วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อริยธนกถา

อ ริยธนคาถา บทนี้ นิยมให้พระสงฆ์สวดในงานศพหรืองานอัฐิทั่วๆไป สวดต่อท้าย “ปัพพโตปมคาถา” งานศพทุกงาน ถ้ามีการสวดมนต์ด้วยแล้ว พระสงฆ์จะต้องสวดมนต์บทนี้ทุกคราวไป

อ ริยธนคาถานี้ มาในพระบาลีสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ปรากฏว่า มีที่มามากแห่งด้วยกัน ดังนั้น จึงขอเลือกเล่าให้ฟัง เฉพาะที่เห็นว่าเป็นคุณอวยประโยชน์แก่ผู้สดับโดยตรง

เ รื่องมีว่า สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหารพร้อมด้วยสงฆ์บริวารสาวกวิสุทธิ์ มีพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร เป็นต้น ประทานอริยมรรค อริยผล แก่สาธุชนพุทธบริษัท ผู้มีจิตโสมนัสยินดี ในพระโอวาทานุสาสนีเป็นนิรันดร ทั้งมนุษย์และเทพยดาพากันมาสโมสรสันนิบาต คอยสดับรับพระโอวาททุกวันวาร เกียรติศัพท์ของพระองค์ จึงขจรไพศาลไปทั่วหล้า ว่า อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นอาทิ จิตมั่นอยู่ในพุทธานุสสติทุกเวลา ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาสักการะบูชาอยู่เนืองนิตย์ ชำระมลทินแห่งจิตให้หมดจดตามวิสัย ได้ความบริสุทธิ์แห่งใจกันทั่วหน้า

ค รั้งหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้สร้างพระเชตวันวิหารราคา ๕๔ โกฏิ ถวายพระสัมพุทธเจ้า เกิดไม่สบาย เวทนาบีบคั้น อาการไข้สูงมาก ท่านได้เรียกคนใช้สนิทคนหนึ่งมาสั่งว่า “ พ่อมหาจำเริญ ช่วยเป็นธุระไปหาท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเจ้า ที่พระเชตวันวิหารทีเถอะ เมื่อพบท่านแล้ว จงกราบลงที่แทบเท้าของท่าน พร้อมกับกราบเรียนท่านว่า “ข้าแต่พระเถระเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ ท่านอนาถบิณฑิกะไม่สบาย โรคบีบคั้น อาการไข้สูงมาก ขอกราบเท้าพระเถระเจ้าด้วยศีรษะ”

ค รั้นได้กล่าวคำมนัสการพระเถระเจ้าแล้ว จึงค่อยกราบเรียนท่านต่อไปว่า “ข้าแต่พระเถระเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณธิกะ ขอประทานโอกาส ขอพระเถระเจ้าได้กรุณาไปที่นิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกะด้วยเถิด”

เ มื่อคนใช้ของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ได้รับคำท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีแล้วไปสู่พระเชตวันวิหาร เข้าไปนมัสการพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรถึงที่อยู่ และได้กราบเรียนพระเถระเจ้า ตามคำของท่านมหาเศรษฐีทุกประการ

พระสารีบุตรเถระเจ้าได้รับนิมนต์ โดยดุษณีภาพ ด้วยความเอ็นดูตามสมณวิสัย

ค รั้นเวลารุ่งเช้า ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้พระอานนท์เถระเจ้าเป็นพระติดตามรูปหนึ่ง ด้วยเห็นว่า พระอานนท์เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก เป็นพระที่คุ้นเคยกับท่านอนาถบิณฑิกะ ในคราวท่านอนาถบิณฑิกะไม่สบายมากเช่นนั้น พระอานนท์ควรจะได้ไปเยี่ยม ในฐานะที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก ก็เท่ากับเป็นผู้แทนพระบรมศาสดาไปเยี่ยมด้วยอีกโสดหนึ่งเมื่อพระเถระทั้งสอง พร้อมแล้ว ก็ไปยังนิเวศน์ของท่านมหาเศรษฐี และเข้าไปพบท่านมหาเศรษฐีในห้องรักษาตัวในคราวเป็นไข้ ตามความประสงค์ของคนไข้

ค รั้นนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้ปราศรัยกะท่านอนาถบิณฑิกะด้วยความกรุณาว่า “ ท่านคฤหบดี อาการไข้ พอทนได้อยู่หรือ? พอเป็นไปได้อยู่หรือ ท่านคฤหบดี ทุกขเวทนาลดลงหรือ หรือกล้าขึ้น ท่านคฤหบดี รู้สึกว่า ไข้สร่างบางเบาลง หรือว่ายังไม่สร่างเลย”

ท ่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีนมัสการพระเถระเจ้าทั้งสองแล้ว เรียนท่านว่า “ ทนได้ยาก เจ้าข้า เป็นไปอย่างลำบาก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรทุกขเวทนายังไม่ลดลงเลย ดูกลับจะกล้าขึ้น ข้าแต่ท่านพระธรรมเสนาบดี รู้สึกว่า ไข้ยังไม่สร่างบางเบาลงเลย”

