วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

คำนำ

คำนำ-ตำนานสวดมนต์

คำนำ

จากหนังสือตำนานสวดมนต์ พ.ศ.๒๕๐๒

พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีเถระ)

วัดมหาธาตุ

นายยิ่ง ทองมาก เจ้าของโรงพิมพ์อาศรมอักษร มาขอพิมพ์หนังสือ ตำนานสวดมนต์ ที่ข้าพเจ้าเขียนทำเป็นบทนำสวดมนต์ ไปแสดงนำพระสงฆ์สวดมนต์ ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ( กรมประชาสัมพันธ์ ) ท ุกวันพระ ขึ้น ๘ ค่ำ ประจำเดือน ตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๙๗ เป็นต้นมาไปพิมพ์เป็นเล่ม เพื่อจำหน่ายแต่ผู้ต้องการ ซึ่งมาขอให้จัดพิมพ์ขึ้น

ท ราบว่า ตำนานสวดมนต์นี้ เป็นที่พอใจของคนใจบุญทั่วกัน ด้วยได้รับคำนิยมชมชื่นจากคนทั้งหลาย ทั้งพระและคฤหัสถ์ ทั้งใกล้และไกล ที่ส่งหนังสือมาก็มี ท่านที่เมตตาจัดสักการะไปถวายถึงกุฎีก็หลายท่าน ข้าพเจ้าขออนุโมทนาไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ตำนานสวดมนต์ เล่มนี้ เป็นหนังสือกว่า ๓๗ ยก ได้เคยคัดเอาตอนต้นออกพิมพ์แจกในงานต่างๆ ก็หลายครั้ง เช่น พรพระ ( พาหุง ) ทั้ง ๘ บท โดยให้ชื่อว่า “ ชัยมงคล” เป็นต้น

ข ้าพเจ้าขออนุโมทนาในความปรารถนาดี ของ นายยิ่ง ทองมาก จึงอนุญาตให้พิมพ์ ตามขอ ด้วยหวังว่า หนังสือตำนานสวดมนต์เล่มนี้ จะเป็นอาภรณ์ประดับความรู้ของทุกท่าน ที่สนใจในเรื่องสวดมนต์ต่อไปเมื่อหน้า อีกไม่น้อย .

(พระธรรมโกศาจารย์)

ที่ทำการแม่กองธรรมสนามหลวง

วัดมหาธาตุ พระนคร

๒๐ มกราคม ๒๕๐๒

การบรรยายที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ตำนานสวดมนต์

รายการบรรยายตำนานสวดมนต์

ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ของ

พระธรรมโกศาจารย์

สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา

การสวดมนต์ก็ดี การฟังมนต์ที่พระสวดก็ดี ก่อนอื่นเราควรจะทราบว่า สวดมนต์อย่างไร ? ของใคร ? เพื่ออะไร ? ด้วยว่า เมื่อทราบชัดแล้ว จะเป็นงานที่เราทำด้วยความรู้ ความเข้าใจ ไม่ใช่ทำโดยไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือทำตามเขาทำกัน เพราะการทำอะไรได้ความรู้ เป็นความสบายใจ รู้สึกเป็นสุขในขณะทำ และทำแล้ว ก็เบิกบาน แช่มชื่น

สวด นั้น ได้แก่ กิริยาที่ตั้งใจกล่าวมนต์ด้วยจิตกุศล มีเสียงดังพอประมาณ ไม่ใช่เสก เพราะเสก ไม่ต้องใช้เสียง และต่างจาก บ่น ซึ่งเป็นการกล่าวซ้ำๆ เพื่อให้จำได้ เช่น การท่องบ่น หรือเช่นผู้ใหญ่บ่นว่าแก่ผู้น้อย แท้ก็คือ เตือนหรือกล่าวย้ำให้จดจำ

อนึ่ง มนต์ ที่สวดนั้น แต่ละบท หรือแต่ละอักษรล้วนเป็นวิทยาคุณของท่านผู้ทรงคุณควรแก่การคารวะ เช่น ครู อาจารย์ เป็นต้น ดังนั้น มนต์จึงมีมากอย่าง นิยมเรียกว่า เวท บ้าง คาถา บ้าง อาคม บ้าง ซึ่งความจริง แตะละอย่างๆ ก็เป็นมนต์ทั้งสิ้น หากแต่แยกลักษณะและอาการที่ทำ เรียกต่างกันไป เช่น ร่ายเวท เสกคาถา ภาวนาอาคม

มนต์ที่เรานิยมสวดกันนั้น ส่วนมากเป็นมนต์ของพระพุทธเจ้า หรือ สาวก ของพระพุทธเจ้า จึงมีนิยมเรียกว่า พระพุทธมนต์ คำว่า สวดมนต์ เป็นคำเรียกที่ดาด รู้กันง่าย มีคำเรียกการสวดมนต์ของคนไทยที่ฟังไพเราะอยู่คำหนึ่งว่า เจริญพระพุทธมนต์ แต่ก่อนเราจะเห็นปรากฏตามฏีกานิมนต์พระเจริญพระพุทธมนต์บ้าง ตามหนังสือเชิญญาติมิตรไปฟังพระเจริญพระพุทธมนต์บ้าง เดี๋ยวนี้ดูหายไป ยังเหลือแต่คำว่า เชิญไปหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ในงานสมรสเท่านั้น แต่ก็มีเฉพาะตัวหนังสือถ้อยคำที่ว่านั้น หันไปลงเอยเอาว่า ไปฟังพระสวดมนต์บ้าง ไปรดน้ำ บ้าง เห็นจะเป็นเพราะพูดง่าย

การสวดมนต์ หรือการเจริญพระพุทธมนต์นี้ ทำเพื่อความเจริญแก่ตนบ้าง เพื่อความเจริญแก่ผู้ฟัง หรือแก่ที่ประชุมในงานบ้าง

สำหรับเพื่อความเจริญแก่ตนนั้น ทำตามลำพังผู้เดียวบ้าง ทำเป็นคณะบ้าง แต่นิยมทำในที่อยู่ของตนหรือสำนักของตน เช่น ภิกษุ สามเณรสวดมนต์ ที่หอสวดมนต์ หรือโบสถ์ เป็นปกติ ยิ่งในเทศกาลเข้าพรรษา พระเณรทุกวัดยิ่งศรัทธาสวดทั้งเช้าเย็น แถมเวลาย่ำรุ่งอีกถือเป็นกุศลวัตร คือเป็นการบำเพ็ญบุญของพระเณรเป็นประจำ เช่น วัดมหาธาตุ วัดพระเชตุพน วัดเบญจมบพิตร วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น แต่ก่อนเมื่อพระเณรสวดมนต์จบแล้ว ศิษย์ตีระฆังเป็นสัญญาณจบสวดมนต์ ชาวบ้านได้ยินเสียงระฆังพากันประณมมืออนุโมทนาสาธุการในกิจวัตรอันเป็นส่วนภ าวนากุศลของพระสงฆ์ บัดนี้ ดูบางไปมาก

ครั้งหนึ่ง ที่วัดเทพศิรินทราวาส สมัยที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ) เป็นเจ้าอาวาส ประมาณ ๒๕ ปีมานี้ มีระเบียบให้ตีระฆังเป็นเพลงสาธุการเวลาสวดมนต์จบบ้าง เทศน์จบบ้าง ในความอำนวยการของพระครูวรวงศ์ ฐานานุกรมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทราบว่าใช้ระฆังหลายลูก แต่ละลูกมีเสียงต่างๆกัน สามารถทำเป็นเพลงได้ดี ได้รับความนิยมมาก เสียดายที่เลิกล้มไป เห็นจะหาคนตีได้ยาก

การสวดมนต์ ถือเป็นวัตรปฏิบัติประจำอย่างหนึ่งของพระสงฆ์ไทย แม้นักบวชนุ่งขาวห่มขาวในสำนักใหญ่ๆ เช่น สำนักประชุมนารี จังหวัดราชบุรี ก็ดี วัดสนามชี จังหวัดเพชรบุรี ก็ดี ทราบว่าถือเป็นกฏบังคับไว้แข็งแรงทีเดียว มีคำร้อยกรองสดุดีการสวดมนต์ของสำนักประชุมนารี จังหวัดราชบุรี อยู่บทหนึ่งว่า อันประชุม นารี ศรีสวัสดิ์ เป็นวงวัด ชีนิยม บ่มกุศล อาศัยสร้าง สันติบท ทศพล เจริญมนต์ ค่ำเช้า เอาเป็นงาน สงบกาย วจี มีสติ สมาธิ จิตระงับ ดับฟุ้งสร้าน นิวรณ์ห่าง พอสว่าง ทางนิพพาน อยู่ชื่นบาน สตรี ไม่มีภัย ทั้งสถาน ลานรอบ ในขอบเขต เหมาะแก่เพศ นารี ชีอาศัย สะดวกแก่ สตรี มีวินัย จะดูใด งามล้วน เจริญตา. ฯ ล ฯ

งานที่มีการสวดมนต์นั้น นิยมทำเป็น ๒ งาน คือ งานมงคล ๑ งานอวมงคล ๑ การได้มาสมความปรารถนา ถือว่าเป็นเครื่องเจริญใจ เช่น การได้ลาภ ได้ยศ ได้ภรรยา ได้บุตร ได้ชีวิต รอดมาแต่คราวประสบภัย เป็นต้น งานที่ทำในการนี้ เรียกว่า งานมงคล

การเสียไปอย่างผิดปกติ ถือเป็นเครื่องเศร้าใจ เช่น การศพ งานที่ทำในการนี้ เรียกว่า งานอวมงคล

แม้พระพุทธมนต์ที่จะสวดในงานทั้ง ๒ นี้ ก็นิยมต่างกันตามรูปงาน คือ งานมงคล สวดอย่างหนึ่ง งานอวมงคล สวดอย่างหนึ่ง ถ้าจะกล่าวโดยเนื้อหาของมนต์แล้ว ก็ไม่เห็นมีมนต์บทไหนเป็นอวมงคล แต่เมื่อนิยมลงไปเช่นนี้ ก็ต้องจัดให้ชอบแก่รูปงาน เช่น คนได้ยินพระสวด กุสลา ธมฺมา ในงานศพเป็นปกติ เลยทึกทักเอาเป็นบทสวดให้ผีฟัง ยิ่งไปเห็นเขาเคาะหีบศพบอกผู้ตายให้ฟังด้วย ก็ดูเป็นมนต์บทหนึ่งที่ผีฟังออก หรือผีชอบฟังอย่างปลาดและเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า เพื่อนผีคงจะมาฟังกันมาก จนทำให้บางคนกลัว พอได้ยินพระสวด กุสลา ธมฺมา เป็นไม่ยอมออกจากมุ้งจากห้องโดยลำพัง แม้จะร้อนจนเหงื่อยิบๆ ก็ยอมทน เพราะความเข้าใจผิดเป็นมูล ความจริง แม้จะสวด กุสลา ธมฺมา ก็สวดให้คนฟัง มิใช่สวดให้ผีที่ไหนฟังกัน เมื่อมีการนิยมสวดในงานศพแล้ว แม้จะรู้ความว่า มนต์ที่สวดนั้นล้วนเป็นคุณประโยชน์ดีทุกบทก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยากจะฝืนความนิยมหรือแย้งความเข้าใจของคนอื่นได้ ต่างว่า มีพระเอาบท กุสลา ธมฺมา ไปสวดในงานสมรส เชื่อว่าเจ้าภาพคงไม่ยอมเป็นแน่แม้ข้าพเจ้าก็ไม่หาญให้ทำเช่นนั้นได้ ความจริง ไม่เพียงจะเลือกแต่มนต์ ยังสิ่งของที่ใช้ในงานมงคล ก็กำหนดไว้ให้มีอีก คือ ด้ายสายสิญจน์ ขันน้ำมนต์ มีใบเงินใบทองใส่ มีเทียนขี้ผึ้งดีติดขันไว้ ๑ เล่ม ซึ่งถ้าเป็นงานศพ จะไม่ใช้ทั้งสิ้น แม้พระที่สวดก็ยังจำกัดจำนวนไว้อีกว่า ถ้าสวดมนต์ในงานมงคล จะต้องไม่น้อยกว่า ๕ รูป ถ้ามี ๔ รูปเป็นไม่ยอมให้สวด เพราะ ๔ รูป นิยมให้สวดประจำศพ ถ้าจำเป็นหาพระไม่พอ ๕ รูป ท่านว่าสวดเพียง ๓ รูปยังดีกว่า คงเกรงไปว่าจะไม่เป็นมงคลแก่งานที่จัดขึ้น ขอให้เห็นอำนาจของขนบธรรมเนียมที่นิยมกันไว้เถิด ฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในถิ่นใด สมาคมใดจึงจำเป็นต้องเรียนขนบธรรมเนียมของถิ่นนั้น สมาคมนั้น แล้วอนุวัตรตามความนิยมของเขา หากไปขัดแย้งเข้า อาจไม่ได้รับความสุขใจ อย่างต่ำก็ถูกตำหนิว่า ขาดสัปปุริสธรรม ฯ.



์Note : เนื้อหาทั้งหมดที่ได้พิมพ์นี้ พิมพ์ตามต้นฉบับที่จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2502 จะเห็นได้ว่าคำบางคำหรือการเขียนในแต่ละประโยค จะมีคำบางคำที่เขียนไม่เหมือนปัจจุบัน


ชัยมงคลที่ ๑

ตำนานชัยมงคลที่ ๑

ัยมงคล แปลว่า ความชนะ อันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า หรือ มงคลอันเกิดแต่ชัยชนะของพระพุทธเจ้า เป็นความชนะเลิศ ด้วยไม่รู้จักแพ้ ชนะตลอดกาล

ความจริง ความชนะ ทั้งหลายในโลกนี้ มีหลายประการ ล้วนเป็นการทำลายล้างศัตรูคู่แข่งขัน ด้วยกำลัง อาวุธ ทรัพย บริวาร และ อำนาจ เป็นต้น ทำให้ผู้แพ้ ตลอดญาติมิตรของผู้แพ้เจ็บแค้น ผูกอาฆาตพยายามหาโอกาสรวมกำลังมาต่อสู้แก้แค้นอีก บางครั้งก็กลับชนะทำผู้ชนะเดิมให้กลับแพ้ได้ ความชนะนั้น จึงเป็นความชนะที่ไม่เด็ดขาดทั้งทำเขาให้เดือดร้อน และเพราะเหตุนั้น ความชนะนี้ จึงไม่เป็นมงคล คือไม่ได้รับยกย่องว่า เป็นชัยมงคล

ส่วนการชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความชนะที่ทรงได้รับด้วยคุณธรรมอันชอบ ผู้แพ้ยอมพ่ายด้วยความรู้สึกผิด เห็นชอบตามยอมเป็นสาวกก็มาก ยอมบวชก็ไม่น้อย ยอมจงรักภักดีต่อ ไม่ขอสู้อีก พระองค์ไม่มีโอกาสจะกลับแพ้ เป็นความชนะที่ได้รับการสรรเสริญจากศัตรูเอง การชนะของพระองค์จึงเป็นชัยมงคล เป็นคุณควรแก่การเคารพบูชา สมควรจะแสดง สมควรจะสดับ สมควรจะศึกษา เพื่อให้เกิดอานุภาพเป็นชัยมงคลขึ้นอีก โดยพระพุทธบารมี

ชัยมงคลนี้ ชาวพุทธทั่วไปรู้จักในเกียรติคุณว่า พรพระ หรือระบุเอาเนื้อหามาเรียกทีเดียวว่า พาหุ ํ.. สำหรับพระสงฆ์สวดในเวลาเช้าก่อน ฉันเช้า ไม่เลือกที่ ไม่เลือกงาน จะที่วัดหรือบ้านก็นิยมสวด จะเป็นงานมงคลหรืองานศพก็นิยมสวด เรียกว่า สวด พาหุง.. หรือ ถวายพรพระ ประกาศเกียรติคุณของสัมมาสัมพุทธเจ้า

ชัยมงคลหรือพรพระนี้ มี ๘ บท ด้วยกัน จะได้ยกมาบรรยายเป็นบทๆไป เริ่มแต่มงคลที่ ๑ หรือ พรที่ ๑ เป็นปฐม ดังต่อไปนี้

เ มื่อพระสิทธัตถราชกุมาร พระบรมโพธิสัตว์เจ้า สละราชสมบัติออกทรงผนวชแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โปรดเวไนยสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏฏทุกข์ ประสบวิมุตติสุขอันเกษมสานติ์ตามพระพุทธปณิธานที่ตั้งไว้นั้น ครั้นพระองค์ได้ทรงพยายามบำเพ็ญพระปรมัตถบารมีตลอด ๖ ปีเป็นกำหนด ปรากฏความตามพระบาลีว่าในคืนราตรีวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ หน่อพระชินศรีเสด็จผทม ในเวลาปัจจุสมัยใกล้สว่าง ทรงมหาสุบินนิมิตร ฝันเป็นมงคลวิจิตร ๕ ประการ ข้อต้นทรงฝันว่า พระองค์มีกายใหญ่ ผทมเหนือพื้นปฐพี พระเศียรหมุน ภูเขาหิมพานต์บรรพต พระพาหาทั้งสองข้างพาดหยั่งลงไปสู่มหาสมุทรทั้งสองฝั่ง พระยุคลบาทก็พาดหยั่งมหาสมุทรด้านตะวันตก เป็นต้น

ครั้นหน่อพระชินศรีทศพลทรงตื่นผทมแล้ว มีพระหฤทัยผ่องแผ้ว ทรงรำพึงถึงความฝัน ๕ ประการ แล้วทรงพยากรณ์ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์เองว่า ความฝันทั้ง ๕ นี้ เป็นบุพพนิมิตรว่า พระองค์จะได้ตรัสรู้ พระสัพพัญญุตญาณ เป็นพระสัมพุทธเจ้าในราตรีวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญวิสาขมาส กลางเดือน ๖ คือ วันนี้ เป็นแน่แล้ว และในเช้าวันเพ็ญนั้น ทรงรับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดากุลเศรษฐีธิดา ถวาย ณ โคนต้นไม้ไทรพฤกษมณฑล ทรงเสวยข้าวมธุปายาสหมดถาดทอง ซึ่งเจ้าของศรัทธาถวายทั้งถาดแล้ว พระองค์ก็เสด็จโดยพระบาทไปสู่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานที ทรงลอยถามทองเสี่ยงพระบารมีพระสัมโพธิญาณ เกิดเป็นนิมิตรปาฏิหาริย์ให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำเห็นเป็นสำคัญ เป็นนิมิตรสนับสนุนความฝันเมื่อราตรี เวลากลางวันทรงประทับพักในร่มไม้อสัตถพฤกษ์โพธิมณฑล อันมีลำต้นและกิ่งใบงดงาม ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ จากโสตถิยพราหมณ์ถวายในระหว่างทาง ครั้นเสด็จถึงก็ทรงวางไว้ที่โคนไม้มหาโพธิด้านทิศตะวันออก และทรงลาดเป็นพุทธอาสน์เพื่อประทับนั่ง แล้วทรงตั้งพระทัยอธิษฐาน ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่ พระสัพพัญญุตญาณดังประสงค์ ขอจงบังเกิดเป็นรัตนบัลลังก์ แก้วปรากฏ พอสิ้นกระแสพระวาจาออกพระโอฐอธิษฐาน บัลลังก์แก้วรัตนะโอฬารสูงประมาณ ๑๔ ศอก ก็บังเกิดเป็นมหัศจรรย์ ต่อนั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้าก็เสด็จขึ้นประทับ หันพระปฤษฎางค์ข้างด้านพระมหาโพธิพฤกษ์ บ่ายพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก ทรงคู้พระเพลาขัดสมาธิ ตั้งพระกายดำรงพระสติมั่่นด้วยอานาปานสมาธิภาวนาแล้วออกพระโอฐดำรัสพระสัตยาธิษฐานว่า ถ้าอาตมาไม่พ้นอาสวะกิเลสตราบใด ถึงแม้มาตรว่า หฤทัย เนื้อ หนัง จะแห้งเหือด ตลอดถึงเลือดและมันข้นจนทั่วสรีระกาย อาตมะก็จะมิทำลายสมาธิบัลลังก์อันนี้เลย จะพยายามให้บรรลุเสวยพุทธาภิเศกสมบัติให้จงได้ ตั้งพระทัยมั่นหมายพระสัพพัญญุตญาณ ครั้งนั้น เทพยดาพระพรหมทุกสถาน มีท้าวสหัมบดีพรหม และท้าวมฆวาฬ เป็นต้น ก็มาประชุมแวดล้อมกระทำสักการบูชา

