือเมตตา

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแด่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท

โจรองคุลิมาล ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า
พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์
พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแด่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

กัต๎วานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

นางจิญจมาณวิกา เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์
ใส่ร้ายพระพุทธเจ้าท่ามกลางฝูงชน
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแด่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท

สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ
ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคนมืดบอดยิ่งนัก
พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วยแสงปัญญาทรงเอาชนะได้

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแด่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

พญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก
พระจอมมุนีทรงมีพุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส
ไปปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแด่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พ๎รัห๎มัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท

พรหมชื่อพกา ถือตัวว่ามีความบริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์
ยึดมั่นในความเห็นผิด ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยญาณ

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแด่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิต๎วานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ

นรชนใด มีปัญญาไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคล ๘ คาถา
แม้เหล่าใด ทุกๆวัน นรชนนั้น จะพึงละเสียได้ซึ่งอุปวันตรายทั้งหลาย
มีประการต่างๆเป็นอเนก ถึงซึ่งวิโมกขสิวาลัย อันเป็นบรมสุขแล

ฉัททันตปริตร

บทสวดสำหรับวันพุธ
ฉัททันตปริตร
ป้องกันสรรพภัย
วะธิสสะเมนันติ  ปะรามะสันโต
พระยาช้างโพธิสัตว์ ได้จับพรานไพร ด้วยหมายว่าเราจักฆ่ามัน

กาสาวะมัททักขิ  ธะชัง  อิสีนัง
ครั้นได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงของพวกฤษี

ทุกเขนะ  ผุฏฐัสสุทะปาทิ  สัญญา
สัญญาได้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว

อะระหัทธะโช  สัพภิ  อะวัชฌะรูโป
ว่าธงชัยของพระอรหันต์ มีรูปอันสัตบุรุษหาควรฆ่าไม่

สัลเลนะ  วิทโธ  พยะถิโตปิ  สันโต
แม้พระโพธิสัตว์ถูกศร ควรจะหวั่นไหว แต่เป็นผู้สงบระงับได้

กาสาวะวัตถัมหิ  มะนัง  นะ  ทุสสะยิ
ไม่ทำใจประทุษร้ายในผ้ากาสาวพัสตร์

สะเจ  อิมัง  นาคะวะเรนะ  สัจจัง
ถ้าคำนี้ อันพระยาช้างกล่างจริงแล้ว

มา  มัง  วะเน  พาละมิคา  อะคัญฉุนติฯ
ขอเหล่าพาลมฤคในไพร อย่าได้กล้ำกลายตัวเรา ดังนี้

ขันธปริตร

บทสวดวันพุธ
ขันธปริตร
แผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ ตั้งสัจจาธิษฐานขอความสวัสดี

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย

เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลเอราบทด้วย

ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย

เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลายสกุลกัณหาโคตมกะด้วย

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มีเท้าด้วย

เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสองเท้าด้วย

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสี่เท้าด้วย

เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีหลายเท้าด้วย

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
สัตว์สองเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ
สัตว์สี่เท้าอย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัตว์หลายเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา
ขอสรรพสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย

สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
ที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย

สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด

มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
โทษลามกใดๆ อย่าได้มาถึงแล้ว แก่สัตว์เหล่านั้น

อัปปะมาโณ พุทโธ
พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

อัปปะมาโณ ธัมโม
พระธรรม ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

อัปปะมาโณ สังโฆ
พระสงฆ์ ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา
สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขา แมงมุม ตุ๊กแก หนูเหล่านี้ ล้วนมีประมาณ ( ไม่มากเหมือนพระรัตนตรัย )

กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา
ความรักษา อันเรากระทำแล้ว การป้องกัน อันเรากระทำแล้ว

ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ
หมู่สัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเสีย

โสหัง นะโม ภะคะวะโต
เรานั้น กระทำนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ
กระทำนอบน้อม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ็ดพระองค์อยู่ ฯ

กรณียเมตตาสูตร

บทสวดวันอังคาร
กรณียเมตตสูตร
แผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
กิจนั้นอันใดอันพระอริยเจ้า บรรลุบทอันระงับกระทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญและซื่อตรงดี

สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย

อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้มีกิจธุระน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา

อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้ด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย (พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า)

