วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มงคลสูตร

ตำนานมงคลสูตร

ใ นสมัยต้นปฐมโพธิกาล ประชาชนชาวเมืองใหญ่ๆ พอใจแสวงหาความรู้กันมาก ถึงกับลงทุนจ้างคนมีความรู้มาเล่าเรื่องราวต่างๆอันควรรู้ให้ฟัง ที่ศาลาหน้าประตูเมืองบ้าง ที่สมาคมบ้าง ผู้คนพอใจฟังกันจริงๆ ฟังกันแล้วก็สนทนากัน ที่สงสัยก็ไต่ถามกัน จำกัน จดกันไว้เป็นแบบฉบับ ที่ไม่เห็นพ้องด้วย ถึงกับโต้แย้ง วิพากย์วิจารณ์กันก็มี วันหนึ่ง มีใครคนหนึ่ง ตั้งคำถามขึ้นในที่ประชุมว่า “ในโลกนี้ อะไรเป็นมงคล” คำถามข้อนี้ มีหลายคนที่ให้คำตอบ แต่ก็มีหลายคนโต้แย้ง ไม่เห็นด้วย พวกที่ชอบเจริญตา ก็ยืนยันเอารูปเป็นมงคล พวกที่ชอบเจริญหู ก็ยืนยันเอาเสียงเป็นมงคล เป็นต้น และแล้วก็ถูกพวกหนึ่งแย้งตัด ไม่เห็นตาม ในสมัยนั้น ได้มีบุคคลตั้งตัวเป็นอาจารย์ บอกมงคลตามที่ตนคิดเห็นมากด้วยกัน เมื่อไม่มีใครสามารถตัดสินว่า อะไรเป็นมงคลได้ ปัญหาข้อนี้ก็ลามไปถึงเทวดาที่อยู่ใกล้หมู่มนุษย์และเลยไปถึงเทวดาในสรวงสวร รค์แม้กระนั้นแล้วก็ไม่ปรากฏว่าเทวดาตนใด แก้ปัญหาข้อนี้ให้กระจ่าง โดยไม่มีใครขัดแย้ง ตลอดเวลา ๑๒ ปี ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชได้ทรงบังคับเทวบุตรองค์หนึ่ง ให้ลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี ทูลถามปัญหาข้อนี้ โดยขอให้พระองค์ตรัสประทานสิ่งที่เป็นมงคลให้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงพระกรุณาตรัสมงคล ๓๘ ประการ ประทานแก่เทวบุตรนั้น โดยพระพุทธภาษิตว่า :-

ดูก่อนเทพดา ธรรม ๓๘ ประการนี้ คือ :-

. การไม่คบคนพาล

. การคบบัณฑิต

. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

. การอยู่ในท้องถิ่นอันสมควร

. ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ปางก่อน

. การตั้งตนไว้ชอบ

. ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก

. ความเป็นผู้มีศิลปะ

. วินัยที่ศึกษาดีแล้ว

๑๐. วาจาที่เป็นสุภาษิต ( ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว )

๑๑. การบำรุงมารดาบิดา

๑๒. การสงเคราะห์บุตร

๑๓. การสงเคราะห์ภรรยา

๑๔. การงานที่ไม่อากูล

๑๕. ทาน ( การเสียสละ )

๑๖. ธรรมจริยา ( ความประพฤติชอบธรรม )

๑๗. การสงเคราะห์ญาติ

๑๘. การงานที่ปราศจากโทษ

๑๙. การงดเว้นจากบาป ( กรรมอันเป็นโทษ )

๒๐. การไม่ดื่มน้ำเมา

๒๑. ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

๒๒. ความเคารพ

๒๓. ความถ่อมตน

๒๔. ความสันโดษ

๒๕. ความกตัญญู

๒๖. การฟังธรรมโดยการอันควร

๒๗. ขันติ ( ความอดกลั้น )

๒๘. ความเป็นผู้ว่าง่าย

๒๙. ความเห็นสมณะ

๓๐. การสนทนาธรรมโดยกาลอันควร

๓๑. ตะบะ ( ความเพียงเผากิเลส )

๓๒. ความประพฤติพรหมจรรย์

๓๓. การเห็นอริยสัจจะ

๓๔. การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

๓๕. จิตที่ไม่หวั่นไหวในเมื่อถูกต้องโลกธรรม

๓๖. ความไม่เศร้าโศก

๓๗. ความคลายกำหนัด

๓๘. ความเกษมจากโยคะ

ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นมงคลอันสูง ผู้ที่กระทำมงคลให้ประจักษ์แล้ว จะไม่เป็นผู้พ่ายแพ้ บรรลุถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน

เทพบุตรฟังพยากรณ์มงคลธ รรมของพระผู้มีพระภาคแล้ว มีความเบิกบาน ชื่นชมในพุทธภาษิต กราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคแล้ว ถวายบังคมลากลับคืนเทวโลกฯ .

(บรรยาย ๗ สิงหาคม ๒๔๙๗)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น