ครั้ั้งนั้น พญามารวัสวดี ได้สดับสัททสำเนียงเสียงเทพเจ้าบรรลือลั่นโกลาหล จึงดำริว่า หน่อพระพุทธางกูรจะล่วงพ้นวิสัยแห่งอาตมา เป็นศูนย์เสียศักดิ์ที่น่าอัปยศอดสูอย่างยิ่ง ควรอาตมาจะไปทำอันตรายให้พระองค์ลุกหนีไปให้พ้นจากบัลลังก์ อย่าให้พระองค์ล่วงพ้นวิสัยไปได้ พญามารมีความพิโรธด้วยกำลังอิสสาจิตครอบงำสันดาน จึงร้องอุโฆษนาการให้พลเสนามารทั้งสิ้น มาประชุมกันพร้อมด้วยสรรพาวุธ และสรรพวาหนะ ที่แรงร้ายเหลือที่จะประมาณ เต็มไปในคัคคณานท้องฟ้าพญาวัสวดีขึ้นช้างพระที่นั่งคีรีเมขล์ นิรมิตรมือพันมือ ถืออาวุธพร้อมสรรพ นำกองทัพมารอันแสนร้าย เหาะมาโดยนภาลัยประเทศ เข้าล้อมเขตบัลลังก์รัตน์ของพระบรมโพธิสัตว์เจ้าไว้อย่างหนาแน่น

ทันใดนั้น ฝูงเทพเจ้าที่พากันมาแวดวงถวายสักการบูชาหน่อพระชินศรีอยู่ ต่างก็มีความกลัว พากันหนีไปยังขอบจักรวาฬ ทิ้งให้พระองค์ต่อสู้พญามารแต่พระองค์เดียว

เมื่อพระมหาพุทธางกูรทรงเปล่าเปลี่ยวเหลียวหาผู้จะช่วยมิได้จึงตรัสเรียกทวยทหารของพระองค์ ๓๐ เหล่า กล่าวคือ พระบารมี ๓๐ ทัศ ด้วยพระคาถาดำรัสว่า “ อายนฺตุ โภนฺโต อิธ ทานสีลา” เป็นอาทิ ความว่า มาเถิดพวกท่านทั้ง ๓๐ กอง จงพร้อมกันจับอาวุธรบกับหมู่มารในบัดนี้ ครั้งนั้น บารมีธรรม ๓๐ ประการ ต่างสำแดงกายให้ปรากฏดุจทหารกล้า ถืออาวุธพร้อมที่จะเข้าประยุทธชิงชัยกับเสนามาร รอพระบรมโองการประทานโอกาสอยู่เท่านั้น

เมื่อพญามารวัสวดี เห็นหน่อพระชินศรีโพธิสัตว์ ทรงประทับนั่งนิ่งไม่หวั่นไหวแต่ประการใด ก็พิโรธ สั่งให้เสนามารรุกเข้าทำอันตรายหลายประการจนหมดฤทธิ์ บรรดาสรรพาวุธ ศัตรายาพิษ ที่พุ่งชัดไป ก็กลายเป็นบุบผามาลัยบูชาพระองค์จนสิ้น ครั้งนั้น พญามารวัสวดีจึงตรัสกับพระโพธิสัตว์ด้วยสันดานพาลว่า สิทธัตถกุมาร บัลลังก์แก้วนี้เป็นของเรา เกิดเพื่อบุญเรา ท่านเป็นคนไม่มีบุญ ไม่ควรจะนั่ง จงลุกไปเสียโดยเร็ว

พระบรมโพธิสัตว์ตรัสตอบว่า ดูกรพญามาร บังลังก์แก้วนี้ เกิดขึ้นด้วยบุญของอาตมาที่ได้บำเพ็ญมาแต่อสังขัยกัปป์ จะนับประมาณมิได้พญามารก็ค้านว่าไม่ใช่ ให้พระองค์หาพยานมายืนยันว่า พระองค์ได้ทำมาจริงให้ประจักษ์ในที่นี้ หน่อพระชินศรีจึงตรัสเรียกนางวสุนทราเจ้าแม่ธรณีว่า ดูกร วสุนทรานางจงมาเป็นพยานให้อาตมาด้วยเถิด

ลำดับนั้น นางวสุนทรา เจ้าแม่ธรณีก็ปรากฏกายทำอัญชลีถวายอภิวาท แล้วประกาศให้พญามารทราบว่า พระบรมโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญมามากมายเหลือที่จะนับ แม้แต่น้ำตรวจที่ข้าพเจ้าเอามวยผมรองรับไว้บนเศียรเกล้า ก็มีมากพอจะถือเอาเป็นหลักฐานได้ นางกล่าวแล้วก็ประจงหัตถ์อันงาม ปล่อยมวยผม บีบน้ำตรวจที่สะสมไว้แต่เอนกชาติ ให้ไหลออกมาเป็นทะเลหลวง ท่วมทับเสนามารทั้งปวงให้จมลงวอดวาย กำลังน้ำได้ซัดช้างคีรีเมขล์ให้ถอยร่นลงไปติดขอบจักรวาฬ ครั้งนั้น พญามารก็ประนมหัตถ์นมัสการ ยอมพ่ายแพ้บุญญฤทธิ์แด่หน่อพระพิชิตมาร สมดังมโนปณิธานที่ทรงตั้งไว้ ตามนัยที่บรรยายมานี้ ประจักษ์ว่าพระมหามุนีทรงชนะมาณด้วยธรรมาวุธ จึงสมมุติบัญญัติจัดเป็นชัยมงคลด้วยประการฉะนี้

————————————

(บรรยาย ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๙๘)

กรณียเมตตสูตร

ตำนานกรณียเมตตสูตร

ก รณียเมตตสูตร เป็นพุทธมนต์บทที่ ๓ ใน ๗ ตำนาน พระพุทธมนต์บทนี้ ประกาศเมตตาธรรม สอนให้ทุกคนตลอดสัตว์และทั่วไปถึงพวกอทิสสมานนิการ คือ พวกไม่ปรากฏรูป เช่น เทวดา ภูตผี เป็นต้น ให้มีเมตตาต่อกัน ปรารถนาความสุข ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่กัน เว้นการเบียดเบียนกัน ทำกิจทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุขของกันและกัน ดังนั้น พุทธมนต์นี้ จึงทรงอานุภาพควรแก่การคารวะยิ่งนัก

ก รณียเมตตาสูตร เป็นอาวุธเล่มหนึ่ง ที่เรียกว่า พุทธวุธ พระบรมศาสดาพอพระทัยประทานสาวก คราวเข้าไปในแดนอมนุษย์ที่ดุร้าย เพื่อป้องกันรักษาความปลอดภัยเนืองๆ ฉะนั้น พระพุทธมนต์นี้ จึงทรงอานุภาพควรแก่การศึกษาท่องบ่น และเจริญเป็นเนืองนิตย์

ใ นพระฝ่ายอรัญญวาสี จำพวกอยู่ป่าก็ดี พวกพระรุกขมูลถือธุดงค์ก็ดี นิยมเจริญกรณียเมตตสูตรเป็นประจำ ทราบว่าเมื่อเดินทางผ่านเทวสถาน คือ ศาลเจ้า ของเจ้าป่า เจ้าเขาใดๆเช่น ศาลเจ้าพ่อเขาตก ทางไปพระพุทธบาทเมืองสระบุรี ซึ่งถ้าเป็นคฤหัสถ์ ทุกคนจะต้องเคารพบูชา แต่สำหรับพระท่านสอนให้เจริญ “เมตตัญ” คำว่า ให้เจริญเมตตัญก็คือสอนให้สวด กรณียเมตตสูตร หรือ สวด เมตญฺจสพฺพโลกสุมึ ฯลฯ อันเป็นคาถาอยู่ในตอนกลางของกรณียเมตตสูตรนั่นเอง สุดแต่เวลาจะอำนวยให้

ค วามจริงนั้น เมตตาธรรมนี้ ควรเจริญให้มาก เพราะผู้ที่จำเริญเมตตา พระบรมศาสดาตรัสว่า จะได้รับอานิสงส์ ๑๑ ประการ ตามที่ทรงประทานไว้ใน เมตตานิสังสสูตร ว่า

. หลับเป็นสุข

. ตื่นเป็นสุข

. ไม่ฝันร้าย

. เป็นที่รักใคร่ของหมู่มนุษย์

. เป็นที่รักใคร่แม้แต่มนุษย์ ตลอดสัตว์เดียรัจฉาน

. เทวดารักษา

. ย่อมล่วงพ้นยาพิษศัตราวุธได้

. เจริญสมาธิได้รวดเร็ว

. หน้าตาย่อมผ่องใส

๑๐. มีสติไม่หลงในเวลาสิ้นชีวิต

๑๑. เมื่อดับชีวิตแล้ว จะไปเสวย ความสุขในพรหมโลก

เ พราะฉะนั้น จึงควรตั้งใจเจริญและสดับตรับฟังให้มาก เรื่องราวอันเป็นทางมาแห่งพระพุทธมนต์นี้ ควรทราบเพื่อเจริญศรัทธาปสาทะเพิ่มพูนบารมีไว้ด้วย เพราะเมตตาเป็นบารมีหนึ่งในบารมีสิบ

พระสูตรนี้ มีตำนานเล่าไว้ว่า :-

ส มัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จประทับยังพระเชตวันมหาวิหารในพระนครสาวัตถี มีภิกษุ ๕๐๐ รูป เรียนกัมมัฏฐานในพุทธสำนักแล้ว ทูลลาจาริกไปในชนบท เพื่อหาสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม ผ่านทางไกลไปหลายโยชน์ ก็ถึงตำบลใหญ่ตำบลหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากป่านัก ชาวบ้านพากันปฏิสันถารเป็นอันดี แล้วเรียนถามท่านว่า

นี่ พระคุณเจ้า จะพากันไปไหน ขอรับ ”

หาที่เจริญสมณธรรมให้ผาสุกสักแห่งหนึ่ง อุบาสก” ท่านอาจารย์ตอบ

ท ่านผู้ใหญ่ในบ้านนั้นเรียนท่านว่า “ ถ้าพระคุณเจ้าต้องประสงค์สถานที่เช่นนั้นละก้อ ไพรสณฑ์เชิงภูผานี้เป็นเหมาะมากเที่ยวท่าน เพราะไม่ไกลหมู่บ้าน พอมาพอไปหากันได้สะดวก เช่นพระคณท่านจะมาบิณฑบาตก็ไม่ไกล ผมจะไปนมัสการบ้างก็ไม่ยาก”

พ อท่านผู้ใหญ่บ้านเว้นระยะคำพูด เพื่อฟังความเห็นของพระ คนใจบุญหลายท่านก็ช่วยกันเสริมอีกว่า “อย่าลังเลใจเลยพระคุณท่าน นิมนต์อยู่เสียที่นี่แหละ ถ้าพระคุณท่านอยู่ พวกผมจะได้มีโอกาสถวายทานรักษาศีล และฟังธรรมในสำนักพระคุณท่านบ้าง”

เ มื่อพูดถูกใจเช่นนั้น พระทุกรูปก็ยินดี ครั้นท่านอาจารย์ผู้นำคณะเห็นเพื่อนพระพอใจอยู่เป็นเอกฉันท์ ก็รับนิมนต์ของขาวบ้าน พากันไปอยู่ในไพรสณฑ์ ตามความผาสุก

ค รั้งนั้น เทวดาพวกเจ้าป่าเจ้าเขาในไพรสณฑ์นั้น ซุบซิบกันว่า “ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้มีศีล เมื่อเข้ามาพำนักอยู่จะทำให้เราลำบากในการย้ายที่ ด้วยเราจะอยู่ข้างบนก็ไม่ควร จะอยู่ข้างล่างก็ลำบาก จะทำอย่างไรดีหนอ”

ท่านไม่อยู่นานหรอกน่า” เทพย์ตนหนึ่งออกความเห็น คงจะอยู่รับฉลองศรัทธาของชาวบ้านนี้ สักวันสองวันก็คงจะไป” เทพย์ตนหนึ่ง ตัดบทว่า

คอยดูไปก็แล้วกัน จะมาปรารมภ์ไปก่อนทำไม”

ค รั้งล่วงไปสองสามวัน เทวดายังไม่เห็นทีท่าว่าพระจะไปจากที่นั้นเลย ตรงข้ามกลับเห็นทำทีว่า จะอยู่กันแรมปี ดังนั้น ก็ตกใจ พากันปรับทุกข์ว่า “ไม่ไหวแล้ว ต่อไปนี้ พวกเราจะไม่มีความสุข”

อะไร ทำขี้แยไปได้” เทพย์ตนหนึ่งพูดระงับเสียงบ่น

แล้วจะทำอย่างไร” อีกตนหนึ่งกล่าวเป็นเชิงหารือ

เราจะให้ท่านไปเสียก็หมดเรื่อง เมื่อเราไม่พอใจให้ท่านอยู่”

จะทำอย่างไร ท่านจึงจะไปเล่า ข้าพเจ้าต้องการทราบ”

เ อาอย่างนี้ก็แล้วกัน” เทพย์ตนนั้นออกความเห็น “ คือพวกเราช่วยกันแสดงอาการเป็นภูตผี หลอกหลอนให้หลายๆอย่าง ทุกอย่างที่จะทำให้พระเหล่านี้กลัว เห็นเป็นภัย อยู่ไม่มีความสุข ผลเดือดร้อนก็ประจักษ์แก่พระทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเทพย์เหล่านั้นทันที

ผ มไม่สบาย ไอเหลือเกิน” รูปหนึ่งกล่าว “ผมก็จามไม่หยุด ผมก็นอนไม่หลับ ผมถูกผีหลอก เห็นเดินผ่านมาไม่มีหัว เมื่อกี้เห็นผีกระพันธ์ น่ากลัวเหลือเกิน” รูปหนึ่งว่า “ที่ชายป่าโน้น เสียงอมนุษย์ร้อยโหยหวล น่าหวาดเสียว เสียงเยือกเย็น ขนลุกขนพอง”

พระทั้งหลายนั่งไม่ติด อยู่ตามลำพังไม่ได้ งานกัมมัฏฐานล้ม ต้องเลี่ยงเข้ามาจับกลุ่มซุบซิบกัน

พ วกเราอยู่ไม่ได้แน่ ถ้าเป็นรูปนี้ ขืนอยู่ก็จะตกใจตายเท่านั้น” เมื่อพระทั้งหมดสิ้นศรัทธาอยู่เช่นนั้น ก็พร้อมกันลาชาวบ้านตำบลนั้นกลับพระนครสาวัตถี เข้าเฝ้าถวายบังคมพระบรมศาสดา

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “เธอเพิ่งไปไม่นาน ไฉนรีบกลับกันมาเสียเล่าภิกษุ”

ไม่มีความสุขพระเจ้าข้า”

บิณฑบาตลำบากหรือ” ทรงรับสั่งด้วยความเอ็นดู

มิได้พระเจ้าข้า บิณฑบาตสะดวก แต่ภูติผีปีศาจรบกวนเหลือทน จึงรีบกลับ”

พระบรมศาสดารับสั่งว่า “ ควรจะไปอยู่ที่นั่นแหละภิกษุ เมื่อเสนาสนะและอาหารเป็นที่สะดวกสบายดีแล้ว”

ไม่กล้าพระเจ้าข้า”

ไปเถอะภิกษุ” ทรงรับสั่งด้วยความปรานี “ตถาคตจะให้อาวุธ เมื่อเธอถืออาวุธของตถาคตไปอยู่ที่นั่นแล้วจะมีความสุข”

ค รั้นทรงเห็นภิกษุทั้งหลายพอใจ ในอาวุธที่จะประทาน และเกิดความอาจหาญจะกลับไปอยู่ในไพรสณฑ์นั้นอีก ก็ประทานกรณียเมตตสูตรให้พระเหล่านั้นเรียน จนขื้นปากขึ้นใจแล้ว ทรงรับสั่งว่า

ไปเถอะ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไปถึงแล้วจงตั้งเมตตาจิต ปฏิบัติตามที่ตถาคตบอกให้ทุกประการ”

ภ ิกษุทั้งหลายชื่นใจ ในพระมหากรุณาที่ทรงประทาน พากันถวายบังคมลา จาริกไปยังไพรสณฑ์นั้นอีก แต่ก่อนจะเข้าถึงประตูป่า พระทั้งหมด ก็ตั้งกัลยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ เจริญพระพุทธมนต์ กรณียเมตตสูตร อันเป็นอาวุธพิเศษที่พระศาสดาประทานมา แม้เมื่อเข้าไปในไพรสณฑ์ ก็เจริญพุทธมนต์นี้อีก

ด ้วยอานุภาพ กรณียเมตตสูตร ที่พระทั้งหลายเจริญในเวลานั้น ได้ทำให้เหล่าเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขา มีใจเมตตารักใคร่พระทั้งหลาย พากันออกมาต้อนรับด้วยเพศอุบาสกอุบาสิกาเป็นอันดี ทั้งยังช่วยให้ความอารักขาอีกด้วย ทุกอย่างสงบเรียบร้อยที่สุด แม้เสียงร้อนอันก่อให้เกิดความรำคาญก็ไม่มีแม้แต่น้อย

ภิกษุทั้งหลายได้ความสงัด อันเป็นทางแห่งความสงบ เจริญกัมมัฏฐานอยู่ไม่นาน ก็บรรลุผลที่ปรารถนาทุกรูป ฯ.

————————————–

ศีล ๕

จะดัดแปลง แต่งอันใด แต่งไปเถิด

แต่อย่าเกิด ดัดแปลง แต่งศีลห้า

ลดให้หย่อน ผ่อนให้เขา เพลาลงมา

หน่อยเมื่อหน้า จะเข้าใจ ภัยร้ายเอย.