ล ำดับนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้กล่าวปลุกปลอบท่านมหาเศรษฐี ให้มีกำลังใจเข้มแข็ง ร่าเริงในธรรม เพื่อต่อสู้กับโรค และประทานธรรมโอสถช่วยบำบัดโรคพร้อมกันไปด้วย “ท่านคฤหบดี ปุถุชน ผู้ไม่มีความเลื่อมใสอันมั่นคงในพระพุทธเจ้า ไม่ได้สดับอยู่ เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์แล้ว ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สำหรับท่าน ความไม่เลื่อมใสเช่นว่านั้น ไม่มี แท้จริง ท่านคฤหบดี มีความเลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธเจ้าอยู่เสมอว่า

พ ระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อรหํ เป็นพระอรหันต์ มีพระจิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย สมฺมาสมฺพุทฺโธได้ตรัสรู้สัจจธรรม ด้วยพระญาณปรีชาอันสูงยิ่งของพระองค์เอง วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ สุคโต เสด็จไปดีแล้ว โลกวิทู ทรงรู้แจ้งโลก อนุตฺตโรปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีผึกบุรุษ ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า สตฺถาเทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทฺโธเป็นผู้เบิกบานแล้ว ภควา เป็นผู้แจกจำแนกธรรม เป็นผู้มีโชคดีทุกสถาน ตลอดเวลา

ก็เมื่อท่านคฤหบดี พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ในตนอยู่เสมอแล้ว เวทนาทั้งหลายก็พึงสงบลงได้โดยพลัน

ท ่านคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่มีความเลื่อมใสอันมั่นคงในธรรม อันพระตถาคตเจ้า ประกาศดีแล้วไม่ได้สดับอยู่ เบื้องหน้าแต่แตกกายลำลายขันธ์แล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สำหรับท่าน ความไม่เลื่อมใสเช่นว่านั้น ไม่มี แท้จริง ท่านคฤหบดี มีความเลื่อมใสมั่นคงในสวากขาตธรรมอยู่เสมอว่า “ สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สนฺทิฏฺฐิโก ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง อกาลิโก เป็นธรรมให้ผลเสมอ เอหิปสฺสิโก ดีพอที่จะเชิญใครๆ มาชมได้ โอปนยิโก สมควรที่จะนำเข้ามาใส่ตัว ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ เป็นธรรมรู้ได้เฉพาะตัวผู้ปฏิบัติ

เมื่อท่านคฤหบดีพิจารณาเห็นแจ้งซึ่งความเลื่อมใส สวากขาตธรรมในตนอยู่เสมอแล้ว เวทนาทั้งหลาย ก็จะพึงสงบลงได้โดยพลัน

ท ่านคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่มีความเลื่อมใสอันมั่นคงในพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ไม่ได้สดับอยู่ เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์แล้วย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สำหรับท่าน ความไม่เลื่อมใสเช่นนั้นไม่มี แท้จริง ท่านคฤหบดี มีความเลื่อมใสอันมั่นคงในพระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เสมอว่า

พ ระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า สุปฏิปนฺโน ปฏิบัติดี อุชุปฏินฺโน ปฏิบัติตรง ญายปฏิปนฺโน ปฏิบัติที่จะออกไปจากทุกข์ สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบ บรรดาพระสงฆ์สาวกของพะผู้มีพระภาคนี้นั้น อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรจะต้อนรับเป็นอย่างยิ่ง ทกฺขิเณยฺโน เป็นผู้สมควรรับไทยทานที่ชาวโลกอุทิศถวาย อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นเนื้อนาบุญของโลก หาที่ใดเสมอมิได้

ก ็เมื่อท่านคฤหบดี พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งความเลื่อมใสในพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคในตนอยู่เสม อแล้ว เวทนาทั้งหลายก็จะพึงสงบได้โดยพลัน

ท ่านคฤหบดี ปุถุชนผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล ไม่ได้สดับอยู่เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์แล้ว ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคคติ วินิบาต นรก แต่สำหรับท่าน ความเป็นผู้ทุศีลเช่นนั้น ไม่มี แท้จริง ท่านคฤหบดี โดยปกติย่อมประกอบด้วย อริยกันตศีล ซึ่งรักษาไว้ด้วยดี ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้นได้

เมื่อท่านคฤหบดีเห็นแจ้งอยู่ซึ่งอริยกันตศีลนั้น อันมีพร้อมอยู่ในตนเสมอแล้ว เวทนาทั้งหลายก็จะพึงสงบได้โดยพลัน

ท ่านคฤหบดี ปุถุชนประกอบด้วย มิจฉาทิฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณ มิจฉาวิมุตติ ไม่ได้สดับอยู่ เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์แล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สำหรับท่าน มิจฉา ๑๐ ประการ เช่นว่านั้น ไม่มี แท้จริง ท่านคฤหบดี โดยปรกติย่อมประกอบด้วย สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ

เ มื่อท่านคฤหบดีพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ซึ่งธรรมทัสสนะ ๑๐ ประการ มีสัมมาทิฐิ เป็นต้น อันมีพร้อมอยู่ในตนเสมอแล้ว เวทนาทั้งหลาย ก็จะพึงสงบได้โดยพลัน

เ มื่อท่านอนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐี สดับธรรมโอวาทของท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พิจารณาตามกระแสเทศนา ด้วยจิตสงบเวทนาซึ่งเกิดแต่ความป่วยไข้ทั้งหลาย ได้สร่างบางเบาบรรเทาหายเป็นปกติในขณะนั้น

ล ำดับนั้น ท่านมหาเศรษฐีได้ลุกขึ้นมาถวายอาหารบิณฑบาตอังคาส ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ และพระอานนทเถระ ด้วยสำรับคาวหวาน ซึ่งได้จัดไว้สำหรับท่านมหาเศรษฐีโดยเฉพาะ ด้วยมือของตนเองและนั่งปรนนิบัติพระเถระเจ้าทั้งสองอยู่ในที่ใกล้นั้น

เ มื่อพระเถระเจ้าทั้งสอง ฉันภัตตาหารที่ท่านมหาเศรษฐี อังคาส อิ่มหนำแล้ว ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวอนุโมทนาไทยทานด้วย อริยธนคาถา ว่า ยสฺส สทฺธา ตถาคเต เป็นอาทิ ความว่า “ ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้า ผู้เป็นพระสัมพุทธเจ้านาถะของโลก มีศีลงาม ซึ่งพระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์สาวก กับมีอุชุภูตทัสสนะ คือ ความเห็นแจ้งในธรรมโดยชอบ รวม ๔ ประการ ผู้นั้น นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อมาระลึกคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว พึงประกอบคุณธรรม ๔ ประการ คือ ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และธรรมทัสสนะ ไว้ในตนให้พร้อมมูล

ท ่านอนาถบิณฑิกะ เพลิดเพลินในกระแสธรรมโอวาทนั้น แล้วประณมมือถวายความคารวะ ประกาศความรู้สึกซาบซึ้งในเมตตาธรรมของพระมหาเถระ ที่กรุณาอุตส่าห์มาประทานธรรมโอสถ พร้อมทั้งสรรเสริญในความไพเราะของธรรมโอวาทของท่านในเวลาจบเทศนา

ครั้นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรอนุโมทนาให้ท่านมหาเศรษฐี ได้ความเบิกบานอาจหาญในธรรมแล้ว ก็ลากลับพระเชตวันวิหาร

เมื่อพระอานนทเถระเจ้ากลับถึงพระมหาวิหารเชตวันแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

พระสัมพุทธเจ้าตรัสกะพระอานนทเถระเจ้าว่า “ อานนท์ เมื่อเช้านี้เธอไปที่ไหนมา”

ข้าพระองค์ได้ไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ที่นิเวศน์ของท่าน พระเจ้าข้า”

ท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นอะไรหรือ อานนท์”

ท่านไม่สบาย พระเจ้าข้า”

อานนท์ อนาถบิณฑิกะ ไม่สบายเป็นอะไรไป”

ก็เป็นไข้ธรรมดานี่แหละ พระเจ้าข้า” พระอานนท์กราบทูล

แ ต่ไม่สบายมาก ทั้งท่านอนาถบิณฑิกะ ก็ปรารถนาจะได้เห็นท่านพระธรรมเสนาบดีด้วย แต่ท่านธรรมเสนาบดี มีเมตตาข้าพระองค์มาก เห็นว่าข้าพระองค์คุ้นเคยกับท่านอนาถบิณฑิกะ เมื่อท่านจะไปนิเวศน์ท่านอนาถบิณฑิกะ จึงได้เมตตาให้ข้าพระองค์ร่วมไปด้วย”

เวลานี้ อาการไข้ของท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นอย่างไรบ้างอานนท์”

หายแล้ว พระเจ้าข้า” พระอานนท์กราบทูล

ช ่างเป็นเหตุอัศจรรย์จริงๆ พระเจ้าข้า เนื่องด้วยพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้เมตตาประทานธรรมโอสถแก่ท่านอนาถบิณฑิกะเหมือนนายแพทย์ที่เชี่ยวชาญ วางยาแก่คนไข้ ถูกโรค แล้วโรคนั้นก็พลันหาย” แล้วพระอานนทเถระเจ้า ก็ได้กราบทูลเรื่องทั้งปวงถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ

ค รั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้ว จึงรับสั่งอนุโมทนาว่า “ อานนท์ สารีบุตร เป็นบัณฑิต อานนท์ สารีบุตร เป็นผู้มีปัญญามาก ได้จำแนกโสดาปัตติอังคะ คือ องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ ให้พิศดารออกไปโดยอาการ ๑๐ ประการ ดังที่พระสารีบุตรได้แสดงแล้วนั้นเถิด”

———————————————–

(บรรยาย ๔ สิงหาคม ๒๕๐๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น