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . . . .ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์มีลำตัวยาว หรือลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือกำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้ายต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิตฉันนั้น

เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ

ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้

อภยปริตร

บทสวดวันจันทร์
อภยปริตร
ป้องกันบาปเคราะห์อันเกิดจากฝันร้าย

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
ลางชั่วร้ายอันใด และอวม

โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
และบาปเคราะห์อันใด สุบินชั่วอันไม่พอใจอันใด มีอยู่

พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ขอสิ่งเหล่านั้นจงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้า

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด

โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
และบาปเคราะห์อันใด สุบินชั่วอันไม่พอใจอันใด มีอยู่

ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพพระธัมม์เจ้า

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด

โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
และบาปเคราะห์อันใด สุบินชั่วอันไม่พอใจอันใด มีอยู่

สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพพระสงฆ์เจ้า

วัฏฏกปริตร

บทสวดสำหรับวันอาทิตย์

วัฏฏกปริตร
ป้องกันอัคคีภัย

อัตถิ โลเก สีละคุโณ
คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก

สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
ความสัตย์ ความสะอาดกาย และความเอ็นดู มีอยู่ในโลก

เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง
ด้วยคำสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจักทำสัจจกิริยาอันเยี่ยม

อาวัชชิตวา ธัมมะพะลัง
ข้าพเจ้าพิจารณา ซึ่งกำลังแห่งธรรม

สะริตวา ปุพพะเก ชิเน
และระลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน

สัจจะพะละมะวัส สายะ
อาศัยกำลังสัจจะ

สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
ขอทำสัจจกิริยา

สันติ ปักขา อะปัตตะนา
ปีกทั้งหลายของข้ามีอยู่ แต่บินไม่ได้

สันติปาทา อะวัญจะนา
เท้าทั้งหลายของข้ามีอยู่ แต่เดินไม่ได้

มาตา ปิตา จะ นิกขันตา
มารดาและบิดาของข้า ออกไปหาอาหาร

ชาตะ เวทะ ปะฏิกกะมะ
ดูก่อนไฟป่า ขอท่านจงหลีกไป

สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัช ชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ
ครั้นเมื่อสัจจะ อันเราทำแล้ว เปลวไฟอันรุ่งเรืองใหญ่ หลีกไป ๑๖ กรีส พร้อมกับคำสัตย์

อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี
ประหนึ่งเปลวไฟอันตกถึงน้ำ

สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ
สิ่งไรเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี

เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ
นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ดังนี้

โมระปริตร

บทสวดวันอาทิตย์
โมระปริตร

ว่าด้วยคาถาของนกยูงทอง

อุเทตะยัญจักขุมา เอกราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
พระอาทิตย์ เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราชมีสีเพียงดังสีแห่งทองยังพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา

ตัง ตัง นะมัสสามิ
เพราะเหตุนั้น ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น

หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ซึ่งมีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
ข้าทั้งหลาย อันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน

เย พรัห์มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธัมม์ทั้งปวง

เต เม นะโม
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้า

เต จะ มัง ปาละยันตุ
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาซึ่งข้า

นะมัตถุ พุทธานัง
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

มะมัตถุ โพธิยา
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระโพธิญาณ

นะโม วิมุตตานัง
ความนอบน้อมของข้า จงมีแต่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย

นะโม วิมุตติยา
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่วิมุตติธัมม์

อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา
นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงเที่ยวไปเพื่ออันแสวงหาอาหาร

อะเปตะยัญจักขุมา เอกราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทองยังพื้นปฐพีให้สว่างย่อมอัสดงคตไป

ตัง ตัง นะมัสสามิ
เพราะเหตุนั้น ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น

หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
ข้าทั้งหลาย อันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน

เย พรัห์มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธัมม์ทั้งปวง

เต เม นะโม
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นจงรับความนอบน้อมของข้า

เต จะ มัง ปาละยันตุ
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาซึ่งข้า

นะมัตถุ พุทธานัง
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

มะมัตถุ โพธิยา
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระโพธิญาณ

นะโม วิมุตตานัง
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย

นะโม วิมุตติยา
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่วิมุตติธัมม์

อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ
นกยูงนั้น ได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงสำเร็จความอยู่แล