ธรรมสาธก

(บรรยาย ๕ ตุลาคม ๒๔๙๗)

กาลทานสูตร

ตำนานกาลทานสูตร

อ นุโมทนากถา กาลทานสูตร นี้เป็นบทพระพุทธมนต์อนุโมทนาแก่ผู้บริจาคทานตามกาล เป็นพิเศษ จะได้บรรยายถึงมูลเหตุแห่งมนต์บทนี้ เพื่อเจริญศรัทธาสัมมาปฏิบัติของทุกท่านที่ใคร่ธรรมก่อน ทั้งเพื่อเป็นวิทยาภรณ์ของธรรมจารีชนสืบไป เรื่องมีว่า

ใ นสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่กุฏาคารศาลาป่ามหาวัน แคว้นพระนครไพสาลี ประทานอนุสาสนีพุทโธวาทประสาธน์มรรคผล ให้สำเร็จแก่พุทธเวไนย ทรงประทานพรหมจรรย์แก่ผู้มีเสื่อมใสเป็นพิเศษ เพื่อให้บรรลุอจลเขตปฏิสัมภิทา ทรงเผยเกียรติคุณของพระศาสนา ให้รุ่งเรืองไพศาลเป็นพิเศษปลุกประชาสัตว์ให้ตื่นจากสรรพกิเลสนิทรา จึงประชาชนพากันเคารพบูชาและปฏิบัติดำเนิน โดยหยั่งเห็นเป็นคุณเครื่องจำเริญประโยชน์สุขทั้งภพนี้และภพหน้า

ค รั้งนั้น สีหะเสนาบดี มีศรัทธา ได้เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับโดยควรแก่โอกาส น้อมเศียรถวายอภิวาทแล้วกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระมหากรุณาธิคุณโลกนาถ พระองค์ยังจะทรงสามารถบัญญัติแสดงให้เห็นชัด ถึงผลทานในปัจจุบันนี้ทันตาเห็น ได้หรือไม่ พระเจ้าข้า”

ส มเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า “สีหะ ตถาคตสามารถบัญญัติให้เธอรู้เห็นชัดในปัจจุบันทันตาเห็นได้ จงตั้งใจสดับ ท่านสีหะ อันคนผู้เป็นทานบดี คือเจ้าของทาน มิใจชื่นบานยินดีสละให้ ย่อมเป็นที่รักใคร่ ชอบใจของหมู่ชนเป็นอันมาก นี้เป็นผลในปัจจุบันข้อหนึ่ง”

ท ่านสีหะ ยังมีอีก คือ คนที่ยินดีสละให้นั้น ย่อมได้รับการคบหาสมาคมจากคนดี อัธยาศัยดี สงบเรียบร้อยทั่วไป คนดีทั้งหลายพอใจไปมาหาสู่อยู่ร่วม นี้เป็นผลในปัจจุบันข้อหนึ่ง”

สีหะ ยังมีอีก เกียรติศัพท์ ชื่อเสียงอันดีของทานบดี ผู้ที่ยินดีสละให้ ย่อมฟุ้งขจ รไปไกล นี้เป็นผลทานในปัจจุบันข้อหนึ่ง

ท่านสีหะ ยังมีอีก หากว่า ทานบดี คนที่ยินดีสละให้ จะเข้าสู่สมาคมใด ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์,พราหมณ์ หรือ คหบดี หรือแม้สมณะ ย่อมจะองอาจ ไม่สะทกสะท้านเก้อเขินแต่ประการใด นี้เป็นผลทานในปัจจุบันข้อหนึ่ง”

ท ่านสีหะ ใช่ว่าผลทานจะสิ้นสุดอานุภาพในการให้ผลแก่ผู้บริจาคในปัจจุบันเพียงเท่านั้น ก็หาไม่ เมื่อผู้บริจาคแตกกายทำลายขันธ์แล้ว ยังจะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์อีก”

ท ่านสีหะเสนาบดีได้สดับพระพุทธโอวาทจบลงด้วยความปลาบปลื้มประกาศความเชื่อมั่ นต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตนเป็นทั้งทายก เป็นทั้งทานบดี คือ เป็นทั้งผู้ให้ทาน และเป็นเจ้าของทานด้วย ถวายอภิวาทกระทำปทักษิณแล้ว กลับคืนนิเวศน์ของท่าน

พ ระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ทรงแสดงกาลทานแก่ ภิกษุ ทั้งหลาย สืบไปว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีปัญญา จักรู้ถ้อยคำของคนร้องขอความกรุณาบอกความต้องการ ผู้ปราศจากความตระหนี่ ย่อมบริจาคทานให้ทานที่ควรบริจาค กาลทานที่บุคคลบริจาคแล้วด้วยจิตเลื่อมใสมีผลไพบูลย์ แม้คนที่ช่วยเหลือในการบริจาค ที่สุดคนที่ทราบเรื่องแล้ว พลอยอนุโมทนาทานในการบริจาคนั้นด้วยความเลื่อมใส ก็มีส่วนพลอยได้บุญด้วยมาก เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรมีความกินแหนงแคลงใจในการบริจาค พึงห้ามความท้อแท้และพึงบริจาค ทานที่บริจาคแล้วนั้น มีผลมากนัก”

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน คือ ทานที่บริจาคในฤดูกาลที่นิยมนี้ มี ๕ อย่างคือ ๑. อาคันตุกทาน ทานสำหรับบริจาคแก่ผู้เดินทางมาถึงถิ่นเรา ๒. คมิกทาน ทานบริจาคแก่ผู้เตรียมตัวจะเดินทางไกล ๓. ท ุพภิกขทาน ทานบริจาคในคราวเกิดทุพภิกขภัย คือในสมัยข้าวยากหมากแพง ในคราวประชาชนอดหยากลำบากด้วยอาหารเพราะฝนแล้ง ข้าวตาย คนอดหยากมาก แม้ประสบภัยจากน้ำท่วม ลมร้ายไฟไหม้ ก็นับเข้าในข้อนี้ ๔. นวผลทาน ทานบริจาคในคราวมีผลไม้ใหม่ในปีหนึ่งๆ เช่น สลากภัตมะม่วง เป็นต้น ๕. นวสัสสทาน ทานบริจาคในคราวข้าวกล้าในนาแรกเกิดผล ในเวลาต่างๆกัน รวม ๙ ครั้ง คือ

. สาลิคพฺพคฺคํ ในคราวแรกรวงข้าวกล้าเป็นน้ำนม ( นิยมเรียกว่า ยาคู )

.ปุถุคฺคํ ในคราวข้าวเป็นข้าวเม่า

. สายนคฺคํ ในคราวเกี่ยว

. เวณิคฺคํ ในคราวทำคะเน็ด

. กลาปคฺคํ ในคราวมัดฟ่อน

. ปลคฺคํ ในคราวขนเข้าลาน

. ภณฺฑคฺคํ ในคราวทำลอมข้าว

. โกฏฐคฺคํ ในคราวขนเข้ายุ้งฉาง

. อุกฺขลิกคฺคํ ในคราวหุงข้าวใหม่

ก าลทาน ทั้ง ๕ นี้ ที่บุคคลมีปัญญา มีศรัทธา บริจาคในท่านผู้มีศีลทั้งหลาย ย่อมมีผลมากยิ่งแล เมื่อสิ้นกระแสพระโอวาทแล้ว ได้ตรัสคำเป็นอนุโมทนากถา รวม ๓ คาถาครึ่ง มีคำว่า กาเล ททนฺติ เป็นต้น

ส ำหรับกาลทานในเรื่องถวายเนื่องด้วยข้าว รวม ๙ ครั้งนี้ มีเรื่องที่พรรณนาถึงผลของกาลทาน ที่คนใจบุญได้พยายามทำ ว่ามีผลมาก และได้รับผลก่อนผู้อื่น เพราะคนทำก่อนย่อมได้ผลก่อน คนทำภายหลัง ย่อมได้ผลภายหลัง เรื่องมีว่า ในศาสนาของพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า ครั้งนั้นมีคหบดีสองพี่น้อง ผู้พี่มีนามว่า มหากาล ผู้น้องมีนามว่า จุลกาล เป็นผู้มีหลักฐานในกสิกรรม ทำนาเป็นอาชีพ โดยชอบโดยกาล มีวิริยะอุตสาหะไม่เกียจคร้านในงานเฉพาะหน้า สมัยหนึ่งได้เริ่มทำนา เมื่อข้าวกล้าได้น้ำท่า และได้รับการรักษาด้วยดีก็งดงามเสมอกันหมด ครั้นข้าวในนาออกรวง เริ่มมีน้ำนมแล้ว ท่านคหบดีจุลกาล จึงดำริว่า อันน้ำนมในเมล็ด ในระยะกาลนี้ มีโอชารส ถ้าเราจะเอามาบดบีบคั้นเอาแต่น้ำนมและผสมปรุงด้วยน้ำตาลกรวด ก็จะมีรสหวาน เป็นอาหารอันเอมโอชอันล้ำค่า แล้วน้อมถวายแต่พระบรมศาสดาพระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นดีแท้จึงจัดการทดลองโดยเกี่ยวเอารวงข้าวที่กำลังเป็นน้ำนม ในเขตนามา บ้านครั้นท่านมหากาลผู้พี่ชาย เห็นเข้าก็ไม่ชอบใจ และห้ามปรามทัดทาน แต่ท่านจุลกาลไม่ยินยอม ในที่สุดได้ตกลงแบ่งนาทั้งสิ้นออกเป็นคนละส่วนไม่รวมกัน เพี่อให้สิทธิในอันที่จะทำกิจนั้นๆได้ตามประสงค์ โดยควรแก่อัธยาศัย ท่านจุลกาล มีความยินดีในอันจะได้บำเพ็ญบุญดังมโนรถจึงได้เรียกคนเข้าช่วยจัดตัดเอาแต่ร วงข้าวที่เป็นน้ำนม เอามาคั้นปรุงเป็นข้าวยาคู อย่างโอชารส พอควรแก่พระสงฆ์ และน้อมถวายพระพุทธองค์ พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้าและสาวกด้วยความเลื่อมใส และได้อธิษฐานไว้ว่าต่อไปในเบื้องหน้า ขอให้ข้าได้บรรลุโมกขธรรมก่อนกว่าใครๆในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกา ลข้างหน้าโน้นเถิด

ส ่วนท่านมหากาลไม่เลื่อมใส ไม่พอใจในการกระทำของน้อง ปล่อยให้ท่านจุลกาลบำเพ็ญบุญกาลทานในผลของข้าวในนา รวม ๙ ครั้งตามลำพัง มิได้เข้าช่วยเหลือร่วมแรง แม้แต่จิตจะอนุโมทนาก็ไม่มี เพราะไม่มีความยินดีแล้วแต่ต้น ได้มาบำเพ็ญบุญสำหรับตนต่อกาลภายหลัง

ด ังนั้น ครั้นท่านทั้งสองวายชนม์แล้ว ก็ไปสุคติสวรรค์ด้วยบุญกรรมนั้นๆ อำนวยให้ ประสบสุขตามวิสัย โดยควรแก่กาล ครั้นมาบังเกิดในภัทรกัปป์นี้ ด้วยอานุภาพของกาลทานของท่านจุลกาลที่ได้บำเพ็ญในครั้งนั้น ได้นำให้ท่านมาเกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ได้สดับธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ได้สำเร็จอริยผล เป็นพระสงฆ์อริยเจ้าก่อนผู้อื่นทั้งหมดสมดังมโนรถที่ปรารถนาไว้ในคราวถวายข้ าวยาคู ซึ่งปรุงขึ้นด้วยข้าวน้ำนมในศาสนาพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า

ส ่วนท่านมหากาล ได้มาบังเกิดเป็นพระสุภัททะ ได้ฟังธรรมของพระสัมพุทธเจ้าในเวลาที่พระองค์ใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน เมื่องกุสินารา ได้เป็นอรหันต์องค์สุดท้าย ด้วยกุศลที่ถวายทานในกาลภายหลัง ด้วยประการฉะนี้

ส ำหรับอนุโมทนากถานี้ พระสงฆ์ได้นิยมสวดเป็นคาถาอนุโมทนาในงานถวายกาลทาน ตามที่ประจักษ์อยู่เป็นประจำโดยมาก ก็งานทอดกฐิน ด้วยผ้ากฐินเป็นผ้ากาลจีวร คือ จีวรที่ทายกจัดถวายพระสงฆ์ในจีวรกาล ตามพระบรมพุทธานุญาตที่ทรงบัญญัติ จัดเข้าในกาลทานโดยแท้ กับงานถวายสลากภัตต่างๆ เช่น สลากภัตมะม่วง สลากภัตทุเรียน เป็นต้น ก็นิยมใช้กาลทานสูตรสวดอนโมทนาทั่วกันในสังฆมณฑล

เ พราะฉะนั้น ขอสาธุชนผู้ใคร่บุญ ไม่พึงประมาทในโอกาสที่บำเพ็ญกาลทาน ควรจะมีใจเบิกบานร่วมบำเพ็ญกุศล หรือไม่ก็เข้าช่วยเหลือด้วยกำลังของตนตามสามารถ ที่สุดหากไม่เป็นโอกาส ก็ควรตั้งใจอนุโมทนาสาธุการ จักได้มีส่วนบุญในกาลทานนั้นๆ ตามควรแก่วิสัยในกำลังบุญกุศล เพื่อเพิ่มพูนบุญบารมีของตนให้ไพศาล ขอยุติข้อความในเรื่องกาลทานแต่เพียงนี้

—————————–

(บรรยาย ๑๔ สิงหาคม ๒๔๙๙)

ขันธปริตร

ตำนานขันธปริตร

ข ันธปริตร เป็นมนต์บทที่ ๔ ใน ๗ ตำนาน ต่อจากเมตตสูตร อันเป็นมนต์บทที่ ๓ ใจความในเมตตสูตรนั้น แสดงถึงการแผ่เมตตาโดยเฉพาะในภูตผีปีศาจที่ดุร้าย ตลอดเจ้าป่าเจ้าเขา แต่สำหรับขันธปริตรนี้ เป็นเรื่องที่พระบรมศาสดาสอนให้แผ่เมตตาเหมือนกัน แต่โดยเฉพาะให้แผ่เมตตาไปในอสรพิษ คือ งูเงี้ยวที่ดุร้าย

เมื่อกล่าวถึงเรื่องงูร้ายแล้ว ชวนให้นึกถึงความยำเกรง และความนับถือ บูชา งูร้ายหรือพญางู ของชาวอินเดีย

ใ นสมัยก่อนพุทธกาล ปรากฏว่า ประชาชนยำเกรงนับถืองูกันจริงๆ คนที่มีอานุภาพ เป็นที่เกรงขามของคน จะต้องบังคับงู เลี้ยงงูร้ายได้เชื่อง ใช้งูร้ายเป็นเครื่องส่งเสริมอานุภาพ ให้เป็นที่เกรงขาม สามารถทำให้มหาชนเห็นว่า แม้แต่พญางูยังยำเกรง มีกล่าวไว้ในเรื่องต่างๆมาก เช่น เรื่องรามเกียรติ์ พระนารายณ์มีพญางูเป็นบัลลังก์ คราวเสด็จผทมสินธุ์ก็ผทมเหนือหลังงูใหญ่ ในประเทศอินเดีย จะหาชมภาพเหล่านี้ได้ไม่ยาก แม้ในประเทศเรา จะไปชมได้ที่บ้านผทมสินธุ์ ถนนพิษณุโลก และที่กรมตำรวจปทุมวัน แต่ทั้งสองแห่งนี้ เป็นรูปหล่อ ที่บ้านผทมสินธุ์ เป็นภาพผทมสมชื่อ แต่ที่กรมตำรวจเป็นภาพยืนบนหลังงูใหญ่ ในคตโบสถ์วัดพระแก้ว ( วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ในพระบรมมหาราชวัง เป็นภาพเขียน

ใ นพระพุทธศาสนา มีเรื่องพระภูริทัต ในทศชาติ ก็เป็นพญางูได้รับยกขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์เป็นพิเศษ เพราะเป็นชาติที่ใกล้จะตรัสรู้บำเพ็ญศีลอุปบารมีเป็นเยี่ยม ในมหานิบาต ไม่ปรากฏว่า ยกสัตว์เดียรัจฉานจำพวกอื่นเป็นพระโพธิสัตว์เลย เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์

แม้ในสมัยพุทธกาล ปรากฏว่า การนับถือพญางูที่ยังนิยมกันอยู่เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับพระบรมศาสดา ก็มีหลายตอน คือ

. ในตอนตรัสรู้ คราวเสด็จประทับที่ร่มไม้จิก ฝนตก ๗ วัน ๗ คืน พญางูมุจลินท์มีความเลื่อมใส มาทำขนดแผ่พังพานกันลมกันฝนถวายตลอดเวลา

. ใ นคราวเสด็จโปรดอุรุเวลกัสสป พร้อมด้วยชฎิล ๕๐๐ ก็ได้ทรงบังคับพญานาคราชที่โรงไฟ อันเป็นที่ยำเกรงของชฎิลทั้งหมด ให้ขดลงในบาตร แสดงให้ชฎิลเห็นอานุภาพ แล้วเคารพนับถือ ซึ่งเป็นปฏิหาริย์ครั้งแรก ที่ทรงแสดงให้เห็นเป็นอัศจรรย์

. ค ราวเสด็จไปโปรดอัคคิทัตฤๅษี พร้อมด้วยบริวาร ก็ได้ทรงให้พระมหาโมคคัลลานะไปทรมานพญางูอหิฉัตตะ ซึ่งเป็นที่นับถือของฤๅษีเหล่านั้นให้หมดพยศยอมอยู่ในอำนาจ ทำให้ฤๅษีเห็นเป็นอัศจรรย์ ยอมนับถือบูชา

. ค ราวทรมานพญางูนันโทปนันทะ ซึ่งดุร้าย ปรากฏว่าเป็นที่เกรงขามทั้งมนุษย์และเทวดา ให้หมดพยศลดความดุร้าย ได้ผลเป็นอัศจรรย์ เรียกร้องความเชื่อความเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา จากมหาชนเป็นอันมาก

. เ มื่อพระเทวทัตแสวงหาอำนาจ คราวใช้อุบายเอาอชาตสัตตุราชกุมารเข้ามาเป็นศิษย์ ก็จำแลงรูปเป็นมานพหนุ่มน้อย แต่มีงูร้ายเป็นสังวาลพันตัว น่าเกรงขาม เข้าไปหาอชาตสัตตุราชกุมารถึงในที่ประทับ พระราชกุมารก็เลื่อมใส ยำเกรง ยอมตนเป็นศิษย์ทันที

. ม นอาฏานาฏิยสูตร ก็แสดงถึงน่านน้ำในมหาสมุทรทั้งหลาย เป็นผืนน้ำที่ใหญ่ยิ่งกว่าผืนดิน น่านน้ำท ั้งหมดนั้น ก็มีพญางูวิรูปักข์เป็นใหญ่ปกครอง มีอานุภาพเป็นที่เกรงขามของมวลสัตว์น้ำสิ้นเชิง

ท ราบว่า แม้ในปัจจุบันนี้ ในประเทศอินเดีย ชาวฮินดูก็ยังนับถือเลื่อมใสในอานุภาพของงูร้ายอยู่ไม่น้อย เขาไม่พอใจทำร้าย ดูเหมือนในที่อื่น วิธีนี้เข้ากับแนวพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง ที่สอนไม่ให้ทำร้ายสัตว์ ตรัสสอนให้แผ่เมตตาจิตในสัตว์ร้าย เช่น งูร้าย เป็นต้น หากมีความกลัวงูร้ายจะขบกัด พระบรมศาสดาก็ตรัสมนต์ป้องกันงูร้ายประทานไว้ด้วย เรียกว่า ขันธปริตร แปลว่า มนต์ป้องกันตัว ขันธปริตรนี้ เป็นนิคมคาถามาในบาลีอหิราชสูตร พระสูตรนี้ มีตำนานเล่าไว้ว่า

ส มัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูร้ายกัด และมรณภาพลงด้วยพิษงูนั้น ข่าวนี้ได้กระทำให้พระเป็นอันมากสดุ้งกลัวต่อภัยนี้ พร้อมกับสลดใจในมรณภาพของภิกษุรูปนั้น ดังนั้น จึงพร้อมกันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดายังที่ประทับ แล้วกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ พระบรมศาสดาทรงรับสั่งว่า “ ภิกษุทั้งหลาย งูไม่น่าจะกัดพระ เพราะโดยปกติ พระย่อมอยู่ด้วยเมตตา ชรอยพระรูปนั้นจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังพญางูทั้ง ๔ เหล่าเป็นแน่แท้ จึงต้องทำกาลกิริยาด้วยพิษงูร้าย”

หากภิกษุจึงพึงแผ่เมตตาไปในพญางูทั้ง ๔ ตระกูลแล้ว เธอจะไม่ถูกงูประทุษร้ายเลย

ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นั้น คือ ตระกูลวิรูปักข์ ตระกูลเอราบท ตระกูลฉัพยาบุตร และตระกูลกัณหาโคตมะ

ภ ิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตัว เพื่อป้องกันตัวต่อไป” ครั้นรับสั่งดังนี้แล้ว จึงได้ตรัส ขันธปริตร มนต์ป้องกันตัว ประทานภิกษุทั้งหลาย

จ ำเดิมแต่นั้นมา ขันธปริตร ก็เกิดเป็นมนต์ศักดิ์สิทธิ์ป้องกันชีวิตให้บุคคลที่มีใจมั่นคง กอร์ปด้วยเมตตาจิตตั้งใจภาวนา พ้นจากการบีฑาของเหล่างูร้าย สัตว์ร้าย ตลอดถึงภูตผีที่ดุร้ายทุกสถาน ฯ.

———————————————————–

ถึงเรียนดี รู้ดีทวีงาน ถ้าใจพาลแล้วก็ร้าย ไม่ให้คุณ.

(บรรยาย ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๗)

ฉัททันตปริตร

ตำนานฉัททันตปริตร

ฉ ันทันตปริตร บทนี้ ไม่ปรากฏว่าใช้สวดตามบ้าน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีใดๆ มานานแล้ว สำหรับภายในวัดยังมีสวดกันบ้าง ก็น้อยเต็มที ทั้งนี้ เนื่องจากพระผู้สวดเห็นว่าไม่มีคนนิยม ก็เท่ากับไม่ให้ความสนับสนุนทางกำลังใจ ความพยายามท่องก็ไม่มี แม้เดิมจะท่องไว้ได้ เพราะความจริงก็ไม่มากอะไรนัก แต่ครั้งไม่ค่อยจะใช้สวด นานเข้าก็เลือน หลง ลืม ในที่สุดก็สวดไม่ได้

แ ต่เคราะห์ดีที่มนต์บทนี้ ยังเป็นที่นิยมของชาวป่าชาวเขาอยู่ แม้คนหัวบ้านหัวเมืองชั้นนอก ก็ยังนิยมท่องไว้บริกรรม ด้วยถือเป็นมนต์สำหรับเดินทางเข้าป่า ภาวนาป้องกันภัยพิบัติ ด้วยนิยมว่า พระปริตรบทนี้จะช่วยให้ปลอดภัย ไม่ประสบอันตราย ไม่พบเห็นสัตว์ร้าย อันจะทำให้ตื่น ตกใจกลัว คนเดินป่า มักนิยมไพร นับถือมาก โดยเฉพาะพรานป่า ต่อช้าง คล้องช้าง ต้อนช้างเข้าเพนียด สำหรับควานช้าง นับถือเป็นพิเศษ ใช้เป็นคาถาบังไพร คุ้มกันมิให้อันตรายใดๆ เบียดเบียน เรียกว่า ฉัทททันตปกาสิต ถือว่าพญาช้างฉัททันต์ซึ่งเป็นเจ้าป่าใหญ่ ห้ามมิให้สัตว์ร้ายทั้งหลายเบียดเบียนแล้ว ก็เป็นอันปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง ทั้งยังถือว่า เป็นมนต์กำบังนัยน์ตาสัตว์ มิให้สัตว์ทั้งหลายมองเห็นอีกด้วย เรียกว่า คาถาบังไพร เป็นมนต์สำคัญบทหนึ่ง

ดังนั้น พระโบราณาจารย์จึงยกขึ้นเป็นพระปริตรบทหนึ่ง ไว้ในมนต์ ๑๒ ตำนาน

ต ำนาน ฉัททันตปริตร หรือ เรื่องพญาช้างฉัททันต์ นี้ มาในฉัททันตชาดก เป็นเรื่องพิสดารยืดยาวมาก จินตกวีไทย ทั้งเหนือและใต้ ได้ร้อยกรองเป็นวรรณคดีไว้ไพเราะยิ่งนัก ในสมัยก่อน พวกมหรสพ ทั้งนาฏศิลป์และนาฏดนตรี เคยได้นำออกแสดงให้คนชมเสมอ ปรากฏว่า เป็นเรื่องที่อยู่ในความนิยมไม่น้อย พอได้ยินเสียงว่า พญาฉัททันต์ ก็รู้ว่าเป็นเรื่องของพญาช้างสำคัญ เป็นพญาช้างบรมโพธิสัตว์ แม้พวกขอทานจำพวกวณิพก มีเพียงกลองกับฉิ่ง สองคนผัวเมียก็ชอบเอาเรื่องนี้ไปร้องตามหมู่บ้าน บางหมู่บ้านพอใจฟัง ชวนกันขอให้ร้องให้ฟังจนจบเรื่อง แล้วให้รางวัลจนพอใจ มาบัดนี้ดูหายไป คนรุ่นนี้เห็นจะมีรู้จักกันน้อยคน

จ ะได้นำเรื่องพญาฉัททันต์ เจ้าของคาถาบทนี้มาเล่าพอเป็นเครื่องประดับความรู้ แต่จะขอเล่าพอได้ความ ผู้ประสงค์จะทราบเรื่องราวโดยพิสดาร โปรดไปดูหนังสือฉัททันตชาดกนั้นเถิด เรื่องมีว่า

ค รั้นนั้น ช้างโขลงใหญ่มีจำนวนมาก อาศัยอยู่ในป่าใกล้สระฉัททันต์ในป่าหิมพานต์ ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นช้าง เป็นบุตรช้างจ่าโขลง สีกายเผือกผ่องงาม มีร่างกายสูงใหญ่ งาทั้งคู่ก็งาม มีกำลังเหนือช้างทั้งหลาย เมื่อบิดาสิ้นอายุแล้ว ได้รับยกย่องจากช้างทั้งหลายให้เป็นพญาช้าง จ่าแห่งโขลงนั้น เพราะเป็นเจ้าแห่งโขลงช้างในเขตแคว้นสระฉัททันต์ จึงได้นามว่า พญาฉัททันต์

พญาช้างฉัททันต์ นั้น มีนา งช้างเป็นชายา ๒ เชือก ชื่อว่า มหาสุภัททา เชือกหนึ่ง ชื่อว่า จุลสุภัททา เชือกหนึ่ง ความน้อยเนื้อต่ำใจตามวิสัยของเมียน้อยเมียหลวง ก็มีในนามช้างทั้งสองนั้นเป็นประจำ วันหนึ่งพญาฉัททันต์หักพวงมะม่วงมีผลงาม ๒ พวง ประทานแก่ชายาทั้งสอง บังเอิญพวงที่ประทานแก่จุลสุภัททามีมดแดงติดไปโดยไม่ทันเห็น ทำให้มดแดงกัดจุลสุภัททา แม้จะไม่มาก แต่เพราะนางจุลสุภัททา มีสันดานมากด้วยโทสะ คิดไปว่าสามีลำเอียงแกล้ง ก็ผูกอาฆาตคิดตรอมใจ แม้พญาฉัททันต์จะเล้าโลมต่างๆนานา ขอให้อดโทษ นางก็ไม่ใยดีและไม่ปรารถนาจะคืนดีเพราะความแค้นไม่กินน้ำกินหญ้า ภายหลังนางจุลภัททาก็ล้มเจ็บ และในที่สุดก็ตายในเร็ววัน แต่ด้วยอานิสงส์ที่นางได้ถวายผลไม้พระปัจเจกพุทธเจ้าได้นำให้นางไปบังเกิดเป ็นพระราชธิดาของกษัตริย์มัททราช มีรูปโฉมโนมพรรณงามยิ่งนัก พระบิดาขนานนามว่า สุภัทราราชกัญญา ครั้งนางเจริญวัยแล้ว พระเจ้ามัททราชได้ส่งไปถวายเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี

น ับแต่นางสุภัทราเกิดมา พอมีความรู้สึกเดียงสา นางก็รำลึกชาติหนหลังเมื่อครั้งเป็นนางช้างอย่างแจ่มชัดทุกประการ ระลึกเห็นที่อยู่และเพื่อนฝูงช้างตลอดจนพญาฉัททันต์ผู้เป็นสามีได้ ที่สุดแม้การกระทำของสามี ที่ทำให้พระนางโกรธแค้น ครั้นนึกได้แล้ว กำลังแห่งความอาฆาตพยาบาทและทวีแรงโหมนางเคียดแค้นทันที ดังนั้น พระนางสุภัทราจึงแสร้งทำประชวร แม้พระราชสามีรับสั่งถาม ก็ทูลว่าแพ้พระครรภ์ต้องการช้างพญาฉัททันต์ พระเจ้าพาราณสีต้องประชุมพรานป่าทั้งหมดในที่สุดก็คัดได้พราน โสณุตดร ที่มีความสามารถเป็นพิเศษ เดินทางไปตามแนวมรรคาตามแผนที่ซึ่งพระนางชี้แจง ได้พยายามฆ่าพญาฉัททันต์เป็นเวลาหลายปี แต่แล้วก็คิดอุบายได้ โดยพยายามลักจีวรของพระปัจเจกพุทธเจ้า คลุมร่างพรางความชั่วร้ายของตน ด้วยช้างทั้งหลายในไพรนั้น เคารพบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า เห็นพรานโสณุตดรเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าไป จึงวางใจให้พรานประกอบวิธีฆ่าพญาฉัททันต์จนสำเร็จ พญาฉัททันต์ต้องอาวุธปืนยาวของโสณุตดร แม้จะลำบากยากกายเพียงใด ก็ยังใช้งวงคว้าคอพรานร้ายไว้ได้ ตั้งใจจะเหยียบย่ำเสียให้ตาย แต่ครั้นเห็นผ้ากาสาวพัสตร์คลุมตัวอยู่ก็ละอายแก่ใจด้วยความเคารพ ซึ่งตระกูลฉัททันต์เคยเคารพมาก่อน จึงได้ตำหนิพราณโสณุตดรที่ประพฤติชั่วร้าย ใช้ผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นบริขารของท่านผู้ทรงศีล ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาดหุ้มห่อกาย อันไม่สมควรแก่ภาวะ ตลอดแก่การกระทำของพรานเลย ไม่ขวยแก่ใจ จัดเป็นบาปหนักมาก แล้วได้ถามถึงความประสงค์ที่ได้พยายามมาฆ่าพระองค์

พรานโสณุตดรได้เล่าถวายด้วยความกลัวตลอดทุกประการ

เ มื่อพญาฉัททันต์ ราชาแห่งโขลงช้างในป่าหิมพานต์ได้สดับคำพรานโสณุตดรเล่าให้ฟังก็สลดพระทัย รับสั่งว่าจริงอย่างแกเล่า โสณุตดร ถ้าไม่ใช่นางจุลสุภัททาชายาเดิมของฉันไปเกิด และด้วยความโกรธ ผูกอาฆาตทั้งระลึกชาติได้ แนะนำลู่ทางให้แกมาแล้ว อย่างไรแกจะรู้จักฉัน และเล็ดลอดมาถูก เป็นอันว่า พระนางพยายามให้แกฆ่าฉันจนสำเร็จ เพราะความพยาบาท โสณุตดรเอย ไม่ใช่เพราะแกผิดดอก ฉันอยากจะโทษว่า เพราะฉันเองต่างหากผิด เพราะความรักตัวการนั่นแหละร้ายกาจ เอ็นดูพระนางและเผลอไปโดยไม่ทันสังเกต ทำให้พระนางน้อยใจ โดยหาเจตนามิได้เลยและก็เพราะพระนางเองรักฉันไม่ใช่น้อย จึงน้อยใจ แค้นถึงอาฆาต และยอมตาย เพราะความรักอีกเช่นกัน และแล้วก็ไม่ลืม ผูกใจจะล้างผลาญฉัน จนแม้ไปเกิดเป็นอัครมเหสีแล้ว ก็ไม่ทอดทิ้งความอาฆาต ส่งเธอมาฆ่าฉันจนสำเร็จ ความรักนี้ร้ายกาจมาก สร้างเวร สร้างภัย ให้ชอกช้ำ เป็นทุกข์ ให้ฆ่ากันได้ถึงเช่นนี้ โสณุตดรเอย ฉันขอยุติแต่เพียงนี้แหละ โสณุตดร ลุกขึ้นเถอะ จงทอนงาของฉันทั้งสองข้างไปถวายพระนางชมให้สำเร็จตามที่ผูกใจเจ็บไว้ แล้วทูลพระนางว่า ฉันได้ล้มตายสมควรปรารถนาของพระนางแล้ว ครั้งสั่งแล้วก็หมอบกายลงให้พรานโสณุตดรเลื่อยงาทั้งสองข้าง แม้จะปวดร้าวทรมานเพียงใด ก็ทรงทนให้พรานโสณุตดรตัดงาด้วยเลื่อยจนสำเร็จ แล้วตรัสถามพรานโสณุตดรว่าแกพยายามดั้นด้นป่าข้ามภูเขามามากมายกว่าจะถึงฉัน เป็นเวลานานเท่าใด

กว่า ๗ ปีแล้ว พระเจ้าข้า” พรานโสณุตดรทูล

โ สณุตดร” พญาฉัททันต์รับสั่งต่อไป “ถ้าแกจะกลับทางเก่าแกอาจตายตามทาง เพราะภัย ซึ่งขณะนี้ช้างบริวารของฉันกำลังค้นหาตัวแก เพื่อจะฆ่าอยู่ทั่วไป ยังจะสัตว์ร้ายอื่นๆ อนึ่ง ภาระที่จะต้องหาบหามงาทั้งสองข้างก็หนักอยู่ไม่น้อย เอาเถอะฉันจะอนุเคราะห์ให้แกและพระนางสำเร็จความปรารถนาโดยเร็ว และให้ถึงพระนครพาราณสีน้อยวันที่สุดและให้ปลอดภัยทุกประการ แกจะไม่ต้องประสบภัย ต้องมัวไปหลบหลีกซ่อนเร้นแต่อย่างใดเลย รับสั่งแล้วก็ยกวงขึ้นจนบนกระพองพระเศียร ทรงอธิษฐานว่า “สลฺเลน วิทฺโธ พฺยถิโตปิ สนฺโต” เป็นอาทิ ความว่า “ เราถูกลูกศรเสียบแทงแล้ว แม้เวทนาจะครอบงำ ก็สงบใจ ไม่ประทุษร้ายในผู้ทรงผ้ากาสาวะ ถ้าคุณนี้เป็นความจริง ดังที่เราผู้เป็นหญาช้างได้ตั้งใจไว้แล้ว ขอบรรดาสัตว์ร้ายในป่า อย่าได้มากล้ำกรายผู้นี้เลย” เมื่อส่งพรานโสณุตดรไปแล้ว ก็ฟุบกายลงทำกาลกิริยาในขณะนั้น

พ รานโสณุตดรอภิวาทลาพญาฉัททันต์ ด้วยความเคารพ พร้อมด้วยระลึกถึงพระคุณของพญาฉัททันต์อยู่เป็นกำลัง ทั้งรู้สึกสลดใจ เสียดายที่พญาฉัททันต์ต้องถึงแก่ความตายด้วยน้ำมือของตน ทั้งด้วยบัญชาของนางสุภัทรา อัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ที่ทรงอาฆาตอย่างร้ายแรง พรานโสณุตดรพยายามเดินมาตามทางที่พญาฉัททันต์แนะนำเพียง ๗ วัน ก็มาถึงเมืองพาราณสีโดยสวัสดีทุกประการ และเอางาทั้งคู่ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระนางสุภัทรา ตามพระราชประสงค์ พร้อมทั้งคำสั่งของพญาฉัททันต์นั้นด้วย

เ มื่ออัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสีได้ทอดพระเนตรงาก็จำได้ ว่าเป็นงาของพญาฉัททันต์ พระสวามีของพระนาง ปลื้มพระทัย พระราชทานรางวัลแก่พรานไพรโสณุตดรมากมาย หมดความอาฆาต เพราะสมพระทัยแล้ว ความพยาบาทได้หยุดลง คงเหลือแต่ความรักเดิมของพระนางเมื่อเป็นนางช้าง คราวนี้ก็ครุ่นคิดถึงความรัก สงสารพญาฉัททันต์ พระสวามีที่รักที่ต้องตายเพราะพระนางเอง ทรงสลดพระทัย และตั้งหน้าแต่เศร้าโศก ด้วยเสียพระทัยที่ทำผิดไปอย่างมาก และในที่สุดก็สิ้นพระชนม์ชีพด้วยความตรอมพระทัยนั้นเอง

เ รื่องนี้แสดงว่า คำอธิษฐานของพญาฉัททันต์ได้เกิดศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระปริตรป้องกันภยันตรายเห็นประจักษ์ จึงเป็นที่นิยมและได้รับยกย่องของท่านผู้รู้ทั้งหลาย นับถือมนต์นี้เป็นพระปริตรสำคัญดังกล่าวแล้ว ฯ.

———————–

(บรรยาย ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๙๘)

ชยปริตร

ตำนานชยปริตร

ช ยปริตร นี้ เป็นมนต์พิเศษบทหนึ่ง แสดงถึงมงคลอันสูง อยู่ในท้ายมนต์แห่งพระปริตรทั้งมวล เป็นมนต์สำคัญที่นิยมสวดกันมาก สมควรจะศึกษาให้รู้กันให้ทั่งถึง

ช ยปริตร นั้น เนื้อหาก็คือ มหาการุณิโก แต่ตอนปลายมี ชยมงคลคาถา ซึ่งรู้กันทั่วไป สำหรับนักฟังสวดมนต์ว่า ชยมงคลคาถา ก็คือ ชยันโต พอได้ยินเสียงว่า ชยันโต เราก็ทึกทักว่า อ้อ! แ สดงว่า ฉันรู้แล้ว เข้าใจแล้ว ทันที แต่ที่จริงนั้นหารู้แท้ไม่ จะรู้ก็เพียงรู้ว่า ชยันโต สำหรับพระสวดให้ฤกษ์งาม ยามดี เป็นมงคล ในงานทุกอย่างที่ปรารถนาจะให้เป็นมงคล ตั้งต้นแต่ ตัดจุก แต่งงานสมรส ยกหอ ยกเสาเรือน ยกช่อฟ้า เปิดป้าย วางศิลาฤกษ์ สวดให้เป็นมงคล เป็นเกียรติแก่ผู้มีเกียรติ หรือผู้ใหญ่ที่มาถึงถิ่น เป็นการปฏิสันถารอย่างสูง สำหรับพระสงฆ์ทำปฏิสันถาร ที่สุดแม้จะบรรลุศพฮวงจุ๊ยก็ยังสวดชยันโต ซึ่งก็ยังถือเป็นมงคลอีก แม้ความจริงจะแน่ใจว่างานฮวงจุ๊ยไม่น่าจะเป็นงานมงคล แต่เจ้าภาพงานศพก็เห็นว่าสำคัญมาก ด้วยเป็นการสถาปนาเกียรติและความรุ่งเรืองของตระกูลด้วย มักจะเรียกตามภาษาจีน ซึ่งเรียกกันว่า ฮวด คือ เพื่อจะให้ฮวด คือให้เจริญแก่บุตรหลานสืบไป ซึ่งเป็นลัทธิที่นิยมของชาวจีนมาแต่โบราณ ตลอดแม้จนบัดนี้ เมื่อเจ้าภาพมุ่งทำฮวงจุ๊ยเป็นมงคล กิจการทุกอย่างก็กลายเป็นมงคลไป ดังนั้น พระสงฆ์ก็ต้องสวดชยันโต เป็นมงคลแก่งาน แก่เจ้าภาพ อนุโลมตามวัตถุประสงค์เดิม

ส รุปความได้ว่า ไม่ว่างานใด ถ้าเจ้าภาพจัดทำเพื่อเป็นมงคลแล้ว พระก็สวดชยันโตได้ทุกงาน ดังนั้น ชยันโต ชาวพุทธศาสนิกชนจึงรู้กันดีเป็นส่วนมาก ถ้าจะพูดว่า สวดชยมงคลคาถา ดูจะรู้กันน้อย ยิ่งพูดว่า สวดชยปริตร ก็ยิ่งจะไม่รู้กันทีเดียว

ค วามจริง เฉพาะ ชยปริตร ที่สวดท้ายพระปริตรทั้งมวลนั้น ก็นิยมสวดในพิธีใหญ่ คือ สวดมหาราชปริตร ซึ่งได้แก่ ๑๒ ตำนาน และแม้ใน มหาราชปริตร ก็สวดเฉพาะ มหาการุณิโก หาได้สวดชยันโต ด้วยไม่ ยกเอาชยันโตไปสวดตอนเช้า สวดต่อถวายพรพระ เพื่อเป็นมงคล เป็นฤกษ์ดี ยามดี ในพิธีนั้น เช่นทำพิธีโกนจุก โกนแกะเด็ก เป็นต้น

เ มื่อได้กล่าวสวดมนต์ชยันโตในพิธีต่างๆแล้ว สมควรจะกล่าวถึงความเข้าใจของเกจิอาจารย์ที่นิยมวิธีต่างๆไว้ด้วย ก่อนอื่นควรจะตั้งคำถามขึ้นว่า ถ้าเราได้รับเชิญให้เป็นผู้ไปตัดจุก หรือ เปิดป้าย วางศิลา เป็นต้น เหล่านี้ เราจะลงมือทำต่อเวลาไร คือ เวลาพระชยันโตถึงไหน จึงจะลงกรรไกรตัด หรือเปิดผ้าวางศิลากัน หรือทำได้ตั้งแต่พระสวดชยันโตทีเดียว นี้เป็นเรื่องน่ารู้อยู่

ค วามจริง ในงานต่างๆ ไม่ว่างานหลวงหรืองานราษฎร์มีความนิยมต่างกัน เฉพาะงานหลวง ดูเหมือนจะไม่มีการกำหนดทำนองนี้ไว้เลย เห็นมีแต่งานราษฏร์ ซึ่งมีกำหนดไว้ต่างๆกัน เท่าที่ทราบมาดังนี้ คือ

. ถ ้าตัดจุกหรือแกละเด็กชาย ผู้ตัดจะต้องเตรียมกรรไกรสอดผมคอยท่าทีเดียว พระสงฆ์ที่เข้าใจวิธีการนี้ให้โอกาสเสียด้วย คือ แม้จะสวด มหาการุณิโก ซึ่งเป็นมนต์ตอนต้น มาใกล้จะถึง ชยันโต พอเห็นผู้ตัดจุกยังเตรียมไม่พร้อม ก็หยุดสวดเพียงนั้น ต่อมาเมื่อเห็นเตรียมพร้อมแล้ว จึงสวดต่อ ขึ้น ชยันโต ไปจนถึงบท สีเส ซึ่งแปลว่า ศีรษะหรือหัว ก็ลงกรรไกรทันที ตัดจุกตรงนี้ ซึ่งผู้เป็นประธานตัดจุกจะต้องรู้ไว้ ในสถานที่นิยมเรื่องนี้

. ถ ้าตัดจุกหรือแกละเด็กหญิง จะลงกรรไกรต่อเมื่อพระสวดเลยไปถึงบทว่า พรหมจารี ซึ่งตามศัพท์มุ่งเอาผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เช่น พระสงฆ์ แต่เกจิอาจารย์แนะให้ลงกรรไกรตรงนี้ ท่านแปลของท่านว่า หญิงพรหมจารี หรือรุ่นสาว สาวบริสุทธิ์ เรื่องของท่านนิยมทำกันแม้จะไม่ตรงความหมายของพระบาลี แต่ก็ทำความรู้สึกให้เด็กหรือบิดามารดา ตลอดญาติมิตร ที่สุดแม้ผู้ตัดก็พลอยเห็นเป็นมงคล โดยตั้งใจให้เป็นมงคลจริงๆ ซึ่งความจริง ก็น่าจะอนุโลกด้วยความหวังดีของท่าน แม้แต่เหตุอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่นเจิมแป้งกระแจะ เป็นต้น เราก็ยังยอมทำตาม เพราะอย่างน้อยก็ยังเป็นบทเรียนให้รู้ว่า เขาตัดกันในขณะนั้น จะได้เตรียมตัวให้ทันเวลา ดีกว่าปล่อยให้ตัดกันตามความพอใจ โดยไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์อะไร ว่ากันเลอะ ไม่มีหลัก ไม่น่าดูสู้ของท่านไม่ได้ แต่ไม่ควรจะมากไปจนถึงกับว่า ถ้าไม่ตัดตรงนี้แล้วไม่เป็นมงคล หรือเกิดจัญไรกันขึ้นเลย เพราะความจริงชยันโตเป็นมงคลดีตลอดทั้งบทนั้นแหละ ขอให้นิยมแต่ว่า นิยมแบบ ทำตามแบบของท่านแหละดี เท่านั้นเป็นพอ

. ส ำหรับพิธีเปิดผ้า หรือวางศิลา เป็นต้น เห็นนิยมเปิดหรือวางในขณะที่พระสวดถึงบทว่า ชยมังคเล แปลว่า เวลาชัยมงคล นี้ชอบด้วยบทของมนต์ เห็นมีหลายท่านที่เปิดไม่ตรงกับแบบนี้ ท่านจะมีเคล็ดลับของท่านอื่นจากนี้อย่างไรไม่ทราบ แม้ถึงในข้อนี้ ก็ขอให้ยุติเช่นเดียวกับข้อ ๒ เถิด คือ เมื่อพร้อมกันตั้งใจให้เป็นมงคลดีแล้ว แม้จะคลาดเวลาไปเล็กน้อย หรือทำไม่ตรงแบบที่ตนนิยม ก็ไม่ควรจะเห็นเป็นเรื่องไม่ดีไม่งาม ถึงให้เกิดโทษแต่ประการใดเลย ผู้รู้จะแย้มสรวลว่างมงาย

ส ำหรับสาระสำคัญของ ชยปริตร นั้น ก็เพียงท่านเห็นว่า บรรดามงคลทั้งหลายแล้ว ไม่มีมงคลใดเสมอด้วยชัยมงคล ด้วยปรารภถึงเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงชำนะพญามารวสวดี ยังพญาวสวดีมาราธิราชให้พ่ายแพ้โดยธรรม โดยบารมี ซึ่งก่อให้เกิดอานุภาพยิ่งใหญ่ดังที่พุทธศาสนิกชนผู้รู้ทั้งหลาย แซร่ซร้องสาธุการ ตลอดเทพเจ้า ๑๖ ชั้นฟ้า ประกาศว่า พระองค์เป็นมารวิชัย ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน สมควรจะยกขึ้นประกาศเตือนให้เห็นตาม และเพื่อเป็นความดีความงามอย่างแท้จริง ซึ่งจะถือเป็นอานุภาพบำหราบภัยพิบัติอุปัทวันตรายได้ ดังข้อความที่ปรากฏในพระบาลีว่า

พ ระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ทรงกอร์ปด้วยพระมหากรุณา ยังพระบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อผลที่มุ่งหมาย เพื่อความสุขแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทรงบรรลุแล้วซึ่งพระสัมโพธิญาณอันอุดมด้วยสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

ข อท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมือนพระจอมมุนีทรงชำนะพญามารและเสนามาร ที่โคนไม้โพธิพฤกษ์ ถึงความสำเร็จผู้เป็นเลิศในพุทธาภิเศก สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพีที่เบิกบานแห่งปทุมชาติ ทรงเพิ่มพูนความยินดีให้แก่มวลพระประยูรญาติศากยวงศ์ ฉะนั้นเทอญ

อ นึ่ง ทุกๆเวลาที่บุคคลประพฤติชอบประกอบกิจการโดยชอบธรรม ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ครู่ดี ยามดี บูชาดีแล้วในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย

ส ิ่งที่ทำ คำที่กล่าว เรื่องที่คิด และความประพฤติที่ตั้งไว้ ก็เป็น ปทกฺขิณํ คือ สำเร็จอย่างพอใจ เมื่อบุคคลได้ลงแรงทำธุระอย่างพอใจแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อย่างพอใจทุกเมื่อ

ใ นคาถานี้ ได้ประกาศความอัศจรรย์ไว้ข้อหนึ่งว่า สถานที่ตั้งบัลลังก์ที่ประทับนั่งชำนะพญามาร ตรัสรู้เป็นพระสัมพุทธเจ้านั้น เป็นที่พุทธาภิเศกสำหรับพระพุทธเจ้าตรัสรู้ทุกองค์ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ก็ได้รับพุทธาภิเศก เป็นพระพุทธเจ้า ณ ที่ตรงนี้ ถึงพระศรีอาริยเมตตรัย ที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้าโน้น ก็จะต้องได้รับพุทธาภิเศก ณ ตรงที่นี้เช่นกั้น เพราะอะไร เพราะที่ตรงนี้เป็นจอมใจกลางแห่งพื้นแผ่นดินใหญ่ เป็นที่เกิดแห่งปทุมชาติ ถึงได้ขนานนามว่า ปฐวีโปกขรสีสะสถาน โดยที่ปรากฏตามวจนะนิทานว่า

เ บื้องแรกแห่งการตั้งโลกนี้ หลังแต่พื้นปฐพีถูกไฟทำลายล้างสิ้นถึงกับก่อสร้างแผ่นดินใหม่ เพื่อเป็นที่อาศัยของมนุษย์สัตว์ เป็นมนุสสพิภพสืบไป เวลานั้นในพื้นแผ่นดินยังไม่มีสิ่งใดแม้แต่ต้นไม้สัก ๑ ต้น เตียนราบรื่นเป็นหน้ากลอง ต่อมาได้เวลาเป็นมงคลฤกษ์ ก็เกิดไม้ขึ้นต้นหนึ่ง ณ ที่ใจกลางแผ่นดิน มีดอกงาม สีแดงอ่อน ตูมตั้ง เราเรียกว่า ดอกบัว และเพราะดอกบัวนี้แหละ เป็นไม้เกิดก่อนไม้ในโลก จึงได้นามว่า ปทุม แปลว่า ต้นไม้แรกของโลก หรือ ปะ แปลว่า ก่อน ทุม แปลว่า ต้นไม้ รวม ๒ คำว่า ปทุม ไม้ต้นแรกของโลก พอกอปทุมหรือกอบัวเกิดขึ้นที่จอมใจกลางของแผ่นดินเช่นนั้นแล้ว บรรดาเทพเจ้าทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ก็พากันลงมาดู มาชมกันว่า มีดอกกี่ดอก เพราะดอกบัว ดอกหนึ่งๆ มีความหมายเป็นมงคลนิมิตรสูงมาก บอกถึงความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ดอกหนึ่งมีพระองค์หนึ่ง สองดอกก็สองพระองค์ สามดอกก็สามพระองค์ เมื่อเทพเจ้าได้เห็นแล้วก็พากันชื่นบาน ถือเป็นลาภอันเลิศ เป็นโชคดีของโลก ของเทพดาด้วยกัน ถ้าบังเกิดเคราะห์ร้ายเกิดบัวไม่มีดอก มีแต่ใบ เทพเจ้าทั้งหลายก็พากันเศร้าโศก บ่นเพ้อรำพันว่า กัล์ปเป็นสัญญกัล์ปนี้ ว่างพระสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว เป็นกัล์ปที่มือมนธ์ มนุษย์มีใจบาปหยาบช้ามาก เทพเจ้าก็พากันปริเทวนาอาดูรแล้วกลับไปสู่ทิพย์สถานของตนๆด้วยความโทมนัส

บ ังเอิญเป็นโชคดีอย่างยิ่ง ในกัล์ปที่เราบังเกิดอยู่นี้ เป็นกัล์ปเจริญ เรียกว่า ภัทรกัลป์ เกิดมีดอกบัวถึง ๕ ดอก เกิดที่จอมใจกลางแผ่นดินที่เรียกว่า ปฐวีโปกขรสีละสถาน ทรงสีตระการงดงาม ปรากฏแก่เทพเจ้าทั้งหลายที่พากันมาชมว่า กัล์ปนี้เป็นกัล์ปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้เป็นนาถะของโลกถึง ๕ พระองค์ ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุด ถึงในกัล์ปภายหน้าต่อไป จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ถ้าไม่มีพระสัมพุทธเจ้ามากว่านี้ จึงทวยเทพเจ้าพากันยินดีปรีดาปราโมทย์ แซร่ซร้องด้วยอุโฆษว่า ต่อไปนี้เมื่อหน้า จะมีคนใจบาป หยาบช้าลดน้อย คนใจบุญมาก ด้วยธรรมจะเจริญและจะพากันดำเนินไปสู่สวรรค์กันมากขึ้นสุดที่จะคณนา แล้วเทพเจ้าก็พากันกลับทิพยสถานด้วยโสมนัสเบิกบาน ด้วยปีติยินดี

เ พราะเหตุนี้ ดอกปทุมจึงได้รับยกย่อง ให้เป็นดอกไม้รองพระบาทหรือพระแท่นที่ของพระสัมพุทธเจ้า ซึ่งความจริง จะโดยสี โดยกลิ่น และโดยคุณภาพแล้ว ยังไม่มีไม้น้ำชนิดใดทรงคุณเหมือนปทุมชาติเลย นับตั้งแต่ตั้งโลกมาจนบัดนี้ จึงเป็นคุณที่น่าอัศจรรย์สำหรับดอกบัวอยู่ไม่น้อย

ป ระการหนึ่ง คงจะเป็นด้วยดอกบัว เป็นดอกไม้ที่อยู่ในความนิยมของมหาชน คนโดยมากรู้จักดอกบัวดีทั่วๆกัน ดังนั้น พระสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมยกดอกบัวขึ้นเป็นเครื่องเปรียบ เตือนใจให้พุทธบริษัทซาบซึ้งในคุณค่าของธรรมหลายแห่งหลายประการ เช่นในคดีโลก ทรงแสดงถึง ความสัมพันธ์ของสมาคม ของบุรุษสตรี ต้องมีความเคยเห็นอกเห็นใจกันมาก่อน และการเกื้อกูลด้วยความไมตรีในปัจจุบันด้วย เกลียวสัมพันธ์ของบุคคลนั้นๆ ความรักของบุรุษและสตรี จึงจะบรรลุถึงความมุ่งหมาย เหมือนดอกบัวจะแย้มกลีบออกบานได้ ก็ต้องอาศัยดินและน้ำ สองประการ ฉะนั้น

ใ นการประพฤติธรรม ตรัสรู้ธรรม จะเร็วหรือช้า ย่อมขึ้นอยู่กับอุปนิสัยปัจจัยของบุคคล ก็ทรงเปรียบด้วยดอกบัว ย่อมบานตามอายุอันควรของแต่ละดอก คือทุกๆดอกจะบานใต้น้ำ ก่อนจะบาน จะต้องได้รับแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ก่อน หาไม่ก็จะไม่บาน ฉะนั้น

แ ละในความบริสุทธิ์หมดจดจากมลทินเครื่องเศร้าของจิต แห่งพระอริยเจ้า ไม่มีอารมณ์ใดๆ จะไปทำให้มัวหมองได้อีก ก็ทรงเปรียบด้วยดอกบัว ทั้งใบทั้งกลีบ แม้จะเกิดในน้ำ ก็พยายามหนีขึ้นมาบานบนหลังน้ำ น้ำไม่จับไม่ติด ดังคำที่เราชอบกล่าวกันว่า “เหมือนน้ำกลิ้งบนใบบัว” แสดงว่า น้ำไม่ติดบัว ฉะนั้น

ต ามนัยนี้ แสดงว่า ดอกบัว เป็นดอกไม้มีเกียรติสูง สมเป็นดอกไม้ที่ชาวพุทธศาสนิกนิยมนำมาบูชาพระสัมพุทธเจ้ายิ่งนัก ทั้งชอบทำความหมายในเกียรติคุณของพระศาสนา ชอบจัดชอบทำให้เกิดขึ้นรองรับพระยุคลบาทพระสัมพุทธเจ้าในคราวเสด็จย่าง ประทับยืน ชอบให้พระพุทธอาสน์มีดอกบัวประดับรับรอง ดังที่เราได้พบเห็นอยู่ทั่วๆไป

ป ระการหนึ่ง ความนิยมดอกบัว ได้ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวาง ถึงปกหนังสือพระพุทธศาสนา ก็ปรากฏว่ามีเครื่องหมายเป็นรูปดอกบัวอยู่หลายหลาก พอเห็นปกเข้าเราก็รู้ทันทีว่า เป็นหนังสือพระพุทธศาสนา แม้ในพระพุทธศาสนาฝ่ายอาจาริยวาท ซึ่งเป็นนิกายฝ่ายใต้ ก็นิยมชมชื่นเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นยังคิดประดิษฐ์ประดับให้แม้แต่รูปพระโพธิสัตว์เจ้า ด้วยพระสงฆ์และคฤหัสถ์พวกอุตตรนิกาย ชอบบูชารูปพระโพธิสัตว์ ไม่น้อยกว่าพระสัมพุทธเจ้า จะเห็นได้ตามวัดพระสงฆ์จีนทั่วไป โดยถือว่า ถึงพระโพธิสัตว์เจ้า ก็จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ควรแก่การบูชาด้วยดอกบัวเหมือนกัน

เ รื่องของดอกบัว มีความหมายถึงเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนาเหมาะแท้ๆ ในสมัยก่อนๆเพียงในศตวรรษนี้เอง ก็ปรากฏว่า นิยมทำโคมไฟเป็นรูปดอกบัว เรียกว่า โคมบัว ถวายเป็นพุทธบูชา จุดตั้งไว้หน้าพระพุทธปฏิมา หรือ หน้าวัด ในเทศกาลกุศลใหญ่ๆ เช่นงานมาฆบูชา วิสาขบูชา งานมหาชาติ เป็นต้น หากเราลองหวนระลึกถึงความหลัง ภาพโคมบัวที่คนใจบุญนำมาติดตั้งถวายเป็นพระพุทธบูชา คงจะปรากฏอยู่ในความทรงจำของเราได้อยู่ ข้าพเจ้ายังติดตาโคมบัว ที่พลเรือตรีทหารขำริรัญ อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารเรือที่ ๒ สัตตหีบ ชักชวนทหารเรือทำโคมบัว ๑๒๕๐ โคม แห่ในงานมาฆบูชาที่วัดสัตตหีบ เมื่อ พ.. ๒ ๔๙๐ โน้น ช่างงามวับจับตา ชวนให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสดีแท้ ในงานสมโภชพระพุทธศาสนาที่เคารพนับถือทุกครั้ง ข้าพเจ้าใคร่ขอเชิญชวนท่านผู้ใจบุญทุกท่าน ถ้าหากจะร่วมใจกันทำโคมบัว ซึ่งมีความหมายถึงเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา จุดถวายเป็นพุทธบูชากันทั่วถึง ก็เข้าใจว่าจะเพิ่มความงามในงานสมโภชในคราวนั้นๆไม่น้อยเป็นแน่

ท ่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพราะดอกบัวเป็นดอกไม้ที่งามด้วยสี กลิ่น และลักษณะ ทั้งกอร์ปด้วยคุณชาติสะอาดหมดจด และสุนทรสเป็นอันดี ควรแก่บูชาพระชินศรีสัมพุทธเจ้าประการหนึ่ง และเพราะดอกบัว เป็นไม้เกิดก่อนไม้ในโลก เกิดขึ้นแสดงความมีโชคของเทวดาและมนุษย์และประกาศความมีชัยของพระสัมพุทธเจ้ าไว้ล่วงหน้าประการหนึ่ง และเพราะดอกบัวเป็นไม้ที่เกิดที่จอมใจกลางมหาปฐพี ซึ่งได้นามขนานว่า ปฐวีโปกขรสีสะถาน ที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมพุทธเจ้า ประการหนึ่ง รวมเป็นมงคล ๓ ประการด้วยกันฉะนี้ ดอกบัวจึงเป็นสัญญลักษณ์อันดีของชัยมงคล สำหรับพุทธศาสนิกชน ผู้ต้องการความสวัสดีมีชัยและเพื่อห่างไกลจากปัจจามิตร จึงนิยมให้พระสวดชยปริตรและชยันโต ซึ่งเรียกว่า ชัยมงคลคาถา สืบมาจนบัดนี้ .

———————-

เมื่อวัดดี ศรีสงฆ์ ธำรงศาสน์

ประชาราษฏร์ เลื่อมใส ได้สรรเสริญ

พระสงฆ์ดี ศรีศาสน์ ราษฎร์จำเริญ

เหมือนชวนเชิญ ให้ชื่นชม นิยมกัน

ธรรมสาธก”

(บรรยาย ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐)

ชัยมงคลที่ ๒

ตำนานชัยมงคลที่ ๒

ใ นสมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับสำราญพระกายอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงอาศัยพระนครสาวัตถึเป็นที่โคจรภิกษาจาร บำเพ็ญพุทธกิจตามพุทธวิสัย ยังมรรคผลให้สำเร็จแก่พุทธเวไนยนิกร ทรงสถาพรเพิ่มพิริยพรตแก่พุทธบุตรผู้ปฏิบัติสันติวรบทตามแนวมรรคปฏิปทา ทรงเผยแผ่เกียรติคุณพระศาสนาให้รุ่งเรืองไพศาลพิศิษฐ์ ดังโอภาสแห่งดวงอาทิตย์อุทัยยังนภาลัยประเทศ ให้ประชาสัตว์ตื่นจากสรรพกิเลสนิทราไม่งมงายแสวงหามรรคผลในทางผิด เสมือนหนึ่งหลับตาคว้าอสรพิษให้ขบกัดเข้าเต็มมือ ประชาชนจึงเคารพนับถือเป็นเอนกด้วยเห็นพระศาสนาเป็นมรรคาเอกอันควรดำเนิน เพราะเป็นคุณเครื่องจำเริญประโยชน์สุขสวัสดีทั้งภพนี้และภพหน้า

ค รั้งนั้น พระเจ้าอาฬวี กษัตริย์แห่งอาฬวีนคร พระองค์ไม่ทรงสังวรในปิฬะกรีธา แสวงหาความสนุก ความรื่นเริงด้วยการล่าสัตว์ป่า เพื่อแสดงให้เหล่าโยธาเห็นว่า ยังทรงสามารถในฝีพระหัตถ์ แม่นธนูและหอกซัด ทั้งชำนาญในการขับขี่กัณฐัฏอัสวราช ยากที่จะหาผู้สามารถเสมอได้ ไม่ทรงเห็นเป็นภัยเป็นเวรกรรมที่จะมีผลเดือนร้อนในภายหลัง ตั้งพระทัยแต่จะหาความสำราญถ่ายเดียว

ว ันหนึ่ง ขณะที่พระเจ้าอาฬวีกำลังร่าเริงด้วยการปล่อยลูกธนูออกจากแล่งล้างชีวิตสัตว์ ที่กลัวตาย ตะเกียกตะกายวิ่งวนอยู่ในวงล้อมของเหล่าทหารทั้งหลาย ทันใดนั้น พระองค์ก็ทรงแลเห็นกวางทองงามน่ารักทำท่าตื่น เบิ่งหน้า หาทางหนีอยู่ ก็ทรงลดธนูคู่พระหัตถ์ลง พร้อมกับรับสั่งด้วยพระสุรเสียงดังสนั่นว่า ทหารทั้งหลาย เห็นกวางทองไหม ? ก วางทองตัวนี้งามมาก ดูเหมือนนับแต่พวกแกกับฉันเริ่มหาความสำราญในการล่าสัตว์มา ยังไม่เคยพบกวางทองที่งามจับตาน่ารักถึงเพียงนี้ ดังนี้ ฉันต้องการจับเป็น จะเอาไปเลี้ยงในอุทยาน ขอให้เตรียมตัวจับ ระวังอย่าให้กวางทองหนีไปได้ หากปรากฏว่า กวางทองหนีไปทางทหารคนใด เราจะเอาโทษหนักแก่ทหารคนนั้น

เ มื่อทหารได้ฟังพระกระแสรับสั่ง ต่างก็กลัวต้องโทษ พากันรักษาหน้าที่อย่างเข้มแข็ง เตรียมตัวจับกวางทองไว้อย่างมั่นเหมาะ หากว่ากวางทองจะหนีมาทางตนแล้ว ก็จะไม่รอดมือไปได้ ทันใดนั้นเอง เมื่อกวางทองหาช่องทางที่เหมาะ ในอันที่จะหนีออกจากวงล้อมในหมู่ทหารไม่ได้ ก็เลี่ยงมาทางพระเจ้าอาฬวี ด้วยเห็นมีทางว่างพอที่จะเผ่นหนีออกได้และพร้อมกันนั้นก็วิ่งหนีไปเฉพาะพระพ ักตร์ ทวยทหารที่กำลังล้อมก็โล่งใจ สิ้นเคราะห์ และหัวเราะเยาะพระเจ้าอาฬวีที่ไม่สามารถจับกวางทองได้ พระเจ้าอาฬวีละอายพระทัย ก็ทรงขับม้าพระที่นั่งออกไล่ติดตามอย่างไม่ลดละ ด้วยทรงพระดำริว่า หากได้จังหวะก็จะจับตาย โดยใช้ธนูคู่พระแสงสังหารเสีย แต่เคราะห์กรรม บังเอิญกวางทองนั้น เป็นเทพเจ้าปลอมแปลงเสร้งทำวิ่งล่อพระเจ้าอาฬวีให้ติดตามเข้าดงใหญ่ วิ่งล่อให้ตามไปจนสิ้นกำลังม้า พระเจ้าอาฬวีทิ้งม้าพระที่นั่งเสีย ทรงวิ่งขับด้วยพระบาท โดยแน่พระทัยว่า กวางทองก็ดูทีจะหมดกำลังเหมือนกับม้าแล้ว พระเจ้าอาฬวีวิ่งตามกวางไปอีกครู่ใหญ่ก็หมดกำลัง หมดหวัง หมดอยากได้อยากดี และในทันทีนั้น กวางทองก็หลบลี้หายวับไปกับตา พระเจ้าอาฬวีทรงล้า กระปรกกระเปลี้ย ก้าวพระบาทออกแต่ละก้าวอย่างอิดโรยและคร้านที่จะก้าวไป ดังนั้น พอเสด็จกลับได้หน่อยเดียว ทรงเหลียวเห็นต้นไทรใหญ่ตระการ มีกิ่งก้านใบหนาแน่น ร่มระรื่น พื้นดินที่โคนต้นก็ราบเรียบ เตียนโล่ง โปร่งนัยน์ตา น่าพักเอาแรง พระองค์จึงเสด็จเข้าไปประทับระงับพระกาย ทรงหลับลงอย่างรวดเร็วด้วยความอ่อนเพลีย

ม ิทันที่พระเจ้าอาฬวีจะทรงได้ความสุขจากการบรรทมหลับอย่างเต็มตื่น ตามที่ตั้งพระทัยไว้แต่แรกระงับพระกาย ก็ต้องพลันผวาตื่น ด้วยตกพระทัยสดุ้งจากสุรสำเนียงเสียงตวาดของอาฬวกยักษ์ดังลั่นสนั่นป่า ประหนึ่งเสียสายฟ้าฟาดลงมาข้างพระกาย ทรงผุดลุกขึ้นพร้อมกับลืมพระเนตรมาทางเสียงแผดนั้น และก็พลันประสบหน้าอาฬวกยักษ์ที่ทะมึงทึง แสดงว่าเป็นมารต่อพระชนมชีพของพระองค์ ก็สะดุ้งกลัวจนสุดขีด เหลียวหาทหารที่จะเป็นเพื่อนตายก็ไม่มีแม้แต่คนเดียว จะหนีก็ไม่พ้น ถ้าพระองค์สามารถดำดินหนีได้ขณะนี้ ก็คงไม่รอหน้าประสานกับยักษ์ร้ายตนนี้เป็นแน่ ความกลัวได้กดพระกายพระเจ้าอาฬวีให้ติดอยู่กับพื้นดิน ไม่มีแรงที่จะลุกยืนประจัญภัยเฉพาะหน้า เมื่ออาฬวกยักษ์ก็แจ้งให้พระองค์ทราบว่าภายในบริเวณนี้ เขาได้รับสิทธิเป็นพิเศษจากพระอิศวรเทพเจ้า ใครเข้ามาจะต้องตกเป็นอาหาร ดังนั้น เขาจึงเป็นผู้มีโชค โดยจะได้กินเนื้อพระเจ้าอาฬวีในวันนี้

ถ ้อยคำของอาฬวกยักษ์ได้เพิ่มความกลัวตายให้พระเจ้าอาฬวีเป็นทวีคูณ ในขณะที่อาฬวกยักษ์บอกว่าจะกินอาหาร แต่เป็นด้วยความวิบัติของพระองค์ยังไม่ถึงแก่ชีวิต ทำให้พระองค์คิดผ่อนผันได้ จึงปราศรัยขอถ่ายชีวิตพระองค์ โดยจะส่งคนมาให้เป็นอาหารอาฬวกยักษ์วันละ ๑ คน ในเมื่อปล่อยให้พระองค์กลับพระนครโดยสวัสดี อาฬวกยักษ์ก็พอใจในรายได้อันดีประจำวันเช่นนั้น จึงตกลงปล่อยให้พระเจ้าอาฬวีกลับพระนครตามพระประสงค์

เ มื่อพระเจ้าอาฬวีกลับพระนครแล้ว ก็ประชุมเสนาอำมาตย์ เล่าเรื่องที่ขอถ่ายชีวิตกับยักษ์มา ในที่สุดก็ให้จัดส่งนักโทษในเรือนจำไปให้อาฬวกยักษ์ตามสัญญา วันละ ๑ คน ครั้นต่อมา คนในเรือนจำหมดแม้จะเอาทองคำไปตั้งไว้ให้คนขโมย เพื่อจะได้จับเอาเป็นนักโทษส่งไปให้อาฬวกยักษ์ ก็ปรากฏว่าไม่มีใครจะขโมย หาคนหยิบฉวย ฉก ลัก ไม่ได้ แม้ในโทษเรื่องอื่นก็สุดหา เรือนจำว่างนักโทษเป็นประวัติการณ์ เมื่อจำเป็นเข้าว อำมาตย์ก็ต้องแก้ไขช่วยชีวิตพระมหากษัตริย์ไว้ก่อน โดยส่งเด็กเล็กที่ยังทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ทำนองส่งคนว่างงานไปให้ยักษ์กินวันละคนเหตุการณ์ได้ทำให้เกิดความวุ่นวาย ในระหว่างบิดามารดาของบุตรทุกคนต่างก็คิดอุบายถ่ายเท โดยจัดส่งลูกๆของตนไปอยู่เมืองอื่นๆ เพื่อปลอดภัย ในเมื่อเจริญวัยทำงานได้แล้ว จึงให้กลับ ในที่สุดเด็กหมดอีกครั้นวันสุดท้ายหาเด็กอื่นไม่ได้ อำมาตย์ก็ต้องให้จับอาฬวีราชกุมาร โอรสของพระเจ้าอาฬวีในเวลาเย็น เตรียมตัวส่งไปในวันรุ่งขึ้น แม้จะเป็นการบีบคั้นจิตใจของพระมหากษัตริย์และพระมเหสีอย่างหนัก ก็ต้องจำทำเพราะทำเพื่อพระมหากษัตริย์นั้นโดยแท้

ใ นราตรีวันนั้น พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแผ่พระญาณดูสัตว์ผู้ควรจะทรงพระกรุณาโปรด ก็ประจักษ์เหตุอันสมควรที่จะเสด็จด้วยพระมหากรุณา เพื่อระงับทุกข์ภัยทั้งหลาย ดังนั้น ในเวลาเย็นที่อาฬวีราชกุมารถูกจับ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปที่วิมานอาฬวกยักษ์โดยลำพังพระองค์เดียว ขณะนั้น อาฬวกยักษ์ไม่อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเข้าไปประทับ ณ แท่นที่นั่งของอาฬวกยักษ์ บรรดายักษ์และยักษิณีทั้งหลายได้มาเฝ้าถวายปฏิสันถารพระพุทธองค์ผู้พร้อมหน้ า

ค รั้นอาฬวกยักษ์กลับมาถึงวิมานในราตรีนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็โกรธ ด้วยมานะทิฏฐิแรงกล้า เห็นไปว่าพระสมณโคดมมาลบหลู่หมิ่นเกียรติของตน แทนที่จะค่อยพูดค่อยจาถามไถ่ถึงเหตุที่มาถึงที่อยู่ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของ กลับโอหังตึงตังเข้าใส่พระบรมศาสดา ถึงกับใช้อาวุธร้ายแรง ตามสันดานของพวกอสูรที่ไร้คุณธรรม หากแต่ด้วยพุทธานุภาพ อาวุธทุกชนิดที่อาฬวกยักษ์ใช้ไปไม่เป็นผล กลายเป็นเครื่องสักการบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียสิ้น ในที่สุดยักษ์ก็หมดฤทธิ์ หมดเดช หยุดราวี เพียงแต่ใช้วาจาเรียกพระบรมศาสดาให้ลุกออกมาจากวิมานของตนเสีย

ค รั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระกรุณาทำตามประสงค์ของอาฬวกยักษ์ คือจะให้ลุกก็ทรงลุก จะให้ออกก็เสด็จออก จะให้เข้า ก็เสด็จเข้า จะให้นั่งที่ใด ก็ประทับนั่งให้ตามประสงค์ ทำให้หัวใจอาฬวกยักษ์ผ่อนโหดร้ายลง ในที่สุดอาฬาวกยักษ์ได้ทูลถามปัญหา พระบรมศาสดาได้ทรงพยากรณ์แก้ปัญหา ให้อาฬวกยักษ์เกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรม สิ้นความโหดร้าย ตั้งอยู่ในภูมิโสดาปัตติผล ถวายตนลงเป็นทาสพระรัตนตรัยตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานอาฬวกยักษ์ตั้งแต่ย่ำค่ำจนรุ่งราตรี จึงสามารถยั้งน้ำใจอาฬวกยักษ์ให้ยินดีในอริยธรรมตามพระพุทธประสงค์ในเช้าวัน นั้น ก็พอดีราชบุรุษพระนครอาฬวีอุ้มเอาพระราชกุมารโอรสของพระเจ้าอาฬวี มาให้อาฬวกยักษ์กินเป็นอาหาร อาฬวกยักษ์รับเอาพระราชกุมารแล้ว ก็น้อมเข้าถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับกราบทูลว่า ข้าพระองค์ขอถวายพระราชกุมารน้อย ซึ่งพระเจ้าอาฬวีส่งมาเป็นอาหารของข้าพระองค์ ด้วยข้าพระองค์เว้นขาดจากเบญจเวรสิ้นเชิงแล้ว

พ ระบรมศาสดาทรงรับพระกุมาร แล้วตรัสอนุโมทนาแก่อาฬวกยักษ์ และทรงอวยพรแก่พระราชกุมาร พร้อมกับประทานคืนให้อำมาตย์นำพระราชกุมารกลับพระนคร เพื่อถวายพระเจ้าอาฬวี ครั้นอำมาตย์นำพระราชกุมารกลับนคร เกียรติศัพท์เกียรติคุณพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฟุ้งขจรไปทั่วว่า พระองค์ทรงพระกรุณาเสด็จมาระงับภัยพิบัติแก่พระนครอาฬวี ชาวเมืองทั้งสิ้นต่างก็มีความปิติยินดี พากันจัดเครื่องสักการะต่างๆนำไปบูชา ขณะนั้น พระบรมศาสดาทรงพระกรุณา พาอาฬวกยักษ์มาพระนครอาฬวี พอถึงสถานที่ครึ่งทางสัญจร ก็พบชาวพระนคร มีพระเจ้าอาฬวีเป็นประมุข น้อมนำสักการะมาเฝ้าถวายอภิวาท สมเด็จพระบรมโลกนาถก็ทรงหยุดประทับรับสักการบูชา พร้อมกับทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาโปรด ให้ชาวเมืองเห็นทุกข์เห็นโทษในเบญจกรรม และทรงให้ชาวพระนครตั้งอยู่ในกัลยาณธรรม ตามสมควรแก่วิสัย ประทานธรรมให้เป็นสมบัติทั่วไปแก่ชาวนครอาฬวี ปลุกให้เกิดความเมตตาปรานีกันทั่วหน้า ทั้งให้ชาวเมืองนับถือบูชาอาฬวกยักษ์ ประหนึ่งว่า เป็นเทพารักษ์หลักพระนคร ครั้นประทานธรรมคุณากรสิ้นเสร็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จนิวัตนาการ กลับคืนพระเชตวันมหาวิหาร เสด็จประทับเสวยความสำราญในธรรมสืบมา สิ้นข้อความพรรณาในชัยมงคลที่ ๒ แต่เพียงนี้

ต นฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ ด้วยพระเดชแห่งพระขันติคุณ ที่พระบรมศาสดาทรงอดทนต่อความทารุณของพวกอาฬวกยักษ์ร้ายเหลือประมาณ กับพระวิริยคุณและพระปัญญาคุณ ที่ทรงอภินิหารทรมานพยศของอาฬวกยักษ์ได้ดวงตาแจ่มใสในธรรมวิเศษ เป็นชัยมงคลที่เกิดจากธรรมเดชของพระบรมศาสดา ขอชัยมงคลดังพรรณนามา จงมีแก่พุทธศสานิกบริษัทตามสมควรแก่วิสัยจนทั่วถ้วนทุกคน ขอยุติข้อความในชัยมงคลที่ ๒ แต่เพียงนี้ ฯ

——————————–

คติธรรม

คนต่างคน เพราะกรรม ทำต่างกัน

แม้กรรมนั้น ต่างครั้ง ยังต่างผล

เพราะความคิด คนละอย่าง ต่างใจตน

คนหนึ่งทน คนหนึ่งคร้าน ผิดกันไกล.

ธรรมสาธก”

(บรรยาย ๒๕ สิงหาคม ๒๔๙๘)

ชัยมงคลที่ ๓

ตำนานชัยมงคลที่ ๓

ใ นสมัยเมื่อพระสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับสำราญพระอิริยาบถอยู่ในพระเวฬุวันวิหาร ทรงอาศัยราชคฤห์พระมหานครเป็นโคจรภิกษาจารบำเพ็ญพุทธกิจ ประสาธน์ประสิทธิมรรคผลให้สำเร็จแก่พุทธเวไนย ทรงประทานพรหมจรรย์แก่ผู้ที่เลื่อมใสในสันติวรบทเป็นพิเศษ เพื่อให้บรรลุอจลเขตปฏิสัมภิทา ทรงเผยเกียรติคุณของพระศาสนาให้รุ่งเรืองไพศาลพิศิษฐ์ดังโอภาสแห่งดวงอาทิตย ์อุทัยยังนภาลัยประเทศ ให้ประชาสัตว์ตื่นจากสรรพกิเลสนิทรา ประชาชนพากันเคารพบูชาเป็นเอนกด้วยเล็งเห็นพระศาสนาเป็นมรรคาเอกอันควรดำเนิ นเพราะเป็นคุณเครื่องจำเริญประโยชน์ สุขทั้งภพนี้และภพหน้า

ค รั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูราช ยังอ่อนพระชันษาและปรีชาสามารถทั้งหมกมุ่นด้วยความกำหนัด ทรงเลื่อมใสในพระเทวทัตผู้เป็นอาจารย์ มาแสดงปาฏิหาริย์ล่อลวงให้ลุ่มหลง ทำให้ท้าวเธอปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร พระชนกนาถ เป็นปิตุฆาตอนันตริยกรรม ซ้ำไม่เลื่อมใสในพระบรมศาสดา ด้วยเชื่อคำพระเทวทัตริษยาแกล้งใส่ใคล้ให้เข้าพระทัยผิดถึงกับมืดมิดด้วยโมห ะไม่เห็นเหตุ ยอมให้พระเทวทัตหาเลศทำลายล้างพระบรมศาสดา เริ่มต้นแต่ขอนายขมังธนูมาเป็นครั้งแรก แล้วส่งไปให้ลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า ด้วยธนูอันกำซาบด้วยยาพิษ แต่นายขมังธนูกลับมาจิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ยอมตนเข้าขอเป็นพุทธบุตร ด้วยพระพุทธบารมี พากันยินดีรับเบญจวิรัติ ปฏิบัติตามพระพุทธโอวาท พระเทวทัตก็ก่อกรรมวินาศอย่างอื่นต่อไป ด้วยวิสัยอันธพาล

ค รั้งหนึ่ง ลอบขึ้นไปที่พระพุทธวิหาร ณ ยอดภูเขาคิชฌกูฏ พุทธสำนักในเวลาเช้า ขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงมาโปรดสัตว์ ครั้นเสด็จบิณฑจาริกวัตรแล้ว พระองค์ก็ขึ้นคิชฌกูฎภูผา พระเทวทัตก็ได้ผลักก้อนศิลาอันใหญ่ให้กลิ้งลงมา หมายจะปลงพระชนม์พระบรมศาสดาให้ดับสูญ แต่ด้วยเดชแห่งพระกุศลบุญช่วยอภิบาล ก้อนศิลาก็ปวัตนาการกลิ้งไปห่างจากช่องทางเสด็จ เพียงแต่พระบาทกระทบสะเก็ดหิน ทำให้ห้อพระโลหิตช้ำ ซึ่งก่อเข็ญเป็นอนันตริยกรรมให้แก่พระเทวทัตเป็นเนริยกสัตว์ในอเวจีนรกสืบไป ภายหน้า เมื่อไม่ควรปรารถนา ก็หาอุบายใหม่ด้วยวิสัยอำมะหิตจิตลามก หาโอกาสเข้าไปยอยกถวายพระพร แด่จอมนริสอดิศรอชาตศัตรูราชาธิบดี ขอพระราชทานช้างนาฬาคีรีราชหัตถีช้างพระที่นั่งซึ่งกำลังซันมันกล้า เพื่อจะปล่อยให้เข่นฆ่าพระพิชิตมาร ยามเมื่อเสด็จภิกษาจารโปรดสัตว์ในเวลาเช้า ด้วยอกุศลจิตคิดเป็นเจ้าปกครองสงฆ์ ในเมื่อสิ้นสุดพระพุทธองค์ไปแล้ว

เ มื่อพระเทวทัตได้รับพระราชทานช้างจากพระเจ้ากรุงมคธแล้ว ก็รีบมาปลุกปั่นป้อยอให้ลาภยศแก่นายควาญช้าง ให้นายควาญช้างรับธุระมอมเหล้าช้างนาฬาคีรีให้เมา เพิ่มกำลังบ้าคลั่งด้วยซับมันขึ้นอีกแรงหนึ่งและกำชับให้ปล่อยช้างในเวลาเช้ า ขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ตามถนน ภายในพระนครราชคฤห์นี้ วิสัยสัตว์ไม่รู้จักคนชั่วคนดีอย่างหนึ่งอย่างใด ก็จะไล่ทิ่มแทงพระจอมไตรโลกาจารย์ ยามเมื่อเสด็จภิกษาจารพร้อมด้วยพระสาวกสงฆ์ ให้ย่อยยับอัปปางลงเป็นพัทธุลี สิ้นชื่อพระชินศรีครั้งนี้แล้วแล

ค รั้นข่าวนี้รั่วไหลไปยังพุทธบริษัท อุบาสก อุบาสิกา ผู้เลื่อมใสอยู่ในพระพุทธศาสนา ต่างพากันมาประชุมกันว่า ถ้าจะมิเป็นการ หากเราจะนิ่งเฉยให้พระบรมศาสดาจารย์เข้าเผชิญหน้า กับ คชสาร นาฬา คีรีซับ มันกล้า จักเป็นอันตรายแก่พระบรมศาสดา ซ้ำเสื่อมเกียรติยศแห่งพระศาสนาที่นับถือ เมื่อได้หารือตกลงกันแล้ว ก็พากันไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้ายังพระเวฬุวันวิหาร แล้วกราบทูลถึงเหตุการณ์อันร้ายแรงจะพลันมีในวันพรุ่งนี้เวลาเช้า ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้างดภิกษาจาร ก็ขอให้โปรดรับบิณฑยาหารที่อารามนี้ พร้อมด้วยพระสาวกบรรดามีทุกพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีเจตจำนงนำอาหารมาอังคาส ขอได้โปรดประทานโอกาสแก่มวลข้าพระยุคลบาทด้วยเถิดพระเจ้าข้า

ค รั้งนั้น พระผู้มีพระเจ้าทรงดำริว่า ถ้าตถาคตจักออกไปทรมานช้างนาฬาคีรี ยังท่ามกลางพระนครแล้ว จึงค่อยพาพระสงฆ์กลับมารับไทยทานที่พระวิหารนี้ เวลากาลก็ยังมีปฏิบัติได้ เพี่อให้เกิดธรรมาพิสมัยแก่ประชาสัตว์ ที่ได้มาเห็นเหตุการณ์ของพระเทวทัต และพระมหากษัตริย์ร่วมกันประกอบทุรกรรม ซึ่งเป็นการผิดจากศิลธรรมไม่ควรดำเนิน แต่กลับก่อให้จำเริญเกียรติศาสนา ครั้นพระบรมศาสดาดำริแล้ว ก็ทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ให้พุทธบริษัทผู้นิมนต์รับทราบ แล้วทูลลา

ค รั้นรัตติกาลผ่านมาถึงเวลาอรุณรุ่งเช้า พระมหากรุณาธิคุณเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกบริวาร ก็เสด็จพระพุทธดำเนินภิกษาจารยังพระนครราชคฤห์ขัตติยนิเวศน์ ตามมรรคาประเทศถนนหลวง ประชาชนชาวเมือง ทั้งปวง ได้เห็นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก ต่างก็พากันปริวิตกไปต่างๆนานา พวกที่มีศรัทธาสัมมาปฏิบัติ ก็มีความโสมนัสชื่นบาน ว่าวันนี้จักได้ชมบุญญาภินิหารพระบรมโลกนาถ จะทรมานพญากุญชรชาติช้างพระที่นั่งให้สิ้นพยศ พวกที่มีน้ำใจคิดคดลามกมิจฉาจิต ก็คิดไปในทางร้าย ว่าวันนี้จะได้เห็นความวินาศวอดวายของพระสมณโคดม ช้างนาฬาคีรีจักทิ่มแทงให้สิ้นลมมลายชีพ แล้วต่างก็พากันเร่งรีบปีนป่ายต้นไม้ใหญ่ และที่อื่นใดซึ่งพอจะพ้นภัยและมองเห็นได้สบาย คอยดูอยู่มากมายเหลือที่คณนา

ฝ ่ายนายควาญช้างพระที่นั่ง แรกแต่ได้รับคำสั่งของพระเทวทัต ก็พากันจัดแจงหาสุราบานที่แรงกล้ามาเตรียมไว้ ครั้นรุ่งอรุโณทัยทิวาวารก็พากันนำออกมากรอหัตถีพระยาเศวยคชนาฬาคีรีช้างพระ ที่นั่ง ซึ่งกำลังคลุ้งคลั่งซับมัน สิ้นน้ำจันฑ์ ๑๖ กระออมเป็นกำหนด ทำให้พญาช้างเกิดพยศร้ายแรงเพราะฤทธิ์สุรา ชูงวงยกงากระทืบเท้าสะเทือนแท่น ส่งเสียงร้อนแปร๋แปร้นอุโฆษก้องโกญจนาทน่าสพึงกลัว เบ่งตัวบิดตืนสบัดปลอกมุ่งจะวิ่งออกไปลงงาทุกสิ่งที่ผ่านหน้าให้พินาศ ครั้นรุ่งแสงสุริโยภาสเป็นเวลาทรงบาตรพระบรมสุคต นายควาญช้างก็เปลื้องปลดปลอกปล่อย พญานาฬาคีรี ออกสู่วิถีทางเสด็จภิกษาจาร พญานาฬาคีรีก็วิ่งทะยานออกสู่ถนน บรรดาเหล่ามหาชนก็ตะโกนร้องกันต่อๆไป ให้รีบหลบหาความปลอดภัยอันจะพึงมี ทันใดนั้นพญาเควตรหัตถี ก็ส่งเสียงร้องกึกก้องโกญจนาทวิ่งตรงมายังวิถีทางพระโลกนาถเสด็จพระพุทธดำเน ิน จึงมหาชนก็พากันร้องทูลเชิญให้หลบช้างจะทำร้าย แม้พระภิกษุปุถุชนก็กลัวตาย ก็วุ่ยวายกราบทูลพระบรมศาสดาให้เสด็จหนี ว่าพญานาฬาคีรีราชหัตถีเชือกนี้ดุร้ายใจอำมะหิต ไม่รู้จักพระรู้จักเจ้าเหล่าบัณฑิตตลอดความถูกผิดใดๆ มุ่งแต่จะทำความบรรลัยต่อคนและสัตว์เฉพาะหน้า ส่วนพระสงฆ์องค์พระอรหันต์ไม่มีจิตประหวั่นว่า ภัยอันใดจะบังเกิดมี พากันเดินตามพระชินศรีด้วยความสงบเป็นสง่า ตามวิสัยของพระสงฆ์ผู้ทรงคุณปฏิสัมภิทาญาณวิเศษ จึงปรากฏว่าเป็นบุญญเขตควรแก่ไทยทาน อันชาวโลกจะพึงสักการบูชา

ข ณะนั้น พระอานนนเถระพระพุทธอุปฐาก ครั้งช้างนาฬาคีรีร้ายวิ่งเข้ามาใกล้พระผู้มีพระภาคในครั้งนั้น โดยที่พระคุณท่านยังมิได้เป็นอรหันต์ จึงมีความหวาดหวั่นพรั่นใจ เกรงอันตรายจะพึงมีแก่สมเด็จพระชินศรีสัมพุทธเจ้า พระเถรเจ้าจึงคิดว่า อาตมาได้รับความเมตตากรุณาจากสมเด็จพระมหากรุณาธิคุณนี้ใหญ่หลวง เหลือที่จะเอาอะไรมาตักตวงประมาณได้ เมื่ออาตมายังติดตามรอยพระยุคลบาลอยู่เช่นนี้ จักปล่อยให้ช้างนาฬาคีรีมาทำร้ายพระองค์หาบังควรไม่ ใช่วิสัยพุทธอุปัฏฐากสมควรจะออกป้องกันภัย มิให้บังเกิดมีแก่พระผู้มีพระภาคพุทธองค์ แม้ชีวิตของอาตมาจะดับลงเพราะฤทธิ์ก็ชอบแล้ว เสมือนหนึ่งว่าแลกเอาร่มฉัตรรัตนะแก้วที่กั้นโลกให้ดำรงอยู่ ไม่มีผู้รู้ทั้งหลายจึงพึงตำหนิ ครั้นพระเถรเจ้าดำริแล้วเช่นนั้น ก็พลันวิ่งออกไปกั้นสกัดช้างนาฬาคีรี น้อมถวายชีวิตแด่พระชินศรี โดยยอมให้ราชหัตถีทิ่งแทงเอาตามประสงค์แต่ขอให้เอกองค์พระโลกนาถนิราศภัย เห็นประจักษ์แก่ตาคนทั้งหลายด้วยประการฉะนี้

ค รั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงพระมหากรุณา ตรัสเรียกพระอานนทเถรเจ้าให้ถอยมาถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์ก็ยับยั้งยืนหยัดสกัดช้างนาฬาคีรีอยู่ สมเด็จพระบรมครูทรงเห็นพระอานนท์ยอมตายไม่คิดกลับจึงทำปาฏิหาริย์ขับช้างนาฬ าคีรีคชสาร ซึ่งกำลังตรงเข้ามาจะประหารพระเถรเจ้า ให้ตกใจกระโพงไปในที่อื่นไม่อาจเข้าใกล้ ขณะนั้นมีสตรีผู้หนึ่งกลัวภัยไม่สามารถจะระงับใจ ครั้นเห็นช้างวิ่งเข้ามาใกล้ก็ทิ้งบุตรไว้กลางถนน วิ่งตามฝูงคนไปไม่เหลียวมา ปล่อยให้ลูกดิ้นร้องน่าเวทนาด้วยกลัวตาย เป็นที่สังเวชใจแก่มหาชน ทันใดนั้น ช้างนาฬาคีรีก็วิ่งวนเข้ามามุ่งจะพิฆาตฆ่าทารกนั้นตามวิสัยสัตว์ สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิ์รัตนวิสุทธิญาณ จึงทรงแผ่เมตตาภินิหารทานดิลก ดังหนึ่งทรงหลั่งสีโตทกให้ตกต้องดวงใจคชสาร ซึ่งกำลังเดือดดาลด้วยสุราบานและซับมัน ให้ความเมาทั้งสองประการนั้นดับสนิท ทั้งให้มีจิตประกอบเมตตาไม่เข้าไปบีฑาทารกนั้นให้เป็นอันตรายได้วิบัติ แล้วพระองค์ทรงพระเมตตาเอื้อนอรรถตรัสเรียกพญาช้างนาฬาคีรีให้เข้ามาเฝ้า เมื่อพญาช้างสร่างเมาก็สิ้พยศยกงวงจบจนบนกระพองศีรษะ แสดงความคารวะในพระสัมพุทธเจ้า หมอบเข้าถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาลพระบรมศาสดาสมเด็จพระจอมสงฆ์ ได้ทรงยกพระหัตถ์ลูบกระพองศีรษะคชสารด้วยความเมตตา แล้วประทานโอวาทว่า “ดูกรนาฬาคีรีเอย ! แ ต่นี้ไปเจ้าจงสกัดตัดเลยซึ่งปาณาติบาตอย่าให้ประมาทจิตคิดอาฆาตโกรธแค้นใครๆ จงมีเมตตาจิตทั่วไปในคนและสัตว์ จงมีจิตโสมนัสหนักแน่นในเมตตาและขันตี เมื่อเจ้าวางวายจากภพนี้แล้ว จะได้ไปสู่สุคติสถาน พ้นจากสัตว์เดรัจฉานอันต่ำศักดิ์ ช่างเป็นกุศลคุณบุญอันหนักที่เจ้ามาพบเราตถาคต จงอุตส่าห์ตั้งใจกำหนดวิรัติปฏิบัติจนตราบเท่าอายุขัยนั้นเถิด

ค รั้งนั้น พญาช้างนาฬาคีรีตัวประเสริฐ เกิดตื้นตันใจหลั่งน้ำตาไหลรินอาบหน้า แล้วก้มเศียรเกล้าลงวันทารับพระโอวาท ถวายบังคมพระบาท แล้วเดินกลับหลังยังโรงช้าง ด้วยท่าทางอันสงบเสงี่ยมเป็นอันดี ปรากฏแก่ประชาชนทิชาชีอยู่ทั่วหน้า มหาชนก็พากันสักการบูชาพระบรมศาสดา โห่ร้องกันลั่นสนั่นไป ว่าสมเด็จพระจอมไตรทรงทรมานพญาคชสารนาฬาคีรีให้สิ้นพยศแล้ว และทรงได้ชัยชำนะอันเป็นมงคล ตั้งต้นแต่ พระมหากษัตริย์และพระเทวทัตลงมา จนแม้ช้างนาฬาคีรีซับมันกล้าก็สิ้นฤทธิ์แล้วสมเด็จพระธรรมสารมิสก็พาพระสงฆ์ สาวกเสด็จกลับไปรับไทยทาน ซึ่งพุทธบริษัทจัดถวายยังพระเวฬุวันวิหารนั้นแล

ต นฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ ด้วยพระเดชแห่งพระเมตตาคุณ ที่พระบรมศาสดาทรงระงับดับความทารุณของพญาช้างนาฬาคีรีที่แรงร้ายเหลือประมา ณ เกิดเป็นอภินิหารทรมานพญาช้างให้สงบด้วยพระเมตตา มั่นอยู่ในกระแสธรรมเทศนาอันวิเศษ เป็นชัยมงคลอุดมเดชของพระบรมศาสดา ขอชัยมงคลดังพรรณนามา จงมีแด่พุทธศาสนิกบริษัทตามควรแก่วิสัยในการกุศล ขอยุติข้อความในชัยมงคลที่ ๓ แต่เพียงนี้

(บรรยาย ๒๔ กันยายน ๒๔๙๘)

ชัยมงคลที่ ๔

ตำนานชัยมงคลที่ ๔

ก ิร ดังได้สดับรับรู้มาจากพระบาลีเถรคาถา และมัชฌิมนิการ ซึ่งพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ได้สังคายนาไว้ในพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฏก เพื่อเทอดเกียรติพระสาวกวิสุทธิสงฆ์ อีกพระพุทธคุณของพระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม เพื่อจะเตือนพุทธบริษัทให้ดำเนินตามพระโอวาท หวังจะให้สำรอกจิตคิดอาฆาตเบียดเบียนกัน ให้เกื้อกูลตามเชิงชั้นฉันญาติมิตรชิดหรือห่าง อันเป็นทางสงบสุขนิรภัยนิรทุกข์เกษมสานต์ ดำเนินตามคำอันเป็นนิทานเบื้องต้นว่า

ใ นปฐมโพธิกาลนั้น มีพราหมณ์มันตะคูผู้หนึ่ง รอบรู้ถึงจบไตรเพท มีความรู้ดีเป็นพิษในทางทำนายนักษัตร์ รู้ลางร้ายและเคราะห์ร้ายได้แจ้งชัด นับเนื่องอยู่ในสังกัดพราหมณ์พราหมณ์ชั้นนักปราชญ์ราชเมธีเป็นปุโรหิตาจารย์ ของพระเจ้ากรุงสาวัตถีปัสเสนทิโกศลมหาราช ผู้ถวายอรรถสาส์นแด่พระมหากษัตริย์ มีนามตามชีวประวัติว่า ภควพราหมณ์ มีภรรยาที่ทรงคุณสมบัติอันงาม ชื่อว่า มันตานี เมื่อนางคลอดบุตรชายหัวปีในเพลาราตรีนั้น เกิดลางร้ายอัศจรรย์วิบัติเป็นเห็นประหลาด บรรดาศัตราวุธเกิดโอภาสประกายรุ่งเรือง ราวกะว่าเปลวไฟลุกสิ้นทั้งปวงตลอดพระแสงขรรค์ หอกและสินาดในคลังหลวงราชศัตรา เมื่อภควพราหมณ์ประจักษ์แก่ตา ก็ประหลาดจิต แล้วก็คำนึงถึงเหตุที่อาเภทให้ปรากฏ เออ! จ ะเกิดความจำเริญยศหรือเสื่อมศักดิ์อัครฐาน แก่ทรัพยศฤงคารบุตรภรรยา หรือแก่ตัวอาตมาก็มิรู้ ดำริแล้วท่านราชครูโหราจารย์ก็รีบออกจากเรือนมาสู่ชานชลาหน้าประตูบ้าน แหงนหน้าดูดาวซึ่งสุกสกาวงามตระการในท้องฟ้าก็ปรากฏ เห็นกลุ่มดาวโจรสัญจรบทอยู่เบื้องหน้าก็ตกใจ ด้วยแจ้งชัดความนัยคัมภีร์พยากรณ์ ทายว่าเด็กเกิดใต้กลุ่มดาวโจรที่โคจรในยามนี้ ต่อไปภายหน้าจะเป็นคนไม่ดีใจอำมะหิต จะเป็นนายโจรประทุษฐจิตที่ร้ายกาจ แต่เป็นบุญที่ชีวิตไม่ถึงฆาตด้วยราชภัยและไม่ถูกใครฆ่าตายให้เสื่อมยศ เมื่อท่านปุโรหิตคิดกำหนดคำนวณแน่แก่ใจ แล้วก็กลับคืนเข้ายังภายในนิวาสสถาน ด้วยอารมณ์รำคาญ ไม่สมคิดดังคาดไว้ว่า บุตรของตนจะต้องเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยเกียรติยศปรากฏในภายหน้า แม้จะคิดหักใจว่าเป็นเวรกรรมของเขามาแต่กาลก่อน ก็ไม่วายจะเสียใจ

ค รั้นรุ่งแสงสุริโยทัยในยามเช้า ได้เวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ ท่านปุโรหิตก็เข้าไปปฏิบัติราชการ ในพระราชสถานของพระเจ้ากรุงสาวัตถี ถวายพระพรสวัสดีแด่พระภูบาล เมื่อแรกเสด็จออกว่าราชการในท่ามกลางทวยหาญจาตุรงคเสนา ครั้นมีพระราชปุจฉา ถามถึงความประหลาด เพราะโอภาสที่เกิดจากสรรพศัตราวุธในราตรีจะเป็นลางร้ายให้เสียศรี เสื่อมศักดิ์อัครฐาน แก่พระราชทรัพยศฤงคาร บ้านเมืองให้ยุคเข็ญเป็นประการใด ภควพราหมณ์ก็ทูลไขถึงความอาเภท ว่าข้าแต่พระปิ่นปกเกษของไพร่ฟ้า อันลางร้ายนั้นจะไม่เป็นภัยมาบีฑาแต่ประการใด ด้วยพระบารมีของพระภูวนัยช่วยปกปัก แต่หากจะเกิดแก่บุตรที่รักของข้าพระบาทซึ่งแรกเกิดมื่อคืนนี้ ต่อไปจะเป็นโจรกาลี ให้เสื่อมศรีแก่ไพร่ฟ้าข้ายุคคลบาทเห็นควรจะพิฆาตฆ่าเสียแต่เยาว์วัย พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงปราศรัยด้วยการุณว่า ท่านอาจารย์อย่าเพิ่งรีบเคืองขุ่นเคียดแค้นแก่ทารกผู้ไร้เดียงสา เด็กไม่มีความผิดใยจะคิดฆ่าให้เสียพระราชกำหนดบทพระอัยการ ฉันคิดว่าถ้าท่านอาจารย์จะพยายามเลี้ยงดู ให้เด็กเติบโตในสำนักครูแต่เยาว์วัย อบรมบ่มนิสัยจากสมณพราหมณาจารย์ เด็กก็จะมีสันดานอ่อนโยนเป็นแน่แท้ คิดว่ายังพอจะเอาบารมีธรรมเข้าช่วยแก้กล่อมเกลาได้

ค รั้นปุโรหิตาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในเชิงปราชญ์ได้รับพระราชทานพระบรมราโชวาท ซึ่งทรงหลั่งออกด้วยพระเมตตา ก็หมอบกราบรับพระราชทานพระมหากรุณาของพระเจ้ากรุงสาวัตถี แล้วกลับไปแจ้งแก่นางมันตานีผู้ภรรยา จึงขนานนามบุตรชายว่า อหิงสกะกุมาร แปลว่า ไม่มีจิตคิดรุกรานเบียดเบียนใครให้เดือดร้อน เพื่อจะแก้ดวงชะตาร้ายให้ลดหย่อนอ่อนลงมา ต่อนั้นก็ตั้งหน้าบำรุงเลี้ยงบุตรสุดสวาท ให้มีปรีชาสามารถในเชิงศึกษา อบรมให้มีจิตเมตตาการุณ รู้จักคารวะต่อบุคคลผู้ทรงคุณและผู้ใหญ่ ครั้งอหิงสะกุมารเจริญวัยซึ่งควรจะให้อยู่ประจำในสำนักศึกษา จึงได้ส่งให้ไปอยู่เมืองตักกศิลา สำนักทิสาปาโมกข์อาจารย์ อันเป็นสถานที่สูงด้วยการศึกษาในคุณวิทยาและธรรมจริยาเป็นพิเศษ โดยหวังจะให้เป็นคุณบุญญเขตบ่มนิสัยอหิงสกะกุมาร

อ าศัยที่อหิงสกะ มีปรีชาญาณแหลมหลักเผ่านักปราชญ์ จึงมีปัญญาสามารถล้นเหลือเหนือศิษย์ทั้งหลายในสรรพวิชา ทั้งเป็นที่รักใคร่ของครูอาจารย์ผู้ให้การศึกษา ด้วยมีจรรยาคารวะอ่อนน้อม พร้อมที่จะรับปฏิบัติในโอวาททุกประการ ข้อนี้เกิดเป็นสมุฏฐานให้บรรดาศิษย์พากันคิดริษยา ยุยงอาจารย์ด้วยอุบายนานาเพื่อจะให้เกลียดชังอหิงสกะในที่สุดด้วยอำนาจโมหะค วามเขลาจิต ทำให้อาจารย์หลงเข้าใจผิดกลับเห็นไปตามคำศิษย์ยุยง เกิดประทุษฐจิตคิดจำนงจำกัดอหิสกะกุมาร ครั้นจะล้างผลาญตรงๆก็เกรงครหา ประชาชนก็จะตราหน้าว่าอาจารย์ฆ่าศิษย์ผิดระบอบ จะเสื่อมเสียความชอบที่ได้สั่งสมมา ควรจะยืมมือคนอื่นฆ่าให้สิ้นภัย ทั้งไม่มีความครหาใดๆจะเกิดมี ดังนั้น ครั้นเพลาราตรีกาลท่านทิสาปาโมกข์อาจารย์ จึงเรียกอสิงสกะผู้เป็นศิษย์ที่สามารถ เราใคร่จะประสาธน์พระเวทชื่อวิษณุมนต์ อันทำให้เจ้าเรือวรณหิทธิฤทธิ์ ซึ่งศัตรูใดๆในทศทิศไม่ต่อได้ แต่จะต้องใช้นิ้วมนุษย์มีจำนวนถ้วนหนึ่งพันของคนหนึ่งพันคนมาจัดเป็นเครื่อง กำนนคำนับครู บูชาเทพเจ้าผู้ประสิทธิ์ให้

อ หิงสกะได้สดับก็ตกใจ จึงเคารพนับไหว้แล้วสารภาพว่า ข้าแต่พระอาจารย์ ขอรับเมตตาที่ประทานไว้ในระหว่างเกล้า ข้าพเจ้านี้สิ เป็นพราหมณ์มหาศาล ไม่ฆ่าสัตว์ ข้อนี้เป็นเหตุข้องขัดยากที่ศิษย์จะปฏิบัติตามประสงค์ได้

อ าจารย์ก็ปราศรัยนานาประการ ชัดนำอหิงสกะกุมารให้เกิดความกล้าหาญในปาณาติบาต สามารถจะทำตามอุบายที่แนะนำได้ทุกประการต่อมาอหิงสกะกุมารได้ศัตราที่คมกล้า จึงหลบเข้าไปอยู่ป่า แสวงหานิ้วมนุษย์ เพื่อจะเอาเป็นเครื่องกำนน ตั้งต้นฆ่าคนที่เข้าป่า แล้วตัดเอานิ้วมือมารวมเข้าไว้เป็นก่ายกอง โดยมุ่งจะเอาไปเป็นของเครื่องบูชาเรียนวิษณุมนต์ เพื่อจะได้มีอานุภาพเหนือคน อันเป็นสิ่งที่ตนปรารถนาครั้นกาลล่วงมา นิ้วนั้นโทรมลงไป ยากที่จะกำหนดจำนวนให้ถ้วนถึงได้ อหิงสกะก็เริ่มฆ่าคนใหม่ ตัดเอานิ้วมาแล้วใช้เชือกมัด ประหนึ่งว่า พวงมาลัยคล้องคอไว้ เพื่อจะให้ได้ถึงจำนวนพัน จึงได้นามขนานเป็นสำคัญว่า “องคุลิมาล” ปรากฏเป็นโจรที่กล้าหาญร้ายกาจ มีสำเนียงน่ากลัวยิ่งกว่าสิงหนาทในไพรสณฑ์ มหาชนสะทกสะท้านท้อแท้ทั่วทุกชั้น เพียงได้ยินชื่อว่าองคุลิมาลเท่านั้น ก็ขนพองสยองเกล้า เกียรติศัพท์ก็ระบือไปยังพระนคร แม้ราชบุรุษก็ระย่อไม่ต่อการ ให้หลังหนี ทั้งก็สืบไม่รู้ว่าโจรผู้นี้มาจากไหน เป็นคนมาจากตระกูลใดๆก็ไม่แจ้ง ตลอดทั้งตำแหน่งแหล่งที่อยู่ก็ไม่รู้ ได้ยินแต่คำกล่าวข่าวสาส์นทั้วๆไปว่า องคุลิมาล! องคุลิมาล!! โ จรที่ร้ายกาจดังพระกาฬ สวมพวงมาลาลัยนิ้วมนุษย์ เป็นผู้ที่ดุร้ายที่สุด ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์แต่สมัยใดๆประชาชนหวาดจิตคิดเห็นเป็นภัย พากันอพยพเข้าพระนคร และพร้อมกันร้องอุทธรณ์กล่าวโทษต่อพระเจ้าโกศล ขอได้โปรดยกพลออกไปปราบปรามกำจัดโจรอันเป็นเสี้ยนหนามต่อความสงบของประชาราษ ฎร์ จับองคุลิมาลโจรผู้ร้ายกาจมาสังหารเพื่อความเกษมสานต์ ณ กาลบัดนี้

เ มื่อพระเจ้ากรุงสาวัตถี ได้สดับวิปปฏิสารคดีเดือดร้อนก็ตกพระทัยประหลาดจิตว่า ไฉนองคุลิมาลโจรจึงร้ายกาจ มีอำนาจเป็นที่ครั่นคร้ามขามขยาดแก่อาณาประชาราษฎร์ หากปล่อยไว้ก็จะอุกอาจเข้ามาเบียดเบียนชาวพระนครให้เดือดร้อน เสื่อมราชานุภาพของพระมหากษัตริย์ควรจะยกโยธาไปจำกัดพิฆาตฆ่า ทรงดำริแล้วจึงมีพระราชบัญชาให้จัดโยธาทหารหาญ พระองค์จักเสด็จทรงบัญชาการในงานนี้กำหนดอีก ๓ ราตรีนั้นแล

ค รั้นภควพราหมณ์ปุโรหิตาจารย์ ได้สดับพระราชโองการ ให้ตระเตรียมโยธาทหาร ออกไปจังองคุลิมาลโจรก็ตกใจ จึงคิดว่า องคุลิมาลโจรจะเป็นใคร มาจากไหนไม่ได้ นอกจากอหิงสกะบุตรของอาตมาด้วยได้ทราบข่าวจากสำนักศึกษา เมืองตักศิลานั้น กล่าวโทษว่าอหิงสกะเป็นคนโฉด ถูกขับจากสำนักแล้ว ต่อนั้นก็มิได้ข่าววี่แววว่าจะอยู่ในถิ่นใด ทำให้บิดาและมารดาต้องร้อนใจเป็นห่วงลูก หวั่นใจว่าพ่อบุญปลูกจะเป็นทุกข์ลำเค็ญเข็ญ ความจริงลูกน่าจะคิดเห็นหัวใจของมารดาและบิดาและกลับมาบ้านเรือน ไม่น่าจะแชเชือนหลบหายไปในป่า บัดนี้เกิดมีข่าวโจษจันว่า มีองคุลิมาลโจรใจร้ายกาจเข้าพิฆาตเข่นฆ่าผู้คนมากมาย ทำให้ประชาชนเกิดระส่ำระสายเดือดร้อน ถึงพระเจ้ากรุงโกศลอดิศรเตรียมนำทัพไปปราบปราม เมื่อพินิจดูตามข้อความของข่าวสาส์นแท้ก็คืออหิงสกะกุมารบุตรของเราเป็นแม่น มั่น ดวงชะตาลูกก็เข้าขั้นร้ายเข็ญให้เป็นไป จะต้องช่วยป้องกันแก้ไขให้หนักเป็นเบา อย่าต้องให้บุตรเราได้ราชภัยพินาศ คิดแล้วก็รีบกระวีกระวาดกลับเคหา เรียกนางมันตานีมาปรึกษา แล้วบอกอุบายให้ภรรยารีบเล็ดลอดล่วงหน้าไปหาอหิงสกะกุมารบุตรชาย ซึ่งบัดนี้ได้นามใหม่ว่า องคุลิมาล ให้รีบหลบหนีจากถิ่นฐานไกลออกไป บัดนี้ราชภัยกำลังใกล้เข้ามา

ฝ ่ายนางมันตานีเป็นมารดาก็เห็นด้วย ความรักลูกก็มุ่งจะช่วยให้รอดตาย มิได้คิดว่าอันตรายจะพึงมี หากองคุลิมาลเขลาจิตไม่ทันคิดว่าชนนี ประหารเสียก็จะตายเปล่า ไม่ทันได้บอกข่าวว่าตนเป็นมารดานำข่าวมาบอกให้หลบลี้หนีไป กลับตกเป็นผลร้ายแก่แม่และลูกทั้งสองคน

ใ นวันนั้น สมเด็จพระทศพลพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงทราบด้วยอนาคตังสญาณว่า นางมันตานีจะมีอันตราย องคุลิมาลลูกชายไม่รู้จักก็จะประหาร เกิดเป็นอนันตริยกรรมล้างผลาญมรรคผลในภายหน้า จำตถาคตจะกรุณาไปช่วยให้พ้นภัยกับบำบัดความโหดร้ายขององคุลิมาล ให้เลิกละสันดานพาลมาเป็นบรรพชิตในพระศาสนา ครั้นพระบรมศาสดาทรงดำริแล้วก็เสด็จพุทธดำเนินไปในไพรสณฑ์ ล่วงหน้ามารดาองคุลิมาลไปในวันนั้น

ข ณะนั้น องคุลิมาล กำลังหมกมุ่นด้วยโมหจิต คิดแต่เพียงว่า เราก็คืออหิงสกะกุมาร ลอบออกมาล้างผลาญมนุษย์เพื่อจะเอาดรรชนีนิ้วชี้มนุษย์ให้ครบพัน บัดนี้ได้ ๙๙๙ นิ้วแล้ว ยังขาดอีกหนึ่งเท่านั้นก็จะพอควรแก่การ หารู้สึกผิดไม่ว่า ขณะนี้โลกกำลังตราหน้าตนเป็นองคุลิมาลโจรใจร้าย ควรจะตายมากกว่าอยู่เป็นคน ทันใดนั้นก็พลันแลเห็นพระทศพลสัมพุทธเจ้าแต่ไกลก็ดีใจว่า เออ! โ ชคอันดีของเราไม่ต้องไปหานิ้วที่ไหนให้ไกล ถ้าได้นิ้วมือบรรพชิตผู้นี้ไซร้ ก็จได้ฤกษ์สหัสสมสมัยดรรชนีได้องคุลีบรรจบครบพัน แล้วองคุลิมาลก็จับดาบลุกถลันแล่นไล่แม้จะพยายามวิ่งเท่าใดๆ ก็ไม่ทันพระบรมศาสดาจารย์ ด้วยทรงทำปาฏิหาริ์ยให้เข้าไม่ถึง แม้จะวิ่งตะบึงขับไล่จนสุดแรงก็ไร้ผล พระทศพลเสด็จดำเนินตามปกติ องคุลิมาลจึงดำริว่า เราสิ้นกำลัง จึงหยุดยืนร้องตะโกนด้วยเสียงดังว่า หยุดก่อน สมณะ! สมณะ! หยุดก่อน !! พระบรมศาสดาไม่ทรงหยุด ทรงดำเนินตามปกติ แต่ทรงรับสั่งว่า องคุลิมาล ! เ ราหยุดแล้ว แต่ท่านนั่นแหละไม่หยุด องคุลิมาลได้ฟังขัดใจ แม้จะให้หยุดเท่าใด ก็ได้รับแต่คำตอบเท่านั้น พลักก็พูดตำหนิว่า ดูก่อนสมณะ ท่านสิเป็นบรรพชิต ชอบที่จะมีคำสัตย์ให้สมแก่เพศยังเดินอยู่แต่พูดว่าหยุดแล้วได้ ส่วนเราสิหยุดแล้ว แต่ท่านกลับกล่าวว่าเราไม่หยุด เหตุไฉนใยท่านจึงพูดไม่เป็นความจริงเล่า

พ ระพุทธเจ้าจึงหยุดประทับแล้วรับสั่งว่า อหิงสกะตถาคตกล่าวแต่คำจริงเป็นปกติ ที่ตถาคตกล่าวว่า เราหยุดแล้ว คือ หยุดฆ่า หยุดเบียดเบียน หยุดแสวงหาในทางผิด หยุดดำเนินไปทางทุจริตสิ้นทุกประการ อหิงสกะ! เ ธอสิ มีสันดานพาลแรงร้ายไม่หยุดยั้ง วิ่งตามเราจนสิ้นกำลังแล้วยังไม่คิดหยุด มือถืออาวุธเขม้นหมายประหาร แต่ปากสิเปิดขานว่าหยุดแล้ว น่าขวยแก่ใจ เท็จต่อตัวแล้วไฉนมาเท็จต่อเราอีกเล่า อหิงสกะ

เ มื่อองคุลิมาลได้ฟังพระดำรัสพระบรมศาสดาจารย์ตรัสเพียงเท่านั้นก็พลันสำนักร ู้สึกผิดได้ คิดละอายแก่ใจในบาปกรรมที่ทำมา ท่านผู้นี้แล คือ พระศาสดาผู้ทรงทราบบาปของเราทุกประการ แม้แต่ชื่ออหิงสกะก็ทรงขานเรียกได้ ทรงบริสุทธิ์กายใจน่าเข้าไปหา คิดแล้วก็ซ่อนอาวุธไว้ในป่า เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ายังที่ประทับ เพื่อสดับพระโอวาทถวายบังคมพระบรมบาทแล้วประคองอัญชลี

ต ่อนั้น สมเด็จพระชินศรีสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงแสดงธรรมฟอกจิตองคุลิมาลโจรให้สะอาดดี เปิดผ้าที่ปิดบังสาวกญาณบารมีให้ปรากฏ จนองคุลิมาลเลื่อมใสในการบำเพ็ญพรตบรรพชิตและทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาจึงประทานเอหิภิกขุอุปสมบทให้ แล้วทรงพาพระองคุลิมาลไปยังพระเชตวันวิหาร ประหนึ่งว่าเสด็จไปคล้องช้างสาร ที่ซับมันบัดเดี๋ยวกลับใจ ก็ได้ช้างพลายเชือกใหม่มาสู่พระอาวาสไม่ต้องใช้บ่วงบาศก์ เครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ เพียงแต่ใช้พระโอวาทตรัสสอนให้สงบระงับก็จับได้ ทั้งไม่ให้เป็นเวรเป็นภัยในทุกสถาน นับว่าพระองค์ทรงพิชิตองคุลิมาลด้วยธรรมอันวิเศษ เป็นชัยมงคลเดชของพระบรมศาสดา อชัยมงคลดั่งพรรณนามา จึงมีแด่พุทธศาสนิกบริษัทตามควรแก่วิสัยในการกุศล ขอยุติข้อความในชัยมงคลที่ ๔ แต่เพียงนี้ ฯ

——————————

พูดไปขัดใจเขา คำของเราเบาราคา

ทำใดขัดนัยน์ตา ลดราคางานเราเอง

ธรรมสาธก.

(บรรยาย ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๘)